คุณผู้ชายทั้งหลาย...ที่ไม่โสด...โปรดฟังทางนี้
เชื่อได้เลยว่า พวกคุณส่วนมากล้วนต้องเคยเจอ หรือกำลังเผชิญกับปัญหาความเอาแต่ใจของแฟนสาว
ขึ้นชื่อว่า ผู้หญิงแล้วล่ะก็ เรื่อง shopping ไม่ต้องพูดถึง ถึงไหนถึงกัน
(เค้าก็เป็นนะ :p)
ไอ้เรื่องที่พวกเธอจะชอบ shopping อะไรนั่น มันก็ไม่ใช่ปัญหาก่อกวนอะไรนักหรอก
แต่มันดันเกิดปัญหาก็ตรงความเอาแต่ใจของสาวเจ้าเหล่านั้น !
เคยมีกรณีตัวอย่างถามมาเหมือนกันว่า
"แฟนผมเค้าชอบ shopping มาก โดยเฉพาะเครื่องสำอางค์ โอย...เดินผ่าน counter ที เสียเวลาเป็นชั่วโมงๆ
ปล่อยให้ผมยืนรอ จะไม่ไปด้วยก็ไม่ได้ จะขอแยกเดินไปดูอย่งอื่นก็ไม่ได้ เดี๋ยวแฟนผมเค้าก็งอนอีก ผมจะทำไงดี "
เจอแบบนี้ก็แย่นิดนึงนะคะ
ก่อนอื่นต้องขอให้คุณผู้ชายทั้งหลายถามตัวเองก่อนว่า การที่แฟนคุณเค้าเริงร่าหายไปในดงเครื่องสำอางค์อยู่นานสองนานน่ะ
แล้วผลท้ายสุด เค้าออกมาสวยถูกใจคุณมั้ยล่ะคะ ?
ถ้าออกมาสวยสมใจ เลิกบ่นเถอะค่ะ ก็ไอ้การที่เค้าอยากสวยเนี่ย ก็เพื่อคุณๆ ไม่ใช่เรอะ !
แต่ผลที่ออกมาตามข้อเท็จจริงส่วนใหญ่ โดยเฉพาะจากกรณีตัวอย่างคงไม่สวยสมใจคนรอเท่าไหร่....
แบบนี้ลองมาวิเคราะห์แฟนสาวของหนุ่มในกรณีตัวอย่างกันดีกว่า
สาวนางนี้... เอาแต่ใจ ไม่เอาใจเขามาใส่ใจเรา มีอย่างที่ไหนคะให้แฟนมายืนรอเป็นชั่วโมงๆ
ที่สำคัญผู้ชายส่วนมากเค้าไม่ชอบ shopping กันหรอกค่ะ น่าจะเห็นใจกันบ้าง
ถามว่า แล้วจะแก้ยังไง
เราขอเสนอให้ใช้เหตุผลคุยกันก่อนในตอนแรก
บอกเธอไปก่อนเลย เธอ ผมว่า วันหยุดแบบนี้เราไปเที่ยวหากิจกรรมสนุกๆ อย่างอื่นทำกันมั้ย
นอกจาเดินห้างอ่ะ เพราะผมอยากใช้เวลากับคุณให้คุ้มค่าที่สุด
นี่...หยอดมุกนี้เข้าไปเลยจ้า...
นอกจากแฟนสาวจาไม่โกรธแล้ว อาจอมยิ้มเล็กๆๆ
อ๊ะ...อย่าคิดลึกนะ กิจกรรมอย่างอื่นที่ว่าเนี่ย อาจเป็นพวกไปเที่ยวสวนสนุก สวนสาธารณะ อะไรแบบนั้น...
แต่ถ้ายังไงก้อต้องไปซื้อของกับสาวเจ้าอยู่ดี ก้อลองขอแยกตัวไปเดินดูอะไรคนเดียวดูบ้าง
ลองใช้เหตุผลตะล่อมๆ พูดให้เธอเข้าใจ ว่าเราก้อต้องการดูของส่วนตัวอะไรบ้างนะ
แต่หากคุณเธอยังดื้อดึง ยื้อยุดคุณไปมุมเสื้อผ้า เครื่องสำอางค์ให้ได้
ขอเสนอมาตรการสุดท้าย....
ที่คุณต้องใช้ความกล้านิดนึง
คือ ช่วยเธอเลือกไปเลยค่ะ เอาแบบวิเคราะห์แจากแจงให้ละเอียดอย่างมืออาชีพ
ลองเอาเสื้อผ้า เครื่องสำอางค์มาทาบ มาลองแต่งกับตัวคุณเอง
แล้วถามแฟนคุณ กับพนักงานขายไปเลยว่า เปนไงแบบนี้ดูดีมั้ย
รับรองค่ะ...แฟนคุณต้องไม่กล้าพาคุณไปซื้อของอีกแน่ ถ้าเจอแบบนี้
5555555
ขึ้นอยู่กับความใจกล้าของคุณๆ แล้วล่ะค่ะ
ได้ผลยังไงบอกกันด้วยนะ ><
2553-05-22
2553-05-20
ความรัก กับ ความหลง
ความรัก กับความหลง ต่างกันเพียงเส้นขั้นบางๆ
วันนี้ เรามีข้อคิดในเรื่องนี้มาฝากกันจ้า
“เธอจะเลือกแฟนแบบไหนให้ตัวเองก็ตาม
รู้ไว้เถอะว่าเธอไม่ได้เลือกแค่คน แต่เธอกำลังเลือกใจตัวเองด้วย
เขาเป็นแบบไหน ใจเธอก็จะค่อย ๆ เป็นแบบนั้น
ถ้าเขาเอาแต่สนุก ใจเธอก็อยากเอาแต่สนุกด้วย ถ้าเขาฉาบฉวย ใจเธอก็ฉาบฉวยตาม
เลือกคบกับผู้ชายคนไหน ก็คือการยอมให้กรรมของผู้ชายคนนั้นเข้ามาเกื้อกูลหรือรบกวนวิถีชีวิตของเรา
เขาจะมีส่วนทำให้กรรมทางความคิด คำพูด และการกระทำต่าง ๆ ของเราเปลี่ยนแปลงไปไม่มากก็น้อย
เราไม่พูดเรื่องบาปเรื่องบุญ เรื่องผิดเรื่องถูก เรื่องเหมาะ เรื่องควร แต่อยากชี้ให้เห็นว่า
ถ้าเธอหน้ามืดกับเสน่ห์ของผู้ชายโดยไม่คำนึงถึงความรู้สึกภายในว่าใช่หรือไม่ใช่ ต่อไปเธอจะไม่เหลือเครื่องช่วยตัดสินใจไหน ๆ เลย ถ้าชอบคือใช่หมด เอาหมด!
คนเราเนี่ยนะ ที่จะใช่หรือไม่ใช่ เหมาะหรือไม่เหมาะ ใจตัวเองบอกอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากผิดฝาผิดตัวชัด ๆ อย่างนี้นะ เราจะตามใจฝ่ายผิดของตัวเองทำไม เดี๋ยวก็ต้องมีผลกระทบข้างเคียงเกิดขึ้น
ตกลงที่เราโหยหาความรักมาทั้งชีวิต แทบอยากตายเมื่อไม่เจอความรัก หรืออยากตายเมื่อผิดหวังในรัก แท้จริงแล้วเป็นแค่อารมณ์หลอกตัวเองเท่านั้นหรือ? เราไม่เคยพร้อมจะตายเพื่อบูชารักเลย เราจะเป็นจะตายเมื่อไม่ได้อย่างใจมากกว่า
นี่แหละ คนเรามีแต่รักตัวเอง เรียกร้องเอาอะไรเข้าตัวเองทั้งนั้น…
ความดื้อเพราะมีราคะกล้านั้นน่ากลัวยิ่งกว่าดื้อเพราะมีทิฐิแรง
มนต์สะกดจากสำนักไสยศาสตร์ใดก็ไม่ทรงอำนาจมืดยิ่งใหญ่เท่ามนต์สะกดจากราคะอันเป็นของภายใน
บางคนจริงจังรอรักแท้จนแก่ก็ไม่เจอสิ่งที่ราคะหลอกให้หลงรอ บางคนเจอใครที่นึกว่าใช่ก็ตาลีตาเหลือกจัดงานแต่งงานอย่างรีบด่วน
เมื่อพบในภายหลังว่าคู่แต่งกลายเป็นคู่เวร บาปกรรมที่เคยทำร่วมกันไว้แต่ปางก่อนเหนี่ยวนำให้มาร่วมชายคาเพื่อจองเวรกันต่อต่างหาก
เธอเดาใจตัวเองในอนาคตถูกแน่หรือ?
เชือกที่มัดเรารอบแรกหลวม ๆ ก็เหมือนดิ้นง่าย แต่ถ้าชะล่าใจยืนเฉย ปล่อยให้เขารัดวันละทบ
เดี๋ยวพอถึงรอบที่สิบมันจะต่างไปมาก
ที่โลกนี้เต็มไปด้วยการจับคู่ที่ไม่เหมาะสม ก็เพราะมีการยอมให้กับก้าวแรก พอรู้สึกอีกทีนะเ เธออาจพบตัวเองเดินมายืนอยู่ตรงจุดที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออกเสียแล้ว”
ดังนั้น การโหยหาความรัก หรือ คู่แท้ ไม่ใช่เรื่องที่ผิดนะคะ
แต่คุณ ก็ต้องเข้าใจและยอมรับด้วยว่า
คนๆนี้ ใช่คนที่คุณตามหาหรือเปล่า
คือ ความรักใช่มั้ย ? หรือ เป็นแค่ความหลง
ตัดสินใจผิด ...ชีวิตเปลี่ยนได้เสมอค่ะ
อ้างอิงจาก กรรมพยากรณ์
วันนี้ เรามีข้อคิดในเรื่องนี้มาฝากกันจ้า
“เธอจะเลือกแฟนแบบไหนให้ตัวเองก็ตาม
รู้ไว้เถอะว่าเธอไม่ได้เลือกแค่คน แต่เธอกำลังเลือกใจตัวเองด้วย
เขาเป็นแบบไหน ใจเธอก็จะค่อย ๆ เป็นแบบนั้น
ถ้าเขาเอาแต่สนุก ใจเธอก็อยากเอาแต่สนุกด้วย ถ้าเขาฉาบฉวย ใจเธอก็ฉาบฉวยตาม
เลือกคบกับผู้ชายคนไหน ก็คือการยอมให้กรรมของผู้ชายคนนั้นเข้ามาเกื้อกูลหรือรบกวนวิถีชีวิตของเรา
เขาจะมีส่วนทำให้กรรมทางความคิด คำพูด และการกระทำต่าง ๆ ของเราเปลี่ยนแปลงไปไม่มากก็น้อย
เราไม่พูดเรื่องบาปเรื่องบุญ เรื่องผิดเรื่องถูก เรื่องเหมาะ เรื่องควร แต่อยากชี้ให้เห็นว่า
ถ้าเธอหน้ามืดกับเสน่ห์ของผู้ชายโดยไม่คำนึงถึงความรู้สึกภายในว่าใช่หรือไม่ใช่ ต่อไปเธอจะไม่เหลือเครื่องช่วยตัดสินใจไหน ๆ เลย ถ้าชอบคือใช่หมด เอาหมด!
คนเราเนี่ยนะ ที่จะใช่หรือไม่ใช่ เหมาะหรือไม่เหมาะ ใจตัวเองบอกอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากผิดฝาผิดตัวชัด ๆ อย่างนี้นะ เราจะตามใจฝ่ายผิดของตัวเองทำไม เดี๋ยวก็ต้องมีผลกระทบข้างเคียงเกิดขึ้น
ตกลงที่เราโหยหาความรักมาทั้งชีวิต แทบอยากตายเมื่อไม่เจอความรัก หรืออยากตายเมื่อผิดหวังในรัก แท้จริงแล้วเป็นแค่อารมณ์หลอกตัวเองเท่านั้นหรือ? เราไม่เคยพร้อมจะตายเพื่อบูชารักเลย เราจะเป็นจะตายเมื่อไม่ได้อย่างใจมากกว่า
นี่แหละ คนเรามีแต่รักตัวเอง เรียกร้องเอาอะไรเข้าตัวเองทั้งนั้น…
ความดื้อเพราะมีราคะกล้านั้นน่ากลัวยิ่งกว่าดื้อเพราะมีทิฐิแรง
มนต์สะกดจากสำนักไสยศาสตร์ใดก็ไม่ทรงอำนาจมืดยิ่งใหญ่เท่ามนต์สะกดจากราคะอันเป็นของภายใน
บางคนจริงจังรอรักแท้จนแก่ก็ไม่เจอสิ่งที่ราคะหลอกให้หลงรอ บางคนเจอใครที่นึกว่าใช่ก็ตาลีตาเหลือกจัดงานแต่งงานอย่างรีบด่วน
เมื่อพบในภายหลังว่าคู่แต่งกลายเป็นคู่เวร บาปกรรมที่เคยทำร่วมกันไว้แต่ปางก่อนเหนี่ยวนำให้มาร่วมชายคาเพื่อจองเวรกันต่อต่างหาก
เธอเดาใจตัวเองในอนาคตถูกแน่หรือ?
เชือกที่มัดเรารอบแรกหลวม ๆ ก็เหมือนดิ้นง่าย แต่ถ้าชะล่าใจยืนเฉย ปล่อยให้เขารัดวันละทบ
เดี๋ยวพอถึงรอบที่สิบมันจะต่างไปมาก
ที่โลกนี้เต็มไปด้วยการจับคู่ที่ไม่เหมาะสม ก็เพราะมีการยอมให้กับก้าวแรก พอรู้สึกอีกทีนะเ เธออาจพบตัวเองเดินมายืนอยู่ตรงจุดที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออกเสียแล้ว”
ดังนั้น การโหยหาความรัก หรือ คู่แท้ ไม่ใช่เรื่องที่ผิดนะคะ
แต่คุณ ก็ต้องเข้าใจและยอมรับด้วยว่า
คนๆนี้ ใช่คนที่คุณตามหาหรือเปล่า
คือ ความรักใช่มั้ย ? หรือ เป็นแค่ความหลง
ตัดสินใจผิด ...ชีวิตเปลี่ยนได้เสมอค่ะ
อ้างอิงจาก กรรมพยากรณ์
หยุดทำร้ายประเทศไทยกันเสียที
หลังจากทนอัดอั้นมานาน ในที่สุดก็ตัดสินใจระบายความในใจออกมาเป็นบันทึก
เราก็รู้กันดีอยู่แล้ว วันนี้ ประเทศไทยของเรากำลังดำดิ่งลงสู่หุบเหวลึกที่หาทางออกไม่ได้
การจลาจลย่อยๆ แต่ยาวนาน ได้ทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ
จากภาพกรุงเทพมหานครซึ่งอบอวลไปด้วยกลิ่นอายธุรกิจและผู้คน กลับกลายเป็นกึ่งเมืองร้างในบางจุด
และสาดทับไปด้วยวความหวาดหวั่น
เราไม่รู้เลย ไม่รู้ว่า ในวันพรุ่งนี้ จะเกิดอะไรขึ้น...ที่บ้านของเรา...บ้านแห่งนี้ ที่ชื่อว่าประเทศไทย
กำลังแรงเล็กๆ กับอำนาจที่ว่างเปล่าในกำมือ ทำให้เราท้อ เราเหนื่อย
เราไม่รู้ว่าจะช่วยประเทศไทยของเรายังไงดี..
สายตาจับจ้องมองดู หูฟังข่าว ภาพเหตุการณ์สับสนอลหม่าน มีฉายออกมาเป็นระยะๆ
นี่มันอะไรกัน ? นี่กรุงเทพฯ จิงหรอ...
ไม่เคยคิดเลยว่า สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นกับประเทศไทย ดินแดนสารขัณฑ์
แผ่นดินแห่งเมืองพุทธ...
เราไม่รู้ว่าใครผิด ใครถูก
เราไม่มีสี และไม่คิดจะมี
เราไม่เพ่งมองการกระทำของคนอื่นว่า คุณถูก หรือว่าคุณผิด
เพราะเราเปลี่ยนแปลงคนอื่นได้ยากกว่าเปลี่ยนแปลงตัวเอง
เมื่อความจริงเป็นสิ่งที่รู้ได้ยาก เราจึงเลิกที่จะเพ่งโทษคนอื่น...
สิทธิในการชุมนุม และแสดงความคิดเห็น เป็นเครื่องมือที่ฉายแววความแท้จริงส่วนหนึ่งของประชาธิปไตย
แต่คุณๆทุกท่าน จงอย่าลืมกรอบเกณฑ์ของมันที่เป็นความชอบด้วยกฎหมาย
คือ ไม่กระทบสิทธิคนอื่น ไม่ทำความเดือดร้อนเสียหายแก่ผู้อื่น
หรือ ถ้ามองในแง่ธรรมะ ก็คือ ศีลธรรมสำนึกขั้นพืนฐานด้วย...
เราไม่ได้กำลังประณามว่าร้ายเหล่า ผู้ชุมนุม
สิ่งที่เรากำลังทำ คือ เราอยากให้ทุกๆคน พิจารณาความควรไม่ควรแห่งการกระทำของตัวเอง
ไม่ว่าจะเป็นคนที่กำลังดูทีวี กำลังฟังเพลง กำลังเดินเล่น...หรืออะไรก็ตามแต่
เรารู้ และยังคงมองโลกในแง่ดีว่า ทุกๆคนบนผืนแผ่นดินนี้ยังคงรักประเทศไทย
เพราะเราทุกคนยังคงเป็นหนี้ดินแดนนี้มากมายเหลือเกิน...
สิ่งนี้เป็นข้อเท็จจริงที่คุณๆทุกคนปฏิเสธไม่ได้
อย่าลืมว่า แค่เพียงคุณลืมตาตื่นขึ้นมา คุณก็ได้สูดเอาอากาศจากผืนแผ่นดินนี้เข้าไปเสียแล้ว
ทุกวันนี้แม่ยังคงสอนให้เรา รู้จักความดี และการทำความดี
ยังจำได้มั้ยคะ ว่า ความกตัญญู คือ เรื่องหลักสำคัญๆของกาารทำดี ทำบุญ เช่นกัน
ใครให้อะไรเรา เราต้องขอบคุณ
ใครทำร้ายเรา อย่าไปอาฆาตเขา เพราะเรานั่นแหล่ะจะเป็นทุกข์
หว่านพืชเช่นไร ย่อมได้ผลเช่นนั้น...
ทั้ง พ่่อหลวง และประเทศไทย ก็เป็นบุพการีของเราเหมือนกัน
เราอาจจะมองข้ามไปด้วยความเคยชินทั้งๆที่ เรายังคงได้สัมผัสความรัก และการให้จากบุพการีทั้งสองนี้อยู่ทุกๆวินาที
เราเป็นแค่ประชาชนคนหนึ่ง...
เป็นแค่ผู้หญิงคนหนึ่ง
ที่เสียงไม่ดัง เท่าผู้มีอำนาจ
ที่ไร้กำลัง พอที่จะยืนหยัดและช่วยปกป้องประเทศไทยได้ด้วยแค่สองมือ
เราไม่รู้จะทำยังไงแล้วในวันนี้ แต่เราก็ไม่อยากที่จะนั่งอยู่เฉยๆ
หวังว่าเสียงเล็กๆของเราจะดังไปถึงหัวใจของคนไทยทุกคนที่ได้อ่าน
ขอร้อง
...
ขอร้องเถอะค่ะ
หยุดทำร้ายประเทศไทยกันเสียที..
เราก็รู้กันดีอยู่แล้ว วันนี้ ประเทศไทยของเรากำลังดำดิ่งลงสู่หุบเหวลึกที่หาทางออกไม่ได้
การจลาจลย่อยๆ แต่ยาวนาน ได้ทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ
จากภาพกรุงเทพมหานครซึ่งอบอวลไปด้วยกลิ่นอายธุรกิจและผู้คน กลับกลายเป็นกึ่งเมืองร้างในบางจุด
และสาดทับไปด้วยวความหวาดหวั่น
เราไม่รู้เลย ไม่รู้ว่า ในวันพรุ่งนี้ จะเกิดอะไรขึ้น...ที่บ้านของเรา...บ้านแห่งนี้ ที่ชื่อว่าประเทศไทย
กำลังแรงเล็กๆ กับอำนาจที่ว่างเปล่าในกำมือ ทำให้เราท้อ เราเหนื่อย
เราไม่รู้ว่าจะช่วยประเทศไทยของเรายังไงดี..
สายตาจับจ้องมองดู หูฟังข่าว ภาพเหตุการณ์สับสนอลหม่าน มีฉายออกมาเป็นระยะๆ
นี่มันอะไรกัน ? นี่กรุงเทพฯ จิงหรอ...
ไม่เคยคิดเลยว่า สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นกับประเทศไทย ดินแดนสารขัณฑ์
แผ่นดินแห่งเมืองพุทธ...
เราไม่รู้ว่าใครผิด ใครถูก
เราไม่มีสี และไม่คิดจะมี
เราไม่เพ่งมองการกระทำของคนอื่นว่า คุณถูก หรือว่าคุณผิด
เพราะเราเปลี่ยนแปลงคนอื่นได้ยากกว่าเปลี่ยนแปลงตัวเอง
เมื่อความจริงเป็นสิ่งที่รู้ได้ยาก เราจึงเลิกที่จะเพ่งโทษคนอื่น...
สิทธิในการชุมนุม และแสดงความคิดเห็น เป็นเครื่องมือที่ฉายแววความแท้จริงส่วนหนึ่งของประชาธิปไตย
แต่คุณๆทุกท่าน จงอย่าลืมกรอบเกณฑ์ของมันที่เป็นความชอบด้วยกฎหมาย
คือ ไม่กระทบสิทธิคนอื่น ไม่ทำความเดือดร้อนเสียหายแก่ผู้อื่น
หรือ ถ้ามองในแง่ธรรมะ ก็คือ ศีลธรรมสำนึกขั้นพืนฐานด้วย...
เราไม่ได้กำลังประณามว่าร้ายเหล่า ผู้ชุมนุม
สิ่งที่เรากำลังทำ คือ เราอยากให้ทุกๆคน พิจารณาความควรไม่ควรแห่งการกระทำของตัวเอง
ไม่ว่าจะเป็นคนที่กำลังดูทีวี กำลังฟังเพลง กำลังเดินเล่น...หรืออะไรก็ตามแต่
เรารู้ และยังคงมองโลกในแง่ดีว่า ทุกๆคนบนผืนแผ่นดินนี้ยังคงรักประเทศไทย
เพราะเราทุกคนยังคงเป็นหนี้ดินแดนนี้มากมายเหลือเกิน...
สิ่งนี้เป็นข้อเท็จจริงที่คุณๆทุกคนปฏิเสธไม่ได้
อย่าลืมว่า แค่เพียงคุณลืมตาตื่นขึ้นมา คุณก็ได้สูดเอาอากาศจากผืนแผ่นดินนี้เข้าไปเสียแล้ว
ทุกวันนี้แม่ยังคงสอนให้เรา รู้จักความดี และการทำความดี
ยังจำได้มั้ยคะ ว่า ความกตัญญู คือ เรื่องหลักสำคัญๆของกาารทำดี ทำบุญ เช่นกัน
ใครให้อะไรเรา เราต้องขอบคุณ
ใครทำร้ายเรา อย่าไปอาฆาตเขา เพราะเรานั่นแหล่ะจะเป็นทุกข์
หว่านพืชเช่นไร ย่อมได้ผลเช่นนั้น...
ทั้ง พ่่อหลวง และประเทศไทย ก็เป็นบุพการีของเราเหมือนกัน
เราอาจจะมองข้ามไปด้วยความเคยชินทั้งๆที่ เรายังคงได้สัมผัสความรัก และการให้จากบุพการีทั้งสองนี้อยู่ทุกๆวินาที
เราเป็นแค่ประชาชนคนหนึ่ง...
เป็นแค่ผู้หญิงคนหนึ่ง
ที่เสียงไม่ดัง เท่าผู้มีอำนาจ
ที่ไร้กำลัง พอที่จะยืนหยัดและช่วยปกป้องประเทศไทยได้ด้วยแค่สองมือ
เราไม่รู้จะทำยังไงแล้วในวันนี้ แต่เราก็ไม่อยากที่จะนั่งอยู่เฉยๆ
หวังว่าเสียงเล็กๆของเราจะดังไปถึงหัวใจของคนไทยทุกคนที่ได้อ่าน
ขอร้อง
...
ขอร้องเถอะค่ะ
หยุดทำร้ายประเทศไทยกันเสียที..
2553-05-05
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอนุญาโตตุลาการ
เป็นที่ทราบกันดีว่า ปัจจุบันการอนุญาโตตุลาการมีบทบาทสำคัญในฐานะเป็นหนทางหนึ่งในกระบวนการยุติธรรมทางเลือก (Alternative Dispute Resolution : ADR) ซึ่งมีจุดมุ่งหมายสำคัญในการลดทอนจำนวนข้อพิพาทที่มีมากเกินขีดจำกัดของศาล เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ชัดแจ้ง ผู้เขียนใคร่กล่าวถึงข้อควรรู้พื้นฐานของการอนุญาโตตุลาการ ดังต่อไปนี้
ความหมายของอนุญาโตตุลาการ(Arbitration)
อนุญาโตตุลาการ คือ วิธีการระงับข้อพิพาท ข้อโต้แย้ง ข้อคัดค้าน หรือ ข้อโต้เถียงที่เกิดขึ้นแล้วหรือที่จะเกิดขึ้นในอนาคตซึ่งคู่กรณีตกลงกันเสนอให้บุคคลภายนอกผู้มีความเชี่ยวชาญ เป็นกลาง และ อิสระ ซึ่งเรียกว่า อนุญาโตตุลาการ (Arbitrator) ทำการพิจารณาชี้ขาด โดยคู่กรณียอมตนเข้าผูกพันในอันที่จะปฏิบัติตามคำชี้ขาดเช่นนั้น
ประเภทของอนุญาโตตุลาการสามารถแบ่งได้หลายประเภท ดังนี้
1) อนุญาโตตุลาการในศาลกับอนุญาโตตุลาการนอกศาล
1.1) อนุญาโตตุลาการในศาล คือ กรณีที่คู่กรณีซึ่งมีคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลตกลงกันให้มีอนุญาโตตุลาการชี้ขาดได้ โดยความเห็นชอบของศาล (มาตรา 210-220 และ 222 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง) แต่วิธีนี้ไม่เป็นที่นิยมเพราะเมื่อมีคดีขึ้นไปสู่ศาลแล้ว คู่ความมักไม่ต้องการให้บุคคลอื่นมาช่วยชี้ขาดให้ แต่ต้องการให้ศาลตัดสินคดีนั้นมากกว่า
1.2) อนุญาโตตุลาการนอกศาล คือ กรณีที่คู่กรณีตกลงกันเสนอข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการพิจารณาชี้ขาด โดยไม่ได้ฟ้องคดีต่อศาล ซึ่งอาจตกลงกันไว้ล่วงหน้าก่อนมีข้อพิพาทหรืออาจตกลงกันภายหลังจากที่มีข้อพิพาทแล้วก็ได้
การอนุญาโตตุลาการส่วนใหญ่ในนานาประเทศรวมทั้งประเทศไทยนั้นเป็นการอนุญาโตตุลาการ นอกศาล ซึ่งจะอยู่ภายใต้บังคับของ พระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545
2) อนุญาโตตุลาการเฉพาะกิจกับอนุญาโตตุลาการโดยสถาบัน
2.1) อนุญาโตตุลาการเฉพาะกิจ (Ad Hoc Arbitration) เป็นกรณีที่คู่พิพาทดำเนินการระงับข้อพิพาทตามวิธีอนุญาโตตุลาการด้วยตนเอง กล่าวคือ โดยตั้งอนุญาโตตุลาการและกำหนดวิธีพิจารณาต่างๆเอง และให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดข้อพิพาทของตน
2.2) อนุญาโตตุลาการโดยสถาบัน (Institutional Arbitration) เป็นกรณีที่คู่พิพาทตกลงระงับข้อพิพาทกันโดยใช้บริการของสถาบันอนุญาโตตุลาการ ซึ่งสถาบันดังกล่าวนี้อาจเป็นสถาบันที่ตั้งขึ้นมาเพื่อให้บริการด้านอนุญาโตตุลาการโดยเฉพาะ สำหรับประเทศไทย เช่น สถาบันอนุญาโตตุลาการของสำนักงานศาลยุติธรรม สภาอนุญาโตตุลาการของหอการค้าแห่งประเทศไทย ส่วนในต่างประเทศ เช่น สถาบันอนุญาโตตุลาการของสภาหอการค้าระหว่างประเทศ (International Chamber of Commerce - ICC) สมาคมอนุญาโตตุลาการของสหรัฐอเมริกา (American Arbitration Association - AAA) หรืออาจเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรเฉพาะด้านที่ให้บริการกับสมาชิกและ/หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง สำหรับประเทศไทย เช่น อนุญาโตตุลาการ ของสำนักงาน ก.ล.ต. อนุญาโตตุลาการของสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย ส่วนในต่างประเทศ เช่น อนุญาโตตุลาการของ NASD
3) อนุญาโตตุลาการในประเทศกับอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ
3.1) อนุญาโตตุลาการในประเทศ เป็นกระบวนการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการ ในประเทศใดประเทศหนึ่ง ไม่ว่าคู่กรณีจะมีสัญชาติใด
3.2) อนุญาโตตุลาการต่างประเทศ เป็นกระบวนการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการ ที่ดำเนินการภายนอกประเทศ ไม่ว่าคู่กรณีจะมีสัญชาติใด
ข้อดีของระบบอนุญาโตตุลาการ
สาเหตุที่ต้องมีหรือใช้กระบวนการอนุญาโตตุลาการก็เนื่องมาจากเหตุผล ดังต่อไปนี้
1) ความรวดเร็ว
เนื่องจากการฟ้องคดีต่อศาลนั้นมีขั้นตอนมากและเป็นระบบศาลสามชั้น ระบบศาลจึงไม่อาจตอบสนองต่อความต้องการระงับข้อพิพาทที่มีอย่างล้นหลามได้ภายในเวลาที่รวดเร็วอันเป็นจุดบอดของระบบศาลแทบทุกประเทศต่างจากกระบวนการอนุญาโตตุลาการจะสิ้นสุดรวดเร็วและไม่มีขั้นตอนยุ่งยาก
2) ความยุ่งยากและสลับซับซ้อนของคดี
เนื่องจากโดยปกติผู้ที่เป็นอนุญาโตตุลาการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอนุญาโตตุลาการที่คู่กรณีเลือกมักจะเป็นผู้ที่มีความรู้มีความเชี่ยวชาญในเรื่องที่พิพาทเป็นอย่างดี ทำให้เข้าใจเรื่องที่พิพาทและพยานหลักฐานต่างๆได้รวดเร็ว ซึ่งส่งผลให้การชี้ขาดข้อพิพาททำได้รวดเร็วและยุติธรรม ในขณะที่ถ้าเป็นการดำเนินคดีในศาลคู่ความไม่สามารถเลือกผู้พิพากษาที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องนั้นๆมาพิจารณาคดีให้ตนได้ ซึ่งก็ต้องมีการใช้พยานผู้เชี่ยวชาญมาเบิกความ ทำให้การพิจารณาคดีเป็นไปอย่างยากลำบากและล่าช้า และอาจมีปัญหาในการรับฟังพยานหลักฐาน เพราะต้องขึ้นอยู่กับว่าพยานผู้เชี่ยวชาญเบิกความอธิบายได้ชัดเจนถูกต้องมากน้อยเพียงใด
3) การรักษาชื่อเสียงและความลับ
เนื่องจากหลักการพิจารณาคดีของศาลต้องทำโดยเปิดเผย ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าฟังการพิจารณาของศาลได้ สื่อมวลชนก็อาจรับฟังและนำเสนอข่าวได้ง่าย ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อภาพพจน์ทางธุรกิจและการรักษาความลับของคู่กรณี เว้นแต่ว่าจะมีการพิจารณาคดีเป็นการลับ ซึ่งก็จะมีเป็นบางคดีเท่านั้น แต่หลักการดำเนินกระบวนพิจารณาของการอนุญาโตตุลาการนั้นกระทำเป็นความลับ เฉพาะคู่กรณีและผู้ที่เกี่ยวข้องเท่านั้นที่มีสิทธิเข้าร่วมการพิจารณา บุคคลภายนอกไม่มีโอกาสรู้ข้อเท็จจริงโดยตรง จึงไม่รู้ว่าคู่กรณีมีข้อพิพาทกันหรือไม่ หรือมีกันอย่างไร จึงเป็นการรักษาชื่อเสียงของคู่พิพาทและความลับทางธุรกิจของคู่กรณีได้เป็นอย่างดี
4) การรักษาความสัมพันธ์ระหว่างคู่พิพาท
เนื่องจากแนวทางการพิจารณาคดีของศาลนั้นเป็นการต่อสู้คดีกัน ทำให้คู่กรณีมีความรู้สึกเป็นศัตรูกัน อีกทั้งยังใช้เวลาต่อสู้กันยาวนาน เพราะคดีสามารถอุทธรณ์ ฎีกาต่อไปได้ ซึ่งส่งผลเสียต่อความสัมพันธ์ทางธุรกิจ แต่กระบวนการอนุญาโตตุลาการนั้นเป็นการระงับข้อพิพาทที่เปิดโอกาสให้คู่กรณีพบปะเจรจาปัญหาที่พิพาทกันโดยตรง บรรยากาศในการพิจารณามีลักษณะเป็นกันเอง ไม่เคร่งเครียด อีกทั้งไม่มีระบบที่ให้คู่กรณีโต้แย้งเอาแพ้ชนะกัน จึงสามารถรักษาความสัมพันธ์ระหว่างคู่พิพาทซึ่งอยู่ในวงการธุรกิจ ที่ส่วนใหญ่จะต้องคบค้าและประกอบธุรกิจกันต่อไปอีกในอนาคต
อ้างอิง เอกสารจาก TAI
ความหมายของอนุญาโตตุลาการ(Arbitration)
อนุญาโตตุลาการ คือ วิธีการระงับข้อพิพาท ข้อโต้แย้ง ข้อคัดค้าน หรือ ข้อโต้เถียงที่เกิดขึ้นแล้วหรือที่จะเกิดขึ้นในอนาคตซึ่งคู่กรณีตกลงกันเสนอให้บุคคลภายนอกผู้มีความเชี่ยวชาญ เป็นกลาง และ อิสระ ซึ่งเรียกว่า อนุญาโตตุลาการ (Arbitrator) ทำการพิจารณาชี้ขาด โดยคู่กรณียอมตนเข้าผูกพันในอันที่จะปฏิบัติตามคำชี้ขาดเช่นนั้น
ประเภทของอนุญาโตตุลาการสามารถแบ่งได้หลายประเภท ดังนี้
1) อนุญาโตตุลาการในศาลกับอนุญาโตตุลาการนอกศาล
1.1) อนุญาโตตุลาการในศาล คือ กรณีที่คู่กรณีซึ่งมีคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลตกลงกันให้มีอนุญาโตตุลาการชี้ขาดได้ โดยความเห็นชอบของศาล (มาตรา 210-220 และ 222 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง) แต่วิธีนี้ไม่เป็นที่นิยมเพราะเมื่อมีคดีขึ้นไปสู่ศาลแล้ว คู่ความมักไม่ต้องการให้บุคคลอื่นมาช่วยชี้ขาดให้ แต่ต้องการให้ศาลตัดสินคดีนั้นมากกว่า
1.2) อนุญาโตตุลาการนอกศาล คือ กรณีที่คู่กรณีตกลงกันเสนอข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการพิจารณาชี้ขาด โดยไม่ได้ฟ้องคดีต่อศาล ซึ่งอาจตกลงกันไว้ล่วงหน้าก่อนมีข้อพิพาทหรืออาจตกลงกันภายหลังจากที่มีข้อพิพาทแล้วก็ได้
การอนุญาโตตุลาการส่วนใหญ่ในนานาประเทศรวมทั้งประเทศไทยนั้นเป็นการอนุญาโตตุลาการ นอกศาล ซึ่งจะอยู่ภายใต้บังคับของ พระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545
2) อนุญาโตตุลาการเฉพาะกิจกับอนุญาโตตุลาการโดยสถาบัน
2.1) อนุญาโตตุลาการเฉพาะกิจ (Ad Hoc Arbitration) เป็นกรณีที่คู่พิพาทดำเนินการระงับข้อพิพาทตามวิธีอนุญาโตตุลาการด้วยตนเอง กล่าวคือ โดยตั้งอนุญาโตตุลาการและกำหนดวิธีพิจารณาต่างๆเอง และให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดข้อพิพาทของตน
2.2) อนุญาโตตุลาการโดยสถาบัน (Institutional Arbitration) เป็นกรณีที่คู่พิพาทตกลงระงับข้อพิพาทกันโดยใช้บริการของสถาบันอนุญาโตตุลาการ ซึ่งสถาบันดังกล่าวนี้อาจเป็นสถาบันที่ตั้งขึ้นมาเพื่อให้บริการด้านอนุญาโตตุลาการโดยเฉพาะ สำหรับประเทศไทย เช่น สถาบันอนุญาโตตุลาการของสำนักงานศาลยุติธรรม สภาอนุญาโตตุลาการของหอการค้าแห่งประเทศไทย ส่วนในต่างประเทศ เช่น สถาบันอนุญาโตตุลาการของสภาหอการค้าระหว่างประเทศ (International Chamber of Commerce - ICC) สมาคมอนุญาโตตุลาการของสหรัฐอเมริกา (American Arbitration Association - AAA) หรืออาจเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรเฉพาะด้านที่ให้บริการกับสมาชิกและ/หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง สำหรับประเทศไทย เช่น อนุญาโตตุลาการ ของสำนักงาน ก.ล.ต. อนุญาโตตุลาการของสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย ส่วนในต่างประเทศ เช่น อนุญาโตตุลาการของ NASD
3) อนุญาโตตุลาการในประเทศกับอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ
3.1) อนุญาโตตุลาการในประเทศ เป็นกระบวนการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการ ในประเทศใดประเทศหนึ่ง ไม่ว่าคู่กรณีจะมีสัญชาติใด
3.2) อนุญาโตตุลาการต่างประเทศ เป็นกระบวนการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการ ที่ดำเนินการภายนอกประเทศ ไม่ว่าคู่กรณีจะมีสัญชาติใด
ข้อดีของระบบอนุญาโตตุลาการ
สาเหตุที่ต้องมีหรือใช้กระบวนการอนุญาโตตุลาการก็เนื่องมาจากเหตุผล ดังต่อไปนี้
1) ความรวดเร็ว
เนื่องจากการฟ้องคดีต่อศาลนั้นมีขั้นตอนมากและเป็นระบบศาลสามชั้น ระบบศาลจึงไม่อาจตอบสนองต่อความต้องการระงับข้อพิพาทที่มีอย่างล้นหลามได้ภายในเวลาที่รวดเร็วอันเป็นจุดบอดของระบบศาลแทบทุกประเทศต่างจากกระบวนการอนุญาโตตุลาการจะสิ้นสุดรวดเร็วและไม่มีขั้นตอนยุ่งยาก
2) ความยุ่งยากและสลับซับซ้อนของคดี
เนื่องจากโดยปกติผู้ที่เป็นอนุญาโตตุลาการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอนุญาโตตุลาการที่คู่กรณีเลือกมักจะเป็นผู้ที่มีความรู้มีความเชี่ยวชาญในเรื่องที่พิพาทเป็นอย่างดี ทำให้เข้าใจเรื่องที่พิพาทและพยานหลักฐานต่างๆได้รวดเร็ว ซึ่งส่งผลให้การชี้ขาดข้อพิพาททำได้รวดเร็วและยุติธรรม ในขณะที่ถ้าเป็นการดำเนินคดีในศาลคู่ความไม่สามารถเลือกผู้พิพากษาที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องนั้นๆมาพิจารณาคดีให้ตนได้ ซึ่งก็ต้องมีการใช้พยานผู้เชี่ยวชาญมาเบิกความ ทำให้การพิจารณาคดีเป็นไปอย่างยากลำบากและล่าช้า และอาจมีปัญหาในการรับฟังพยานหลักฐาน เพราะต้องขึ้นอยู่กับว่าพยานผู้เชี่ยวชาญเบิกความอธิบายได้ชัดเจนถูกต้องมากน้อยเพียงใด
3) การรักษาชื่อเสียงและความลับ
เนื่องจากหลักการพิจารณาคดีของศาลต้องทำโดยเปิดเผย ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าฟังการพิจารณาของศาลได้ สื่อมวลชนก็อาจรับฟังและนำเสนอข่าวได้ง่าย ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อภาพพจน์ทางธุรกิจและการรักษาความลับของคู่กรณี เว้นแต่ว่าจะมีการพิจารณาคดีเป็นการลับ ซึ่งก็จะมีเป็นบางคดีเท่านั้น แต่หลักการดำเนินกระบวนพิจารณาของการอนุญาโตตุลาการนั้นกระทำเป็นความลับ เฉพาะคู่กรณีและผู้ที่เกี่ยวข้องเท่านั้นที่มีสิทธิเข้าร่วมการพิจารณา บุคคลภายนอกไม่มีโอกาสรู้ข้อเท็จจริงโดยตรง จึงไม่รู้ว่าคู่กรณีมีข้อพิพาทกันหรือไม่ หรือมีกันอย่างไร จึงเป็นการรักษาชื่อเสียงของคู่พิพาทและความลับทางธุรกิจของคู่กรณีได้เป็นอย่างดี
4) การรักษาความสัมพันธ์ระหว่างคู่พิพาท
เนื่องจากแนวทางการพิจารณาคดีของศาลนั้นเป็นการต่อสู้คดีกัน ทำให้คู่กรณีมีความรู้สึกเป็นศัตรูกัน อีกทั้งยังใช้เวลาต่อสู้กันยาวนาน เพราะคดีสามารถอุทธรณ์ ฎีกาต่อไปได้ ซึ่งส่งผลเสียต่อความสัมพันธ์ทางธุรกิจ แต่กระบวนการอนุญาโตตุลาการนั้นเป็นการระงับข้อพิพาทที่เปิดโอกาสให้คู่กรณีพบปะเจรจาปัญหาที่พิพาทกันโดยตรง บรรยากาศในการพิจารณามีลักษณะเป็นกันเอง ไม่เคร่งเครียด อีกทั้งไม่มีระบบที่ให้คู่กรณีโต้แย้งเอาแพ้ชนะกัน จึงสามารถรักษาความสัมพันธ์ระหว่างคู่พิพาทซึ่งอยู่ในวงการธุรกิจ ที่ส่วนใหญ่จะต้องคบค้าและประกอบธุรกิจกันต่อไปอีกในอนาคต
อ้างอิง เอกสารจาก TAI
เหตุผลและความจำเป็นที่ต้องมีศาลทหาร
เนื่องจากศาลทหารมีอำนาจพิจารณาและพิพากษาลงโทษทางอาญาต่อบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหาร
ทำให้ดูเหมือนว่าเขตอำนาจของศาลทหารซ้ำซ้อนกับเขตอำนาจของศาลยุติธรรมในเรื่อง
ของการดำเนินคดีอาญา
จึงมักจะมีปัญหาถกเถียงกันในหมู่นักวิชาการทางกฎหมายและนักประชาธิปไตยว่า
ในปัจจุบันยังสมควรต้องมีศาลทหารต่อไปหรือไม่
โดยฝ่ายหนึ่งเห็นว่าไม่จำเป็นต้องมีศาลทหารเนื่องจากว่าเป็นการให้อภิสิทธิ์พิเศษแก่ทหาร ซึ่งทหารและ
ประชาชนสมควรจะต้องมีสิทธิและเสรีภาพเท่าเทียมกัน เมื่อทหารกระทำผิดก็สมควรให้ศาลยุติธรรมเป็น
ผู้พิจารณาลงโทษ การให้แยกไปขึ้นศาลทหาร ซึ่งมีทหารด้วยกันเป็นผู้พิจารณาตัดสินลงโทษอาจจะมีการ
ลำเอียงช่วยเหลือกันได้ และทำให้ประชาชนที่เป็นผู้เสียหายไม่ได้รับความเป็นธรรม ประกอบกับใน
ความคิดของนักประชาธิปไตยมองว่าศาลทหารเป็นภาพลักษณ์ของระบอบเผด็จการ เพราะในสมัยที่มีการ
ปฏิวัติรัฐประหารก็มักจะมีคำสั่งของคณะปฏิวัติให้คดีบางประเภทมาขึ้นศาลทหารพิจารณาเช่น คดีการ
กระทำอันเป็นคอมมูนิตส์ เป็นต้น นักวิชาการเหล่านั้นจึงเห็นว่าเมื่อประเทศไทยได้มีการปกครองเป็น
ประชาธิปไตยสมบูรณ์แบบแล้วก็ไม่สมควรที่ต้องมีศาลทหารอีกต่อไป
ส่วนฝ่ายที่เห็นว่ายังสมควรต้องมีศาลทหารให้เหตุผลว่าการมีศาลทหารนั้นถือเป็นหลักสากล
ซึ่งในนานาอารยะประเทศต่างก็มีศาลทหารแทบทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐ-
อเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส หรือจีน เว้นแตใ่ นประเทศที่พ่ายแพ้สงคราม (สงครามโลกครั้งที่ ๒) อย่างเช่น
เยอรมัน หรือญี่ปุ่น ที่ถูกจำกัดไม่ให้มีศาลทหาร นอกจากนี้ศาลทหารมีวิธีพิจารณาคดีที่สามารถ
ปรับเปลี่ยนไปตามสถานะการณ์ได้ ซึ่งต่างจากศาลพลเรือน(ศาลยุติธรรม) ที่ไม่สามารถปรับเปลี่ยนได้
ดังนั้นในเวลาไม่ปกติ เช่น เวลาสงคราม ก็จำเป็นที่ต้องใช้ระบบของศาลทหาร เพื่อแก้ไขสถานะการณ์ของ
ประเทศให้กระบวนการยุติธรรมของประเทศสามารถดำเนินต่อไปได้และเหมาะสมต่อสถานะการณ์ใน
ขณะนั้น ประกอบกับในเรื่องเขตอำนาจศาลพลเรือน(ศาลยุติธรรม)จะมีเขตอำนาจจำกัดอยู่แต่ในพื้นที่
ตามที่มีกฎหมายบัญญัติไว้ ดังนั้น ในกรณีที่กองทัพต้องไปปฏิบัติภาระกิจ หรือเข้ายึดดินแดนข้าศึกใน
ต่างประเทศ ศาลพลเรือน(ศาลยุติธรรม) ก็จะไม่สามารถติดตามกองกำลังของกองทัพไปทำหน้าที่ในการ
ให้ความยุติธรรมได้ นอกจากนี้ในสนธิสัญญาระหว่างประเทศบางเรื่องได้กำหนดห้ามไม่ให้ฟ้องคดี
บุคคลบางประเภทต่อศาลในระบบปกติ เช่น กรณีของเชลยศึก เป็นต้น
อย่างไรก็ดี เห็นว่าเหตุผลและความจำเป็นอย่างหนึ่งในการมีศาลทหาร เนื่องจาก การรักษา
ความมั่นคงของประเทศถือได้ว่าเป็นประโยชน์สูงสุด ซึ่งการรักษาความมั่นคงนั้นจำเป็นต้องพึงพา
กองกำลังทหารที่เข็มแข็ง มีหลักการที่ถือได้ว่าเป็นหลักการยุทธสากลได้อย่างหนึ่งคือ หลักเอกภาพ
ในการบังคับบัญชา หมายถึงการให้ผู้บังคับบัญชามีอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดในการบังคับบัญชาได้ ซึ่งถ้า
เทียบกับการบริหารประเทศในปัจจุบันก็เทียบได้กับการที่นายกรัฐมนตรีมีนโยบายให้มี ผู้ว่าซีอีโอ ที่มี
อำนาจเด็ดขาดในการสั่งการแก่ข้าราชการต่างๆในจังหวัดนั่นเอง
การมีศาลทหารเป็นการแสดงถึงอำนาจของผู้บังคับบัญชาทหารในการปกครองแบบรวมอำนาจและเป็นเอกภาพ เพราะผู้บังคับบัญชาทหารจะมีส่วนร่วมในกระบวนการยุติธรรมทหาร เช่น การเป็นตุลาการร่วมในการตัดสินคดี และมีอำนาจอุทธรณ์
ฎีกา อำนาจสั่งลงโทษต่อทหารที่ศาลได้พิพากษาให้ลงโทษแล้ว เป็นต้น ซึ่งอำนาจต่างๆ ดังกล่าวนี้ไม่มี
ในกระบวนพิจารณาของศาลพลเรือน นอกจากนี้การที่ผู้บังคับบัญชาทหารได้เข้ามาร่วมเป็นตุลาการ
ก็จะได้ทราบถึงสาเหตุที่ทำให้กำลังพลดังกล่าวไปกระทำความผิดอาญาของบ้านเมืองและจะได้หา
แนวทางในการป้องกันและแก้ไขไม่ให้มีกำลังพลไประทำผิดเช่นนั้นอีก
ด้วยเหตุนี้การศาลทหารจึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับอำนาจการปกครองบังคับบัญชาทหารโดยตรง นอกจากนี้ยังมีแนวคิดที่เป็นหลักสากลอยู่ว่าการปกครองทหารจะใช้วิธีการเช่นเดียวกับการปกครองพลเรือนไม่ได้ เนื่องจากทหารเป็นผู้ถืออาวุธ
ร้ายแรงอยู่ในมือ จึงจำเป็นต้องอยู่ในระเบียบวินัยที่เข็มงวดยิ่งกว่าพลเรือน หากทหารไร้ซึ่งระเบียบวินัย
ก็อาจนำอาวุธร้ายแรงดังกล่าวมาสร้างความวุ่นวายในสังคมให้เป็นที่เดือนร้อนแก่ ประชาชน ได้
ดังนั้นวินัยของทหารจึงเข็มงวด ความผิดวินัยบางอย่างของพลเรือนอาจเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่ทางทหารถือเป็น
เรื่องร้ายแรงต้องถูกลงโทษเช่นเดียวกับความผิดทางอาญาของบ้านเมืองทั่วไปเพื่อมิให้เป็นเยี่ยงอย่าง เช่น
การขัดคำสั่งของผู้บังคับบัญชา หรือการหนีราชการ เป็นต้น
และเหตุผลอีกประการหนึ่งคือแม้จะมีกฎหมายว่าด้วยวินัยทหารให้อำนาจผู้บังคับบัญชา
ลงโทษทหารที่กระทำผิดวินัยได้ แต่เนื่องจากกองทัพประกอบด้วยกำลังพลจำนวนมาก และบางครั้งการ
กระทำผิดวินัยของกำลังพลดังกล่าวเป็นการผิดต่อกฎหมายของบ้านเมืองด้วยบางเรื่องมีผลกระทบต่อ
ประชาชนการจะให้ผู้บังคับบัญชาลงโทษลงทัณฑ์ตามวินัยทหารย่อมเป็นการไม่ถูกต้องต่อหลักกฎหมาย
บ้านเมืองและอาจก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมทั้งต่อประชาชนผู้เสียหายและตัวทหารที่กระทำผิดเอง แต่
การจะให้ทหารที่กระทำผิดไปขึ้นศาลและใช้วิธีการเช่นเดียวกับพลเรือน โดยผู้บังคับบัญชาทหารไม่มี
ส่วนเข้าไปเกี่ยวข้องด้วย ได้ก็จะเป็นการบั่นทอนอำนาจผู้บังคับบัญชาทหารว่าไม่สามารถให้คุณให้โทษ
ต่อทหารได้ย่อมส่งผลกระทบต่อการสั่งการในอำนาจของผู้บังคับบัญชาทหารทั้งในยามปกติและยาม
สงคราม ดังนั้นจึงจำเป็นต้องให้มีศาลทหารเพื่อใช้จัดการกับทหารที่กระทำผิดดังกล่าวให้เป็นไปตาม
ครรลองของบ้านเมือง จึงถือได้ว่าศาลทหารเป็นการรองรับอำนาจของผู้บังคับบัญชาเพื่อให้เกิดดุลยภาพ
ในทางปกครองและการบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมายบ้านเมือง
และด้วยเหตุผลและความจำเป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปัจจุบันจึงได้
บัญญัติให้มีศาลทหารเป็นองค์กรหนึ่งตามรัฐธรรมนูญเช่น เดียวกับ ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลยุติธรรม
และศาลปกครอง
อ้างอิง เอกสารวิชาการ กองพระธรรมนูญ กรมสารบรรณทหาร
ทำให้ดูเหมือนว่าเขตอำนาจของศาลทหารซ้ำซ้อนกับเขตอำนาจของศาลยุติธรรมในเรื่อง
ของการดำเนินคดีอาญา
จึงมักจะมีปัญหาถกเถียงกันในหมู่นักวิชาการทางกฎหมายและนักประชาธิปไตยว่า
ในปัจจุบันยังสมควรต้องมีศาลทหารต่อไปหรือไม่
โดยฝ่ายหนึ่งเห็นว่าไม่จำเป็นต้องมีศาลทหารเนื่องจากว่าเป็นการให้อภิสิทธิ์พิเศษแก่ทหาร ซึ่งทหารและ
ประชาชนสมควรจะต้องมีสิทธิและเสรีภาพเท่าเทียมกัน เมื่อทหารกระทำผิดก็สมควรให้ศาลยุติธรรมเป็น
ผู้พิจารณาลงโทษ การให้แยกไปขึ้นศาลทหาร ซึ่งมีทหารด้วยกันเป็นผู้พิจารณาตัดสินลงโทษอาจจะมีการ
ลำเอียงช่วยเหลือกันได้ และทำให้ประชาชนที่เป็นผู้เสียหายไม่ได้รับความเป็นธรรม ประกอบกับใน
ความคิดของนักประชาธิปไตยมองว่าศาลทหารเป็นภาพลักษณ์ของระบอบเผด็จการ เพราะในสมัยที่มีการ
ปฏิวัติรัฐประหารก็มักจะมีคำสั่งของคณะปฏิวัติให้คดีบางประเภทมาขึ้นศาลทหารพิจารณาเช่น คดีการ
กระทำอันเป็นคอมมูนิตส์ เป็นต้น นักวิชาการเหล่านั้นจึงเห็นว่าเมื่อประเทศไทยได้มีการปกครองเป็น
ประชาธิปไตยสมบูรณ์แบบแล้วก็ไม่สมควรที่ต้องมีศาลทหารอีกต่อไป
ส่วนฝ่ายที่เห็นว่ายังสมควรต้องมีศาลทหารให้เหตุผลว่าการมีศาลทหารนั้นถือเป็นหลักสากล
ซึ่งในนานาอารยะประเทศต่างก็มีศาลทหารแทบทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐ-
อเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส หรือจีน เว้นแตใ่ นประเทศที่พ่ายแพ้สงคราม (สงครามโลกครั้งที่ ๒) อย่างเช่น
เยอรมัน หรือญี่ปุ่น ที่ถูกจำกัดไม่ให้มีศาลทหาร นอกจากนี้ศาลทหารมีวิธีพิจารณาคดีที่สามารถ
ปรับเปลี่ยนไปตามสถานะการณ์ได้ ซึ่งต่างจากศาลพลเรือน(ศาลยุติธรรม) ที่ไม่สามารถปรับเปลี่ยนได้
ดังนั้นในเวลาไม่ปกติ เช่น เวลาสงคราม ก็จำเป็นที่ต้องใช้ระบบของศาลทหาร เพื่อแก้ไขสถานะการณ์ของ
ประเทศให้กระบวนการยุติธรรมของประเทศสามารถดำเนินต่อไปได้และเหมาะสมต่อสถานะการณ์ใน
ขณะนั้น ประกอบกับในเรื่องเขตอำนาจศาลพลเรือน(ศาลยุติธรรม)จะมีเขตอำนาจจำกัดอยู่แต่ในพื้นที่
ตามที่มีกฎหมายบัญญัติไว้ ดังนั้น ในกรณีที่กองทัพต้องไปปฏิบัติภาระกิจ หรือเข้ายึดดินแดนข้าศึกใน
ต่างประเทศ ศาลพลเรือน(ศาลยุติธรรม) ก็จะไม่สามารถติดตามกองกำลังของกองทัพไปทำหน้าที่ในการ
ให้ความยุติธรรมได้ นอกจากนี้ในสนธิสัญญาระหว่างประเทศบางเรื่องได้กำหนดห้ามไม่ให้ฟ้องคดี
บุคคลบางประเภทต่อศาลในระบบปกติ เช่น กรณีของเชลยศึก เป็นต้น
อย่างไรก็ดี เห็นว่าเหตุผลและความจำเป็นอย่างหนึ่งในการมีศาลทหาร เนื่องจาก การรักษา
ความมั่นคงของประเทศถือได้ว่าเป็นประโยชน์สูงสุด ซึ่งการรักษาความมั่นคงนั้นจำเป็นต้องพึงพา
กองกำลังทหารที่เข็มแข็ง มีหลักการที่ถือได้ว่าเป็นหลักการยุทธสากลได้อย่างหนึ่งคือ หลักเอกภาพ
ในการบังคับบัญชา หมายถึงการให้ผู้บังคับบัญชามีอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดในการบังคับบัญชาได้ ซึ่งถ้า
เทียบกับการบริหารประเทศในปัจจุบันก็เทียบได้กับการที่นายกรัฐมนตรีมีนโยบายให้มี ผู้ว่าซีอีโอ ที่มี
อำนาจเด็ดขาดในการสั่งการแก่ข้าราชการต่างๆในจังหวัดนั่นเอง
การมีศาลทหารเป็นการแสดงถึงอำนาจของผู้บังคับบัญชาทหารในการปกครองแบบรวมอำนาจและเป็นเอกภาพ เพราะผู้บังคับบัญชาทหารจะมีส่วนร่วมในกระบวนการยุติธรรมทหาร เช่น การเป็นตุลาการร่วมในการตัดสินคดี และมีอำนาจอุทธรณ์
ฎีกา อำนาจสั่งลงโทษต่อทหารที่ศาลได้พิพากษาให้ลงโทษแล้ว เป็นต้น ซึ่งอำนาจต่างๆ ดังกล่าวนี้ไม่มี
ในกระบวนพิจารณาของศาลพลเรือน นอกจากนี้การที่ผู้บังคับบัญชาทหารได้เข้ามาร่วมเป็นตุลาการ
ก็จะได้ทราบถึงสาเหตุที่ทำให้กำลังพลดังกล่าวไปกระทำความผิดอาญาของบ้านเมืองและจะได้หา
แนวทางในการป้องกันและแก้ไขไม่ให้มีกำลังพลไประทำผิดเช่นนั้นอีก
ด้วยเหตุนี้การศาลทหารจึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับอำนาจการปกครองบังคับบัญชาทหารโดยตรง นอกจากนี้ยังมีแนวคิดที่เป็นหลักสากลอยู่ว่าการปกครองทหารจะใช้วิธีการเช่นเดียวกับการปกครองพลเรือนไม่ได้ เนื่องจากทหารเป็นผู้ถืออาวุธ
ร้ายแรงอยู่ในมือ จึงจำเป็นต้องอยู่ในระเบียบวินัยที่เข็มงวดยิ่งกว่าพลเรือน หากทหารไร้ซึ่งระเบียบวินัย
ก็อาจนำอาวุธร้ายแรงดังกล่าวมาสร้างความวุ่นวายในสังคมให้เป็นที่เดือนร้อนแก่ ประชาชน ได้
ดังนั้นวินัยของทหารจึงเข็มงวด ความผิดวินัยบางอย่างของพลเรือนอาจเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่ทางทหารถือเป็น
เรื่องร้ายแรงต้องถูกลงโทษเช่นเดียวกับความผิดทางอาญาของบ้านเมืองทั่วไปเพื่อมิให้เป็นเยี่ยงอย่าง เช่น
การขัดคำสั่งของผู้บังคับบัญชา หรือการหนีราชการ เป็นต้น
และเหตุผลอีกประการหนึ่งคือแม้จะมีกฎหมายว่าด้วยวินัยทหารให้อำนาจผู้บังคับบัญชา
ลงโทษทหารที่กระทำผิดวินัยได้ แต่เนื่องจากกองทัพประกอบด้วยกำลังพลจำนวนมาก และบางครั้งการ
กระทำผิดวินัยของกำลังพลดังกล่าวเป็นการผิดต่อกฎหมายของบ้านเมืองด้วยบางเรื่องมีผลกระทบต่อ
ประชาชนการจะให้ผู้บังคับบัญชาลงโทษลงทัณฑ์ตามวินัยทหารย่อมเป็นการไม่ถูกต้องต่อหลักกฎหมาย
บ้านเมืองและอาจก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมทั้งต่อประชาชนผู้เสียหายและตัวทหารที่กระทำผิดเอง แต่
การจะให้ทหารที่กระทำผิดไปขึ้นศาลและใช้วิธีการเช่นเดียวกับพลเรือน โดยผู้บังคับบัญชาทหารไม่มี
ส่วนเข้าไปเกี่ยวข้องด้วย ได้ก็จะเป็นการบั่นทอนอำนาจผู้บังคับบัญชาทหารว่าไม่สามารถให้คุณให้โทษ
ต่อทหารได้ย่อมส่งผลกระทบต่อการสั่งการในอำนาจของผู้บังคับบัญชาทหารทั้งในยามปกติและยาม
สงคราม ดังนั้นจึงจำเป็นต้องให้มีศาลทหารเพื่อใช้จัดการกับทหารที่กระทำผิดดังกล่าวให้เป็นไปตาม
ครรลองของบ้านเมือง จึงถือได้ว่าศาลทหารเป็นการรองรับอำนาจของผู้บังคับบัญชาเพื่อให้เกิดดุลยภาพ
ในทางปกครองและการบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมายบ้านเมือง
และด้วยเหตุผลและความจำเป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปัจจุบันจึงได้
บัญญัติให้มีศาลทหารเป็นองค์กรหนึ่งตามรัฐธรรมนูญเช่น เดียวกับ ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลยุติธรรม
และศาลปกครอง
อ้างอิง เอกสารวิชาการ กองพระธรรมนูญ กรมสารบรรณทหาร
2553-03-05
การจัดการงานนอกสั่ง
วันนี้มามาทบทวนเรื่องการจัดการงานนอกสั่งกันหน่อยดีกว่า หุหุ
การจัดการงานนอกสั่งมีที่มาจากกฎหมายโรมัน เรียกว่า negotiorum gestio เป็นบ่อเกิดแห่งหนี้อย่าง 1 เป็นหนี้ที่เรียกว่า obligation ex negotiorum gestio
• การจัดการงานนอกสั่งตาม Roman Law แยกพิจารณาออกเป็น 3 ด้าน
1. บ่อเกิดแห่งหนี้
Gaius แบ่งบ่อเกิดแห่งหนี้เป็น 3 บ่อ คือ
- หนี้ที่เกิดจากสัญญา
- หนี้ที่เกิดจากการกระทำอันไม่ชอบด้วยกฎหมาย
- หนี้ที่เกิดจากเหตุอื่นๆ ( negotiorum gestio อยู่ในกลุ่มนี้ )
จักรพรรดิจัสติเนียน แบ่งบ่อเกิดแห่งหนี้เป็น 4 บ่อ คือ
- หนี้ที่เกิดจากสัญญา
- หนี้ที่เกิดจากการกระทำกึ่งสัญญา ( negotiorum gestio อยู่ในกลุ่มนี้เพราะไม่ได้เป็นหนี้ที่เกิดจากกการตกลงกัน แต่เกิดจากการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย อีกทั้งในสมัย Roman อาจเกิดขึ้นจากกรณีที่ไม่มีสัญญาหรือ กรณีที่มีสัญญาตั้งตัวแทนและตัวแทนทำเกินกรอบอำนาจ )
- หนี้ที่เกิดจากการกระทำที่มิชอบด้วยกฎหมาย
- หนี้ที่เกิดจากการกระทำกึ่งมิชอบด้วยกฎหมาย
2. ที่มา เกิดจาก praetor (ผู้พิพากษา)
3. ลักษณะทางกฏหมาย คือ
มีการจัดการงานของผู้อื่น โดยไม่มีการมอบหมาย
มีเจตนาเข้าไปดูแลกิจการของผู้อื่น
มีประโยชน์เกิดขึ้นจากการจัดการงานนั้น
ทั้งนี้โดยมีเงื่อนไข 3 ประการ
- เงื่อนไขภายนอก (การเข้าทำกิจการต้องสมประโยชน์ตามความประสงค์ของตัวการ , โดยตัวการต้องไม่อยู่หรือ อยู่แต่ไม่สามารถทำกิจการได้ด้วยตัวเอง , ถ้าจัดการสมประโยชน์ของตัวการในขณะที่ดำเนินการไปแล้ว ตัวการจะอ้างในภายหลังว่าตนมิได้รับประโยชน์มิได้) ผู้จัดการต้องจัดการโดยสมควรแก่เหตุ ใช้ค.ระมัดระวังลักษณะ exacta diligentia (ลักษณะหัวหน้าครอบครัวที่ดีพึงดูแลจัดกิจการของตนเอง)
- เงื่อนไขภายในทางเจตนาหรือ เงื่อนไขเชิงเจตนาก่อนจัดการ ( เข้าทำกิจการโดยเข้าใจว่าเป็นกิจการของผู้อื่นนและมีเจตนาจัดกิจการแทนผู้อื่น, คาดหวังว่าจะได้รับการชดใช้เงินอันตนได้ออกไป)
- เงื่อนไขสำคัญหลังจัดการ ( ถ้าตัวการยอมรับการจัดการของผู้จัดการ ถือเป็น การให้สัตยาบันและจะอ้างว่าการจัดการไม่สมประโยชน์ตนในภายหลังไม่ได้ )
การจัดการงานนอกสั่งตามระบบ Roman Law ตกทอดไปสู่ระบบ Civil Law ในปัจจุบัน ส่วน Common Law โดยทั่วไปถือว่า ผู้อื่นไม่อาจเรียกร้องให้บุคคลชดใช้ค่ากิจการอันตนมิได้ว่าขานวานใช้ให้ทำ ไม่อาจก่อให้เกิดสิทธิยึดหน่วง หรือการฟ้องคดีเรียกค่าชดเชยได้ แต่ก็ได้อาศัยเรื่องตัวแทนจำเป็น (agency of necessity )
• การจัดการงานนอกสั่งตามกฎหมายไทย มีรากฐานจาก Roman Law โดยรับผ่านต้นร่าง คือ ประมวลแพ่ง Germany และ Japan มูลหนี้เกิดจากกฎหมายข้อตกลง 2 ฝ่าย มีหลักเกณฑ์ 3 อย่าง คือ
มีบุคคลเข้าทำกิจการแทนผู้อื่น
โดยผู้อื่นนั้นมิได้ว่าขานวานใช้ หรือ ทำไปโดยไม่มีสิทธิ
การจัดการนั้นสมประโยชน์ของผู้อื่น
ทั้งนี้ปรากฏอยู่ในมาตรา 395 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ คือ บุคคลใดเข้าทำกิจการแทนผู้อื่นโดยเขามิได้ว่าขานวานใช้ให้ทำก็ดี หรือโดยมิได้มีสิทธิที่จะทำการงานนั้นแทนผู้อื่นด้วยประการใดก็ดี ท่านว่าบุคคลนั้นจะต้องจัดการงานไปในทางที่จะให้สมประโยชน์ของตัวการ ตามความประสงค์อันแท้จริงของตัวการ หรือตามที่จะพึงสันนิษฐานได้ว่าเป็น ความประสงค์ของตัวการ
การจัดกิจการ ทำได้ไม่จำกัดกิจการ เว้นเรื่องเฉพาะตัวที่ทำไม่ได้ เช่น หมั้น สมรส รับรองเด็กเป็นบุตร
กิจการที่เข้าทำต้องเป็นการทำแทนผู้อื่น/ เพื่อประโยชน์ผู้อื่น โดยผู้จัดการต้องทำเองด้วยมีเจตนาทำแทนผู้อื่น หากมีการมอบหมายให้ทำ อาจเป็นกรณีการตั้งตัวแทน หรือ สัญญาจ้างแรงงาน หรือ สัญญาจ้างทำของ
• มูลหนี้ที่เกิดเป็นมูลหนี้ระหว่างผู้จัดการ กับตัวการ
หากผู็จัดการเป็นผู้มีความสามารถย่อมมีผลตามกฎหมาย แต่หากเป็นผู้ไร้ความสามารถ กฎหมายกำหนดความรับผิดชอบแค่ตามบทบัญญัติว่าด้วยค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิดและว่าด้วยการคืนลาภมิควรได้เท่านั้น
• ผู้จัดการ = บุคคลที่จัดการงานนอกสั่ง เป็นผู้ไร้ความสามารถ ก็ได้
• หนี้ของผู้จัดการ เกิดตั้งแต่สอดเข้าไปจัดกิจการแทนผู้อื่น คือ
1. จะต้องจัดการงานไปในทางที่จะให้สมประโยชน์ของตัวการ ( Reasonable man principle )
2. ตามความประสงค์อันแท้จริงของตัวการ หรือตามที่จะพึงสันนิษฐานได้ว่าเป็น ความประสงค์ของตัวการ ( ทีละ step แต่คำพิพากษามักใช้ทั้งสองคำประกอบกัน)
หากทำครบ 2 ข้อ จะส่งผลให้หนี้ผูกพันตัวการให้ต้องใช้เงินทดรองที่จ่ายไป
นอกจากนี้ยังมีหนี้อื่นอีก ดังนี้
- มาตรา 399 ผู้จัดการต้องบอกกล่าวแก่ตัวการโดยเร็วที่สุดที่จะทำได้ว่าตนได้เข้าจัดการงานแทน และต้องรอฟังคำวินิจฉัยของตัวการ เว้นแต่ภัยจะมีขึ้นเพราะการที่หน่วงเนิ่นไว้ นอกจากนี้ท่านให้นำบท บัญญัติแห่ง มาตรา 809 ถึง มาตรา 811 อันบังคับแก่ตัวแทนนั้นมาใช้บังคับแก่หน้าที่ของผู้จัดการด้วยโดยอนุโลม
• กรณีจัดการงานขัดความประสงค์ตัวการ
มาตรา 396 ถ้าการที่เข้าจัดการงานนั้น เป็นการขัดกับความ ประสงค์อันแท้จริงของตัวการก็ดี หรือขัดกับความประสงค์ตามที่ จะพึงสันนิษฐานได้ก็ดีและผู้จัดการก็ควรจะได้รู้สึกเช่นนั้นแล้วด้วย ไซร้ ท่านว่าผู้จัดการจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ตัวการเพื่อ ความเสียหายอย่างใด ๆ อันเกิดแต่ที่ได้เข้าจัดการนั้น แม้ทั้งผู้ จัดการจะมิได้มีความผิดประการอื่น
มาตรา 398 ถ้าผู้จัดการทำกิจอันใดเพื่อประสงค์จะปัดป้องอันตรายอันมีมาใกล้ตัวการ จะเป็นภัยแก่ตัวก็ดี แก่ชื่อเสียงก็ดี หรือแก่ทรัพย์สินก็ดี ท่านว่าผู้จัดการต้องรับผิดชอบแต่เพียงที่ จงใจทำผิด หรือที่เป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงเท่านั้น ( กรณีความรับผิดเด็ดขาด เมื่อเกิดคสห.เพราะจงใจหรือประมาทแม้จัดการสมประโยชน์แล้ว)
ข้อยกเว้นของผู้จัดการที่ไม่ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน
- มาตรา 397 ถ้าผู้จัดการทำกิจอันใดซึ่งเป็นหน้าที่บังคับให้ตัวการ ทำเพื่อสาธารณประโยชน์ก็ดี หรือเป็นหน้าที่ตามกฎหมายที่จะ บำรุงรักษาผู้อื่นก็ดี และหากผู้จัดการมิได้เข้าทำแล้ว กิจอันนั้นจะ ไม่สำเร็จภายในเวลาอันควรไซร้ การที่ได้ทำขัดกับความประสงค์ ของตัวการเช่นนั้นท่านมิให้ยกขึ้นเป็นข้อวินิจฉัย
- มาตรา 400 ถ้าผู้จัดการเป็นผู้ไร้ความสามารถ ท่านว่าจะต้องรับผิดชอบแต่เพียงตามบทบัญญัติว่าด้วยค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิด และว่าด้วยการคืนลาภมิควรได้เท่านั้น (จะรับผิดเมื่อการจัดการงานถึงขั้นเป็นละเมิดเท่านั้น)
หากผู้จัดการมีความสามารถก็เอาบทบัญญัติจัดก.งานนอกสั่งมาใช้ได้หมด เว้นมาตรา 400
• หนี้ของตัวการ
(มาตรา 401) ถ้าการที่เข้าจัดการงานนั้นเป็นการสมประโยชน์ ของตัวการและต้องตามความประสงค์อันแท้จริงของตัวการ หรือ ความประสงค์ตามที่จะพึงสันนิษฐานได้นั้นไซร้ ท่านว่าผู้จัดการจะ เรียกให้ชดใช้เงินอันตนได้ออกไปคืนแก่ตนเช่นอย่างตัวแทนก็ได้ และ บทบัญญัติ มาตรา 816 วรรค 2 นั้น ท่านก็ให้นำมาใช้บังคับด้วยโดย อนุโลม (Perform หนี้ที่ผู้จัดการก่อขึ้นเนื่องจากการที่เขาได้ทำแทน หากหนี้ยังไม่ถึงกำหนดชำระ ก็ให้หลักประกันตามสมควร)
อนึ่ง ในกรณีที่กล่าวมาใน มาตรา 397 นั้น แม้ถึงว่าที่เข้าจัดการงาน นั้นจะเป็นการขัดกับความประสงค์ของตัวการก็ดี ผู้จัดการก็ยังคงมี สิทธิเรียกร้องเช่นนั้นอยู่
(มาตรา 402) ถ้าเงื่อนไขดั่งว่ามาใน มาตราก่อนนั้นมิได้มี ท่านว่าตัวการจำต้องคืนสิ่งทั้งหลายบรรดาที่ได้มาเพราะเขาเข้าจัดการงาน นั้นให้แก่ผู้จัดการตามบทบัญญัติว่าด้วยการคืนลาภมิควรได้
ถ้าตัวการให้สัตยาบันแก่การที่จัดทำนั้น ท่านให้นำบทบัญญัติทั้งหลายแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยตัวแทนมาใช้บังคับ แล้วแต่กรณี
• กรณีมิใช่จัดกkiงานนอกสั่ง
1. มาตรา 403 ถ้าผู้จัดการมิได้มีบุรพเจตนา (=เจตนาเริ่มต้นเข้าทำการ พิจารณาข้อเท็จจริงเป็นรายๆไป) จะเรียกให้ตัวการชด ช้คืน ผู้จัดการก็ย่อมไม่มีสิทธิเรียกร้องเช่นนั้น ( แม้กลับใจ )
การที่บิดามารดา ปู่ย่า ตายาย บำรุงรักษาผู้สืบสันดานเป็นทาง อุปการะก็ดี หรือกลับกันเป็นทางปฏิการะก็ดี เมื่อกรณีเป็นที่สงสัย ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าไม่มีเจตนาจะเรียกให้ผู้รับประโยชน์ ชดใช้คืน
2. มาตรา 405 วรรค 1 บทบัญญัติทั้งหลายที่กล่าวมาในสิบ มาตรา ก่อนนั้นท่าน มิให้ใช้บังคับแก่กรณีที่บุคคลหนึ่งเข้าทำการงานของผู้อื่นโดยสำคัญว่า เป็นการงานของตนเอง ( ขาดเจตนาทำเพื่อตัวการ )
3. มาตรา 405 วรรค 2 ถ้าบุคคลใดถือเอากิจการของผู้อื่นว่าเป็นของตนเอง ทั้งที่รู้แล้วว่าตนไม่มีสิทธิจะทำเช่นนั้นไซร้ ( Impure gestor) ท่านว่าตัวการจะใช้สิทธิเรียกร้องบังคับ โดยมูลดั่งบัญญัติไว้ใน มาตรา 395 มาตรา 396 มาตรา 399 และ มาตรา 400 นั้นก็ได้ (เพราะเป็นการละเมิดสิทธิ) แต่เมื่อได้ใช้สิทธิดั่งว่ามานี้แล้ว ตัวการจะต้องรับผิดต่อผู้จัดการดั่ง บัญญัติไว้ใน มาตรา 402 วรรค 1
4. มาตรา 404 ถ้าผู้จัดการทำแทนผู้หนึ่งโดยสำคัญว่าทำแทนผู้อื่น อีกคนหนึ่งไซร้ ท่านว่าผู้เป็นตัวการคนก่อนผู้เดียวมีสิทธิและหน้าที่ อันเกิดแต่การที่ได้จัดทำไปนั้น (ไม่ส่งผลให้หนี้จัดการงานนอกสั่งเสียไป เพราะหนี้นี้ไม่คำนึงคุณสมบัติและความสามารถของตัวการ)
การจัดการงานนอกสั่งมีที่มาจากกฎหมายโรมัน เรียกว่า negotiorum gestio เป็นบ่อเกิดแห่งหนี้อย่าง 1 เป็นหนี้ที่เรียกว่า obligation ex negotiorum gestio
• การจัดการงานนอกสั่งตาม Roman Law แยกพิจารณาออกเป็น 3 ด้าน
1. บ่อเกิดแห่งหนี้
Gaius แบ่งบ่อเกิดแห่งหนี้เป็น 3 บ่อ คือ
- หนี้ที่เกิดจากสัญญา
- หนี้ที่เกิดจากการกระทำอันไม่ชอบด้วยกฎหมาย
- หนี้ที่เกิดจากเหตุอื่นๆ ( negotiorum gestio อยู่ในกลุ่มนี้ )
จักรพรรดิจัสติเนียน แบ่งบ่อเกิดแห่งหนี้เป็น 4 บ่อ คือ
- หนี้ที่เกิดจากสัญญา
- หนี้ที่เกิดจากการกระทำกึ่งสัญญา ( negotiorum gestio อยู่ในกลุ่มนี้เพราะไม่ได้เป็นหนี้ที่เกิดจากกการตกลงกัน แต่เกิดจากการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย อีกทั้งในสมัย Roman อาจเกิดขึ้นจากกรณีที่ไม่มีสัญญาหรือ กรณีที่มีสัญญาตั้งตัวแทนและตัวแทนทำเกินกรอบอำนาจ )
- หนี้ที่เกิดจากการกระทำที่มิชอบด้วยกฎหมาย
- หนี้ที่เกิดจากการกระทำกึ่งมิชอบด้วยกฎหมาย
2. ที่มา เกิดจาก praetor (ผู้พิพากษา)
3. ลักษณะทางกฏหมาย คือ
มีการจัดการงานของผู้อื่น โดยไม่มีการมอบหมาย
มีเจตนาเข้าไปดูแลกิจการของผู้อื่น
มีประโยชน์เกิดขึ้นจากการจัดการงานนั้น
ทั้งนี้โดยมีเงื่อนไข 3 ประการ
- เงื่อนไขภายนอก (การเข้าทำกิจการต้องสมประโยชน์ตามความประสงค์ของตัวการ , โดยตัวการต้องไม่อยู่หรือ อยู่แต่ไม่สามารถทำกิจการได้ด้วยตัวเอง , ถ้าจัดการสมประโยชน์ของตัวการในขณะที่ดำเนินการไปแล้ว ตัวการจะอ้างในภายหลังว่าตนมิได้รับประโยชน์มิได้) ผู้จัดการต้องจัดการโดยสมควรแก่เหตุ ใช้ค.ระมัดระวังลักษณะ exacta diligentia (ลักษณะหัวหน้าครอบครัวที่ดีพึงดูแลจัดกิจการของตนเอง)
- เงื่อนไขภายในทางเจตนาหรือ เงื่อนไขเชิงเจตนาก่อนจัดการ ( เข้าทำกิจการโดยเข้าใจว่าเป็นกิจการของผู้อื่นนและมีเจตนาจัดกิจการแทนผู้อื่น, คาดหวังว่าจะได้รับการชดใช้เงินอันตนได้ออกไป)
- เงื่อนไขสำคัญหลังจัดการ ( ถ้าตัวการยอมรับการจัดการของผู้จัดการ ถือเป็น การให้สัตยาบันและจะอ้างว่าการจัดการไม่สมประโยชน์ตนในภายหลังไม่ได้ )
การจัดการงานนอกสั่งตามระบบ Roman Law ตกทอดไปสู่ระบบ Civil Law ในปัจจุบัน ส่วน Common Law โดยทั่วไปถือว่า ผู้อื่นไม่อาจเรียกร้องให้บุคคลชดใช้ค่ากิจการอันตนมิได้ว่าขานวานใช้ให้ทำ ไม่อาจก่อให้เกิดสิทธิยึดหน่วง หรือการฟ้องคดีเรียกค่าชดเชยได้ แต่ก็ได้อาศัยเรื่องตัวแทนจำเป็น (agency of necessity )
• การจัดการงานนอกสั่งตามกฎหมายไทย มีรากฐานจาก Roman Law โดยรับผ่านต้นร่าง คือ ประมวลแพ่ง Germany และ Japan มูลหนี้เกิดจากกฎหมายข้อตกลง 2 ฝ่าย มีหลักเกณฑ์ 3 อย่าง คือ
มีบุคคลเข้าทำกิจการแทนผู้อื่น
โดยผู้อื่นนั้นมิได้ว่าขานวานใช้ หรือ ทำไปโดยไม่มีสิทธิ
การจัดการนั้นสมประโยชน์ของผู้อื่น
ทั้งนี้ปรากฏอยู่ในมาตรา 395 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ คือ บุคคลใดเข้าทำกิจการแทนผู้อื่นโดยเขามิได้ว่าขานวานใช้ให้ทำก็ดี หรือโดยมิได้มีสิทธิที่จะทำการงานนั้นแทนผู้อื่นด้วยประการใดก็ดี ท่านว่าบุคคลนั้นจะต้องจัดการงานไปในทางที่จะให้สมประโยชน์ของตัวการ ตามความประสงค์อันแท้จริงของตัวการ หรือตามที่จะพึงสันนิษฐานได้ว่าเป็น ความประสงค์ของตัวการ
การจัดกิจการ ทำได้ไม่จำกัดกิจการ เว้นเรื่องเฉพาะตัวที่ทำไม่ได้ เช่น หมั้น สมรส รับรองเด็กเป็นบุตร
กิจการที่เข้าทำต้องเป็นการทำแทนผู้อื่น/ เพื่อประโยชน์ผู้อื่น โดยผู้จัดการต้องทำเองด้วยมีเจตนาทำแทนผู้อื่น หากมีการมอบหมายให้ทำ อาจเป็นกรณีการตั้งตัวแทน หรือ สัญญาจ้างแรงงาน หรือ สัญญาจ้างทำของ
• มูลหนี้ที่เกิดเป็นมูลหนี้ระหว่างผู้จัดการ กับตัวการ
หากผู็จัดการเป็นผู้มีความสามารถย่อมมีผลตามกฎหมาย แต่หากเป็นผู้ไร้ความสามารถ กฎหมายกำหนดความรับผิดชอบแค่ตามบทบัญญัติว่าด้วยค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิดและว่าด้วยการคืนลาภมิควรได้เท่านั้น
• ผู้จัดการ = บุคคลที่จัดการงานนอกสั่ง เป็นผู้ไร้ความสามารถ ก็ได้
• หนี้ของผู้จัดการ เกิดตั้งแต่สอดเข้าไปจัดกิจการแทนผู้อื่น คือ
1. จะต้องจัดการงานไปในทางที่จะให้สมประโยชน์ของตัวการ ( Reasonable man principle )
2. ตามความประสงค์อันแท้จริงของตัวการ หรือตามที่จะพึงสันนิษฐานได้ว่าเป็น ความประสงค์ของตัวการ ( ทีละ step แต่คำพิพากษามักใช้ทั้งสองคำประกอบกัน)
หากทำครบ 2 ข้อ จะส่งผลให้หนี้ผูกพันตัวการให้ต้องใช้เงินทดรองที่จ่ายไป
นอกจากนี้ยังมีหนี้อื่นอีก ดังนี้
- มาตรา 399 ผู้จัดการต้องบอกกล่าวแก่ตัวการโดยเร็วที่สุดที่จะทำได้ว่าตนได้เข้าจัดการงานแทน และต้องรอฟังคำวินิจฉัยของตัวการ เว้นแต่ภัยจะมีขึ้นเพราะการที่หน่วงเนิ่นไว้ นอกจากนี้ท่านให้นำบท บัญญัติแห่ง มาตรา 809 ถึง มาตรา 811 อันบังคับแก่ตัวแทนนั้นมาใช้บังคับแก่หน้าที่ของผู้จัดการด้วยโดยอนุโลม
• กรณีจัดการงานขัดความประสงค์ตัวการ
มาตรา 396 ถ้าการที่เข้าจัดการงานนั้น เป็นการขัดกับความ ประสงค์อันแท้จริงของตัวการก็ดี หรือขัดกับความประสงค์ตามที่ จะพึงสันนิษฐานได้ก็ดีและผู้จัดการก็ควรจะได้รู้สึกเช่นนั้นแล้วด้วย ไซร้ ท่านว่าผู้จัดการจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ตัวการเพื่อ ความเสียหายอย่างใด ๆ อันเกิดแต่ที่ได้เข้าจัดการนั้น แม้ทั้งผู้ จัดการจะมิได้มีความผิดประการอื่น
มาตรา 398 ถ้าผู้จัดการทำกิจอันใดเพื่อประสงค์จะปัดป้องอันตรายอันมีมาใกล้ตัวการ จะเป็นภัยแก่ตัวก็ดี แก่ชื่อเสียงก็ดี หรือแก่ทรัพย์สินก็ดี ท่านว่าผู้จัดการต้องรับผิดชอบแต่เพียงที่ จงใจทำผิด หรือที่เป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงเท่านั้น ( กรณีความรับผิดเด็ดขาด เมื่อเกิดคสห.เพราะจงใจหรือประมาทแม้จัดการสมประโยชน์แล้ว)
ข้อยกเว้นของผู้จัดการที่ไม่ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน
- มาตรา 397 ถ้าผู้จัดการทำกิจอันใดซึ่งเป็นหน้าที่บังคับให้ตัวการ ทำเพื่อสาธารณประโยชน์ก็ดี หรือเป็นหน้าที่ตามกฎหมายที่จะ บำรุงรักษาผู้อื่นก็ดี และหากผู้จัดการมิได้เข้าทำแล้ว กิจอันนั้นจะ ไม่สำเร็จภายในเวลาอันควรไซร้ การที่ได้ทำขัดกับความประสงค์ ของตัวการเช่นนั้นท่านมิให้ยกขึ้นเป็นข้อวินิจฉัย
- มาตรา 400 ถ้าผู้จัดการเป็นผู้ไร้ความสามารถ ท่านว่าจะต้องรับผิดชอบแต่เพียงตามบทบัญญัติว่าด้วยค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิด และว่าด้วยการคืนลาภมิควรได้เท่านั้น (จะรับผิดเมื่อการจัดการงานถึงขั้นเป็นละเมิดเท่านั้น)
หากผู้จัดการมีความสามารถก็เอาบทบัญญัติจัดก.งานนอกสั่งมาใช้ได้หมด เว้นมาตรา 400
• หนี้ของตัวการ
(มาตรา 401) ถ้าการที่เข้าจัดการงานนั้นเป็นการสมประโยชน์ ของตัวการและต้องตามความประสงค์อันแท้จริงของตัวการ หรือ ความประสงค์ตามที่จะพึงสันนิษฐานได้นั้นไซร้ ท่านว่าผู้จัดการจะ เรียกให้ชดใช้เงินอันตนได้ออกไปคืนแก่ตนเช่นอย่างตัวแทนก็ได้ และ บทบัญญัติ มาตรา 816 วรรค 2 นั้น ท่านก็ให้นำมาใช้บังคับด้วยโดย อนุโลม (Perform หนี้ที่ผู้จัดการก่อขึ้นเนื่องจากการที่เขาได้ทำแทน หากหนี้ยังไม่ถึงกำหนดชำระ ก็ให้หลักประกันตามสมควร)
อนึ่ง ในกรณีที่กล่าวมาใน มาตรา 397 นั้น แม้ถึงว่าที่เข้าจัดการงาน นั้นจะเป็นการขัดกับความประสงค์ของตัวการก็ดี ผู้จัดการก็ยังคงมี สิทธิเรียกร้องเช่นนั้นอยู่
(มาตรา 402) ถ้าเงื่อนไขดั่งว่ามาใน มาตราก่อนนั้นมิได้มี ท่านว่าตัวการจำต้องคืนสิ่งทั้งหลายบรรดาที่ได้มาเพราะเขาเข้าจัดการงาน นั้นให้แก่ผู้จัดการตามบทบัญญัติว่าด้วยการคืนลาภมิควรได้
ถ้าตัวการให้สัตยาบันแก่การที่จัดทำนั้น ท่านให้นำบทบัญญัติทั้งหลายแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยตัวแทนมาใช้บังคับ แล้วแต่กรณี
• กรณีมิใช่จัดกkiงานนอกสั่ง
1. มาตรา 403 ถ้าผู้จัดการมิได้มีบุรพเจตนา (=เจตนาเริ่มต้นเข้าทำการ พิจารณาข้อเท็จจริงเป็นรายๆไป) จะเรียกให้ตัวการชด ช้คืน ผู้จัดการก็ย่อมไม่มีสิทธิเรียกร้องเช่นนั้น ( แม้กลับใจ )
การที่บิดามารดา ปู่ย่า ตายาย บำรุงรักษาผู้สืบสันดานเป็นทาง อุปการะก็ดี หรือกลับกันเป็นทางปฏิการะก็ดี เมื่อกรณีเป็นที่สงสัย ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าไม่มีเจตนาจะเรียกให้ผู้รับประโยชน์ ชดใช้คืน
2. มาตรา 405 วรรค 1 บทบัญญัติทั้งหลายที่กล่าวมาในสิบ มาตรา ก่อนนั้นท่าน มิให้ใช้บังคับแก่กรณีที่บุคคลหนึ่งเข้าทำการงานของผู้อื่นโดยสำคัญว่า เป็นการงานของตนเอง ( ขาดเจตนาทำเพื่อตัวการ )
3. มาตรา 405 วรรค 2 ถ้าบุคคลใดถือเอากิจการของผู้อื่นว่าเป็นของตนเอง ทั้งที่รู้แล้วว่าตนไม่มีสิทธิจะทำเช่นนั้นไซร้ ( Impure gestor) ท่านว่าตัวการจะใช้สิทธิเรียกร้องบังคับ โดยมูลดั่งบัญญัติไว้ใน มาตรา 395 มาตรา 396 มาตรา 399 และ มาตรา 400 นั้นก็ได้ (เพราะเป็นการละเมิดสิทธิ) แต่เมื่อได้ใช้สิทธิดั่งว่ามานี้แล้ว ตัวการจะต้องรับผิดต่อผู้จัดการดั่ง บัญญัติไว้ใน มาตรา 402 วรรค 1
4. มาตรา 404 ถ้าผู้จัดการทำแทนผู้หนึ่งโดยสำคัญว่าทำแทนผู้อื่น อีกคนหนึ่งไซร้ ท่านว่าผู้เป็นตัวการคนก่อนผู้เดียวมีสิทธิและหน้าที่ อันเกิดแต่การที่ได้จัดทำไปนั้น (ไม่ส่งผลให้หนี้จัดการงานนอกสั่งเสียไป เพราะหนี้นี้ไม่คำนึงคุณสมบัติและความสามารถของตัวการ)
2553-02-27
มาจำแนกประเภทอาชญากรรมกัน
อาชญากรรมเป็นปรากฏการณ์ธรรมดาของทุกสังคม แต่อาจมีรูปแบบที่เปลี่ยนแปลงไปตามพัฒนาการของสังคมนั้นๆ
เนื่องจากสังคมได้พัฒนาตนเองไปไม่หยุดยั้ง รูปแบบอาชญากรรมพัฒนามากขึ้นหลากหลาย ซับซ้อนมากขึ้น
มีการเอาลักษณะของก.ประกอบธุรกิจ/ เทคโนโลยีรูปแบบต่างๆมาผสมผสานกับการกระทำผิดจนยากในการบังคับใช้กฎหมาย
บางครั้งมีการดำเนินงานเป็นเครือข่าย
การจำแนกประเภทอาชญากรรมในสังคมโดยจำแนกตามลักษณะพฤติกรรมของอาชญากรรม มีดังนี้
1. Occasional crime เกิดโดยไม่เจตนาที่จะฝ่าฝืนกฎเกณฑ์ บางครั้งไม่รู้สึกว่าตนได้ก่ออาชญากรรม เช่น ป้องกันตัวเกินสมควรแก่เหตุ ถ้าวิเคราะห์เชิงกฎหมายอาญาคนประเภทนี้ยังไม่ควรเรียกอาชญากรเนื่องจากขาดเจตนาร้าย
2. Habitual crime มักเกิดจากบุคคลที่ ไม้สามารถปรับตัวให้เข้ากับมาตรฐานสังคมได้ แม้ถูกลงโทษก็จะกลับมาทำผิดซ้ำอีก
3. Street crime อาชญากรรมธรรมดา หรือ อาชญากรรมพื้นฐาน มีในทุกสังคมตั้งแต่โบราณเกิดขึ้นเพื่อสนองความต้องการของตน เช่น ลักทรัพย์
4. Violent crime อาชญากรรมที่ใช้ความรุนแรง
5. Professional crime มักแฝงตนอยู่ในสังคมเมืองที่มีชีวิตความเป็นอยู่สะดวกสบาย มีการใช้เทคนิค ความชำนาญ ไม่นิยมปฏิบัติด้วยความรุนแรง
6. Political crime มีการบริหารงานของกลุ่มอาชญากรรม ได้รับอิทธิพลทางการเงิน อภิสิทธิ์บางอย่าง ได้แก่ การกบฏ การกระทำที่เป็นความผิดต่อความมั่นคง วงการเมืองเองก็มีการกระทำผิดทางเศรษฐกิจปนอยู่มาก มักดำรง 2 ฐานะ คือ ฐานะที่ได้รับเลือกมาจากความไว้วางใจของประชาชน และฐานะของโจรใส่สูท
7. White collar crime มักเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียง มีหน้าตา ฐานะในสังคม เรียกอีกชื่อว่า occupational crime ถือเป็นการทำผิดต่อความไว้วางใจ
8. Organized crime คณะบุคคลรวมตัวเข้าเป็งองค์การ มีการดำเนินงานอย่างเป็นแบบแผน แบ่งหน้าที่ประกอบกิจการที่ผิดกฎหมายเพื่อให้ได้เงินมาจากการทุจริต เป็นอาชญากรรมประเภทร้ายแรง สังคมมีปฏิกิริยาต่อต้านพฤติกรรมดังกล่าว แต่กมฎหมายเอื้อมไม่ถึง เนื่องจากมีอิทธิพลทางการเงิน การเมือง มักพัฒนาเป็นอาชญากรรมข้ามชาติ
^^ โฮ่ๆ ยังพอจำได้ หวังว่าอาจารย์คงจะให้เกรด A อีกครั้งนะคะ
อ้างอิง : อาชญากรรมทางเศรษฐกิจ , วีระพงษ์ บุญโญภาส
เนื่องจากสังคมได้พัฒนาตนเองไปไม่หยุดยั้ง รูปแบบอาชญากรรมพัฒนามากขึ้นหลากหลาย ซับซ้อนมากขึ้น
มีการเอาลักษณะของก.ประกอบธุรกิจ/ เทคโนโลยีรูปแบบต่างๆมาผสมผสานกับการกระทำผิดจนยากในการบังคับใช้กฎหมาย
บางครั้งมีการดำเนินงานเป็นเครือข่าย
การจำแนกประเภทอาชญากรรมในสังคมโดยจำแนกตามลักษณะพฤติกรรมของอาชญากรรม มีดังนี้
1. Occasional crime เกิดโดยไม่เจตนาที่จะฝ่าฝืนกฎเกณฑ์ บางครั้งไม่รู้สึกว่าตนได้ก่ออาชญากรรม เช่น ป้องกันตัวเกินสมควรแก่เหตุ ถ้าวิเคราะห์เชิงกฎหมายอาญาคนประเภทนี้ยังไม่ควรเรียกอาชญากรเนื่องจากขาดเจตนาร้าย
2. Habitual crime มักเกิดจากบุคคลที่ ไม้สามารถปรับตัวให้เข้ากับมาตรฐานสังคมได้ แม้ถูกลงโทษก็จะกลับมาทำผิดซ้ำอีก
3. Street crime อาชญากรรมธรรมดา หรือ อาชญากรรมพื้นฐาน มีในทุกสังคมตั้งแต่โบราณเกิดขึ้นเพื่อสนองความต้องการของตน เช่น ลักทรัพย์
4. Violent crime อาชญากรรมที่ใช้ความรุนแรง
5. Professional crime มักแฝงตนอยู่ในสังคมเมืองที่มีชีวิตความเป็นอยู่สะดวกสบาย มีการใช้เทคนิค ความชำนาญ ไม่นิยมปฏิบัติด้วยความรุนแรง
6. Political crime มีการบริหารงานของกลุ่มอาชญากรรม ได้รับอิทธิพลทางการเงิน อภิสิทธิ์บางอย่าง ได้แก่ การกบฏ การกระทำที่เป็นความผิดต่อความมั่นคง วงการเมืองเองก็มีการกระทำผิดทางเศรษฐกิจปนอยู่มาก มักดำรง 2 ฐานะ คือ ฐานะที่ได้รับเลือกมาจากความไว้วางใจของประชาชน และฐานะของโจรใส่สูท
7. White collar crime มักเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียง มีหน้าตา ฐานะในสังคม เรียกอีกชื่อว่า occupational crime ถือเป็นการทำผิดต่อความไว้วางใจ
8. Organized crime คณะบุคคลรวมตัวเข้าเป็งองค์การ มีการดำเนินงานอย่างเป็นแบบแผน แบ่งหน้าที่ประกอบกิจการที่ผิดกฎหมายเพื่อให้ได้เงินมาจากการทุจริต เป็นอาชญากรรมประเภทร้ายแรง สังคมมีปฏิกิริยาต่อต้านพฤติกรรมดังกล่าว แต่กมฎหมายเอื้อมไม่ถึง เนื่องจากมีอิทธิพลทางการเงิน การเมือง มักพัฒนาเป็นอาชญากรรมข้ามชาติ
^^ โฮ่ๆ ยังพอจำได้ หวังว่าอาจารย์คงจะให้เกรด A อีกครั้งนะคะ
อ้างอิง : อาชญากรรมทางเศรษฐกิจ , วีระพงษ์ บุญโญภาส
2553-02-26
ผลเพียรแห่งการเรียนเปรียบเทียบ 2
กฎหมายเปรียบเทียบ (Comparative Law) เป็นวิชาที่มีความสำคัญอย่างมากในปัจจุบัน
ศูนย์กลางการศึกษาที่มีประสิทธิภาพของประเทศไทยในขณะนี้คือ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
การตั้งชื่อวิชาว่า “กฎหมายเปรียบเทียบ” อาจจะสื่อ concept ของวิชาที่ผิดไป เพราะการเรียนวิชานี้จะให้ความสำคัญเน้นหนักไปที่วิธีการเปรียบเทียบเสียมากกว่า (methodology) ดังนั้นเป้าประสงค์ของการศึกษาก็เพื่อที่ทราบว่า เมื่อเกิดปัญหากฎหมายหนึ่งๆขึ้น ต่างประเทศ หรือ ประเทศที่ใช้กฎหมายต่างระบบเขามีวิธีการแก้ไขกันอย่างไร จริงอยู่ที่วิธีการดังกล่าวเป็นไปเพื่ออำนวยความยุติธรรมในสังคมไม่ต่างกัน แต่อย่างไรเสียเมื่อมันคือหนึ่งในบรรดานิติวิธีที่มีความเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละระบบกฎหมาย เราจึงละเลยความเฉพาะตัวนั้นไม่ได้ เพื่อที่จะทราบถึงข้อดี ข้อเสีย อันจะนำไปสู่การเปิดโลกทรรศน์และพัฒนากฎหมายในทางที่ถูกที่ควรต่อไป
นิติวิธี คือ แนวความคิด หรือ ทัศนคติของนักกฎหมายที่มีต่อบ่อเกิด การเรียน การใช้ การสอน และ การบัญญัติกฎหมาย
การที่จะสามารถวิเคราะห์วิจารณ์วิธีการของในระบบกฎหมายหลัก คือ Civil Law System และ Common Law เราจำต้องรู้ที่มาของนิติวิธีเสียก่อน
Civil Law
ในสมัยโรมัน ก็คือ ius civile หรือ กฎหมายของพลเมืองโรมัน อันเป็นจารีตประเพณีที่ศักดิ์สิทธิ์แฝงไปด้วยหลักเหตุผล กล่าวอีกนัยหนึ่งเราอาจเรียกได้ว่าเป็น ius naturale
แม้จะได้มีการบันทึกลงแผ่นทองแดงเป็น XII Tabularum ความศักดิ์สิทธิ์ก็ยังคงไม่จางหาย บรรดาพลเมืองต่างยึดถือกฎหมายลายลักษณ์อักษรนี้อย่างเคร่งครัดเพราะถือเป็นตัวแทนของเหตุผลนั่นเอง เมื่อจิตวิญญาณของตัวอักษรคือเหตุผล ตัวอักษรและเหตุผลย่อมไม่อาจแยกจากกันได้ นำไปสู่การตีความกฎหมายแบบตรรกวิทยาแล้วกลายเป็นตีความตามตัวอักษรพร้อมเพรียงกับเจตนารมณ์ไปในที่สุด
ในยุคศตวรรตที่ 12-13 กฎหมายโรมันในส่วน Digest แห่งประมวลกฏหมายของจัสติเนียน (Corpus iuris civilis)ได้ถูกนำกลับมาศึกษาใหม่ด้วยนักวิชาการ นักศึกษาในมหาวิทยาลัย Bologna (Glossators) พวกเขามีความเชื่อว่ามันเป็น คัมภีร์แห่งสติปัญญา (Ratio scripta) ที่จะช่วยนำพาสังคมไปสู่ความรุ่งโรจน์ได้ ทั้งนี้การศึกษาของพวกเขาจะเป็นในลักษณะของภาษาศาตร์ เช่น วากยสัมพันธ์ ดูบริบท เป็นต้น
ก้าวเข้าสู่ยุคสมัยใหม่ตอนต้น ลัทธิกฎหมายธรรมชาติมีอิทธิพลส่งเสริมให้มีการศึกษากฎหมายโรมันแบบวิภาษวิธีโดยพวก Post glossators หรือ Commentators ผลลัพธ์ที่ได้คือ ความมีเหตุผลของกฎหมายโรมันยังคงเป็นที่ยอมรับและตกผลึกกลายเป็นศาสตร์แห่งกฎหมายตลอดจนเกิด Civil law system ในที่สุด
ศตวรรตที่ 18 เกิดการบัญญัติประมวลกฎหมายขึ้น (ประมวลกฎหมายแพ่งของประเทศฝรั่งเศส) เนื่องจากอิทธิพลของลัทธิภูมิธรรมนิยม ความเชื่อในอำนาจอธิปไตย และความเชื่อที่ว่ากฎหมายคือเครื่องกำหนดวิถีชีวิตและสังคมใหม่ แต่เหตุผลในกฎหมายยุคนี้มีลักษณะที่เป็นเชิงวิทยาศาสตร์ ลัทธิกฎหมายบ้านเมืองจึงยิ่งทวีความสำคัญ มีการตีความกฎหมายเคร่งครัดตามตัวอักษร (ประเทศฝรั่งเศษต้องการล้มเลิกอำนาจแบบเก่าจึงมีการห้ามศาลตีความเกินเลยากตัวอักษร) จนศตวรรตที่ 20 เกิดการต่อต้านโดยสำนักกฎหมายอิสระทำให้มีการตีความตามสำนักประวัติศาสตร์ คือ ดูเจตนารมณ์ควบคู่ด้วย สำนักกฎหมายบ้านเมืองจึงค่อยๆเสื่อมความสำคัญไป เห็นได้จากประมวลกฎหมายประเทศเยอรมรี ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ที่ให้มีการคำนึงเจตนารมณ์ในการใช้กฎหมายด้วย
Common Law
ในยุคศตวรรตที่ 5-6 พวก Anglo-Saxon เข้าครอบครองเกาะอังกฤษ ทำให้เกิดมีกฎหมายจารีตปรเพณีมากมาย
ยุคกลางประมาณศตวรรตที่ 11 พวก Norman ได้เข้าครอบครองเกาะอังกฤษและได้จัดตั้งศาลหลวงขึ้นเพราะรังเกียจในกฎหมายจารีตประเพณีท้องถิ่นของบรรดาศาลท้องถิ่น ศาสนา และขยายอำนาจไปจนทั่วราชอาณาจักรโดยมีวิธีแก้ไขปัญหากฎหมายแบบใช้เหตุผลเข้าจับเอาข้อเท็จจริงเกิดเป็น ratio decidendi ขึ้น เมื่อเกิดมีข้อพิพาทที่มีข้อเท็จจริงลักษณะเดียวกันภายหลังก็จะเจริญรอยการตัดสินเหมือนที่ได้เคยวางหลักไว้แล้ว เกิดเป็น Doctrine of Precedent หรือ Stare decisis หรือ ลัทธิคดีบรรทัดฐานขึ้น มีบรรดาพวกขุนนางไม่พอใจในการจัดตั้งศาลนี้จึงมีการประนีประนอมกันจนได้โดยให้ต่างฝ่ายต่างกลับไปฐานะเดิม ศาลหลวงให้ตัดสินได้เฉพาะคดีที่เคยออกหมายเรียกและคดีที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันเท่านั้น ในยุคนี้กฎหมายบัญญัติมีไม่มาก การตีความเป็นไปแบบเคร่งครัด การตัดสินคดีของศาลหลวงจึงผูกพันกับวิธีพิจารณาและคดีบรรทัดฐาน
จนกระทั่งศตวรรตที่ 15 หลักกฎหมายของศาลหลวงเข้าสู่ความไม่สอดคล้องกัน ประจวบกับลัทธิเทวสิทธิ์และชัยชนะของกษัตริย์ที่มีอยู่เหนือขุนนาง จึงได้มีการตั้งศาล Equity หรือ Chancery ขึ้นซึ่งมีการนำเอาหลัก Equity, Canon Law, Roman Law มาปรับใช้โดยคำนึงถึงความยุติธรรมและประโยชน์สุขเป็นหลัก สมัยนี้มีการออกกฎหมายลายลักษณ์อักษรมากขึ้น เช่น พวกพระราชบัญญัติ มีการตีความโดยคำนึงเจตนารมณ์ เพื่อสอดคล้องกับหลักที่ว่า เจตน์จำนงของกษัติรย์ คือ กฎหมาย
ศตวรรตที่ 17 เพราะการที่ศาล Common Law ถูกรอนอำนาจจากศาล Chancery และลัทธเสรีนิยม ศาลจึงเข้าร่วมกับรัฐสภาคานอำนาจของกษัติรย์ โจมตีหลัก Equity ว่าอาจก่อให้เกิดการที่ศาลใช้ดุลพินิจตามอำเภอใจได้
จากผลของการคานอำนาจครั้งนี้ กอปรกฎบัตรแมกนาคาตาร์ และการสู้รบระหว่างศาลและฝ่ายบริหาร จึงทำให้ศาล Common Law มีอำนาจพิจารณาคดีเอกชน และคดีที่เกี่ยวกับการกระทำของฝ่ายบริหาร ตลอดจนทำให้หลัก Equity ของศาล Chancery มีความไม่ยืดหยุ่นมากขึ้นเรื่อยๆ การตีความกฎหมายกลับมาเป็นแบบเคร่งครัดเหมือนเดิม
ศตวรรตที่ 18 ชนชั้นพ่อค้าได้เข้ากุมรัฐสภาได้ มีการออกฎหมายเพื่อแก้ไขกฎหมาย Common Law แต่ศาล Common Law ยังคงอิดเอิ้อนการใช้ในกรณีขัดต่อเหตุผล หรือ ความรู้สึกของมหาชน จนกระทั่งถูกบีบบังคับจากรัฐสภาให้ทำการใช้ จึงมีการตีความแบบเคร่งครัดไม่สนใจเจตนารมณ์ เพื่อจักได้ใช้กฎหมาย Common Law ของตนต่อไป เพราะมีความเชื่อว่าหลักกฎหมายที่เกิดจาก ratio decidendi สูงส่งที่สุดแล้ว ศาลไม่ได้มีหน้าที่ทำให้กฎหมายบัญญัติสมเหตุสมผล ศาลเป็นแต่เพียงผู้แสดงความหมายตามธรรมดาอักษรของกฎหมายบัญญัติเท่านั้น อักษรย่อมแสดงความหมายชัดเจนในตัวเองอยู่แล้ว (เห็นได้จากตำราของ Maxwell)
เมื่อยุคสมัยผ่านไปเกิดการพัฒนาของฝ่ายนิติบัญญัติ การปฏิรูปกฎหมาย ลัทธิประชาธิปไตยแบบเสรีนิยม แนวคิดของ Jeremy Bentham กฎหมายบัญญัติจึงทวีความสำคัญและเป็นที่ยอมรับมากขึ้นโดยเฉพาะในโลกปัจจุบัน การตีความแบบเคร่งครัดจึงมีการผ่อนคลายลง และได้รับการวิจารณ์อย่างมาก เห็นได้จากคำกล่าวของ Lord Denning ปี 1949 ที่ว่า... มนุษย์ไม่อาจคาดหมายเหตุการณ์ทั้งปวงในอนาคตได้ หรือ ต่อให้คาดหมายได้ก็ไม่อาจออกกฎหมายให้มีความหมายที่ชัดเจนครอบคลุม ภาษาอังกฤษไม่ใช่สูตรคณิตศาสตร์ ดังนั้นเมื่อเกิดข้อพิพาทจึงไม่ควรโทษผู้บัญญัติแต่เพียงฝ่ายเดียว ต้องตีความโดยคำนึงเจตนารมณ์ด้วย... หรือ จากคำวิจารณ์ของ Roscoe Pound ที่ว่า... ศาลอังกฤษทำตัวแย่ที่สุดเมื่ออยู่ต่อหน้าบทบัญญัติของฝ่ายนิติบัญญัติ...
ผลของ Judicature Act 1873-1875 ทำให้ศาลใช้ Equity คู่กับ Common Law ได้
หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 เมื่อประเทศอังกฤษเข้าร่วมประชามคมยุโรปก็ได้รับอิทธิพลแบบกฎหมาย Civil Law มากขึ้น
นิติวิธี
จากความเป็นมาทำให้เกิดนิติวิธีแห่งระบบ Civil Law และ Common Law ที่เป็นแบบฉบับของตนคือ
1. CiviL Law มีที่มาจากความไม่รังเกียจจารีตประเพณี ต่างจาก Common Law
2. CiviL Law กฎหมายลายลักษณ์อักษรถือเป็นบ่อเกิดรากฐานแห่งกฎหมายลำดับแรก ตามติดมาด้วยจารีตประเพณี (ทว่าบางครั้งจารีตประเพณีก็กลายมาเป็นเกิดคู่
หลักกฎหมายทั่วไป คือ หลักกฎหมายที่สากลยอมรับ มีค่าเทียบเท่ารัฐธรรมนูญ เช่น หลักสุจริต
ในประเทศ Civil Law ที่มิได้มีบทมาตรากล่าวให้ใช้หลักกฎหมายทั่วไป จะมีทางออกโดยการอ้างหลักเหตุผลทั่วไปเบื้องหลังกฎหมาย
*น่าสังเกตว่า กฎหมายจึงมิใช่ตัวบทกฎหมาย เพราะตัวบทกฎหมายมิใช่กฎหมาย เป็นแค่หนึ่งในบรรดาบ่อเกิดของกฎหมาย กฎหมายที่แท้จริงคือ หลักเหตุผลที่อยู่เบื้องหลังต่างหาก
Common Law คำพิพาษาเป็นบ่อเกิดรากฐานของกฎหมาย หลักกฎหมายจะเกิดภายหลังข้อเท็จจริงเป็นรายเรื่องรายคดี ความเห็นของผู้พิพากษาชื่อดังมีอิทธิพลราวคัมภีร์กฎหมาย รองลงมาเป็นกฎหมายบัญญัติ จารีตประเพณี ความเห็นของนักนิติศาสตร์
3. ใน CiviL Law คำพิพากษาเป็นแค่ตัวอย่างของการปรับใช้การปรับใช้กฎหมาย เป็นเครื่องช่วยอธิบายตัวบทให้แจ่มกระจ่าง จึงไม่ใช่ที่มาของกฎหมาย อย่างไรเสีย ก็ใช่ไม่ว่าโดยสิ้นเชิง ในความเป็นจริงคำพิพากษาก็มีอิทธิพลและอาจเป็นแนวทางในการบัญญัติกฎหมายต่อไปได้ ดังความเห็นของ Zwegert ที่บอกว่า ยังไงเสีย Civil Law system ก็ไม่ได้ละทิ้งคำพิพากษาในฐานะบ่อเกิดเสียทีเดียว แตกต่างจาก Common Law
4. กฎหมายของระบบ Civil Law คือ บรรทัดฐานความประพฤติของสังคมที่มีลักษณะเป็นหลักเกณฑ์กว้างแบบทั่วไป ไม่ลงลายละเอียดปลีกย่อยเหมือนระบบ Common Law จึงไม่มีลักษณะของกฎหมายเฟ้อ (Inflation of law) ระบบ Civil Law เปิดโอกาสในศาลสามารถใช้ดุลพินิจได้เพื่อความยืดหยุ่น โดยมีกฎหมายบัญญัติและคำพิพากษาบรรทัดฐานเป็นกรอบในการใช้ดุลพินิจของศาล
มองในมุมนักกฎหมาย Civil law จะพบว่า กฎหมายของ Common Law เป็นรายละเอียดเชิงลึก ไม่ใช่กฎหมายอย่างแท้จริง แต่หากมองในมุมกลับจะพบว่า กฎหมายของ Civil Law เป็นแค่กฎเกณฑ์ทางศีลธรรมเท่านั้น หลักกฎหมายที่มีรายละเอียดถี่ถ้วนเหมาะสมที่สุดในการปิดกั้นความอยุติธรรมที่เกิดจากการใช้ดุลพินิจสุดโต่งของศาล
5. CiviL Law การใช้กฎหมาย เป็นการปรับข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นเข้ากับตัวบทกฎหมายที่มีอยู่ก่อนแล้ว แบบละเอียดรอบคอบ ในลักษณะไม่ทำลายความเป็นหลักเกณฑ์ทั่วไป
Common Law กฎหมายจะถูกสร้างภายหลังข้อเท็จจริงเป็นการเฉพาะรายไป มีหลัก Stare decisis แต่ก็มี Doctrine of Distinction เป็นข้อยกเว้น (ratio decidendi มีค่าบังคับให้เดินตาม แต่ obiter dictum ไม่)
6. ทฤษฎีการตีความของ Civil Law System ในปัจจุบัน มี การตีความตามหลักภาษา และการตีความตามหลักเหตุผลตามตรรก ซึ่งไม่อาจแยกจากกันได้ต้องตีความตัวอักษรควบคู่เจตนารมณ์ เพราะกฎหมายคือระบบของเหตุผลนั่นเอง เพื่อให้เห็นภาพขอยกตัวอย่างประมวลกฎหมายแพ่งของเยอรมนี (BGB) ที่วางหลักในการตีความว่า ธรรมดาต้องตีความตามตัวอักษรในความหมายธรรมดาคู่ไปกับเหตุผลตามธรรมดา แต่เมื่อกรณีเป็นที่สงสัยก็จะมีการตีความโดยพึ่งพิงประวัติศาสตร์ หาเจตนารมณ์จากตัวบทที่เชื่อมโยงด้วย มีหลักกฎหมายทั่วไปช่วยเกื้อหนุนทำให้กฎหมายไม่ค่อยล้าสมัย ไม่ต้องมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขบ่อยๆ ทั้งสามารถตีความหลักกฎหมายทั่วไปเป็นหลักกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งได้ หากไม่มีเหตุผลพิเศษห้ามเอาไว้
Eugen Huber ก็เคยได้กล่าวไว้ว่า เดิมมีการตีความตามตัวอักษรธรรมดา พอสังคมเปลี่ยนกฎหมายเริ่มมีความซับซ้อนมากขึ้นก็มีการตีความแบบวากยสัมพันธ์ บริบทเข้ามา จนกระทั่งนำเอาเจตนารมณ์มาตีความพร้อมไปด้วยในตอนสุดท้าย
Common Law มีการตีความ 3 รูปแบบหลัก
- ตีความตามตัวอักษร ใช้กับกรณีกฎหมายบัญญัติของรัฐสภา
- ตีความเล็งผลเลิศ กรณีตีความตามตัวอักษรแล้วมันขัดแย้งกับเจตนารมณ์ของกฎหมายเสียจนเกินไป
- ตีความแก้ไขข้อเสีย ใช้กับกรณีกฎหมายบัญญัติของรัฐสภาที่ออกมาแก้ไขข้อบกพร่องของ Common Law คือ ตีความดูเจตนารมณ์ด้วย
7. Civil Law มีรูปแบบการเรียนการสอนแบบทฤษฎี ปูทางด้วยตำรับตำรา จากนักวิชาการในมหาวิทยาลัย คือ มีลักษณะเป็นแบบเหตุผลนิยม ระบบกฎหมายนี้ได้รับการพัฒนาจากนักนิติศาตร์จึงมีโครงสร้างเป็นระเบียบสอดคล้องกัน
อาจกล่าวได้ว่าระบบ Civil Law เป็นระบบแบบแผนแห่งรูปแบบกฎหมายบัญญัติเชิงสารบัญญัติและเป็นระบบกฎหมายของนักนิติศาสตร์
Common Law มีรูปแบบการสอนด้วยคำพิพากษา เป็นโรงเรียนสอนกฎหมาย เน้นการสั่งสมประสบการณ์ในการแยกแยะข้อเท็จจริง เรื่องใดไม่มีค่อยหันกลับไปหากฎหมายบัญญัติ คือ มีลักษณะเชิงประสบการณ์นิยม ระบบกฎหมายนี้ได้มีการพัฒนาโดยนักปฏิบัติอย่างศาล และ เนติบัณฑิตยสภา จึงเป็นการพัฒนาแบบเป็นไปเอง มี Inflation of Law และโครงสร้างไม่ค่อยเป็นระบบระเบียบ จนเคยมีคำกล่าวว่าเป็นระบบแบบ Judge Made Law แต่ช่วงศตวรรตที่ 18 ได้มีการออกมาไขโดย John Holt ว่าอันที่จริงแล้วเป็นแบบ Judge Declared Law ต่างหาก
ไม่ว่าระบบนิติวิธีจะต่างกันแค่ไหน หากสอดคล้องกับปัญหากฎหมายและอำนวยความยุติธรรมได้ แค่นี้ก็เพียงพอแล้ว เรียกว่า แตกต่างได้แต่ไม่แตกแยก
อ้างอิง : นิติวิธีในระบบซิวิลลอร์และคอมมอนลอว์ , กิตติศักดิ์ ปรกติ
ศูนย์กลางการศึกษาที่มีประสิทธิภาพของประเทศไทยในขณะนี้คือ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
การตั้งชื่อวิชาว่า “กฎหมายเปรียบเทียบ” อาจจะสื่อ concept ของวิชาที่ผิดไป เพราะการเรียนวิชานี้จะให้ความสำคัญเน้นหนักไปที่วิธีการเปรียบเทียบเสียมากกว่า (methodology) ดังนั้นเป้าประสงค์ของการศึกษาก็เพื่อที่ทราบว่า เมื่อเกิดปัญหากฎหมายหนึ่งๆขึ้น ต่างประเทศ หรือ ประเทศที่ใช้กฎหมายต่างระบบเขามีวิธีการแก้ไขกันอย่างไร จริงอยู่ที่วิธีการดังกล่าวเป็นไปเพื่ออำนวยความยุติธรรมในสังคมไม่ต่างกัน แต่อย่างไรเสียเมื่อมันคือหนึ่งในบรรดานิติวิธีที่มีความเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละระบบกฎหมาย เราจึงละเลยความเฉพาะตัวนั้นไม่ได้ เพื่อที่จะทราบถึงข้อดี ข้อเสีย อันจะนำไปสู่การเปิดโลกทรรศน์และพัฒนากฎหมายในทางที่ถูกที่ควรต่อไป
นิติวิธี คือ แนวความคิด หรือ ทัศนคติของนักกฎหมายที่มีต่อบ่อเกิด การเรียน การใช้ การสอน และ การบัญญัติกฎหมาย
การที่จะสามารถวิเคราะห์วิจารณ์วิธีการของในระบบกฎหมายหลัก คือ Civil Law System และ Common Law เราจำต้องรู้ที่มาของนิติวิธีเสียก่อน
Civil Law
ในสมัยโรมัน ก็คือ ius civile หรือ กฎหมายของพลเมืองโรมัน อันเป็นจารีตประเพณีที่ศักดิ์สิทธิ์แฝงไปด้วยหลักเหตุผล กล่าวอีกนัยหนึ่งเราอาจเรียกได้ว่าเป็น ius naturale
แม้จะได้มีการบันทึกลงแผ่นทองแดงเป็น XII Tabularum ความศักดิ์สิทธิ์ก็ยังคงไม่จางหาย บรรดาพลเมืองต่างยึดถือกฎหมายลายลักษณ์อักษรนี้อย่างเคร่งครัดเพราะถือเป็นตัวแทนของเหตุผลนั่นเอง เมื่อจิตวิญญาณของตัวอักษรคือเหตุผล ตัวอักษรและเหตุผลย่อมไม่อาจแยกจากกันได้ นำไปสู่การตีความกฎหมายแบบตรรกวิทยาแล้วกลายเป็นตีความตามตัวอักษรพร้อมเพรียงกับเจตนารมณ์ไปในที่สุด
ในยุคศตวรรตที่ 12-13 กฎหมายโรมันในส่วน Digest แห่งประมวลกฏหมายของจัสติเนียน (Corpus iuris civilis)ได้ถูกนำกลับมาศึกษาใหม่ด้วยนักวิชาการ นักศึกษาในมหาวิทยาลัย Bologna (Glossators) พวกเขามีความเชื่อว่ามันเป็น คัมภีร์แห่งสติปัญญา (Ratio scripta) ที่จะช่วยนำพาสังคมไปสู่ความรุ่งโรจน์ได้ ทั้งนี้การศึกษาของพวกเขาจะเป็นในลักษณะของภาษาศาตร์ เช่น วากยสัมพันธ์ ดูบริบท เป็นต้น
ก้าวเข้าสู่ยุคสมัยใหม่ตอนต้น ลัทธิกฎหมายธรรมชาติมีอิทธิพลส่งเสริมให้มีการศึกษากฎหมายโรมันแบบวิภาษวิธีโดยพวก Post glossators หรือ Commentators ผลลัพธ์ที่ได้คือ ความมีเหตุผลของกฎหมายโรมันยังคงเป็นที่ยอมรับและตกผลึกกลายเป็นศาสตร์แห่งกฎหมายตลอดจนเกิด Civil law system ในที่สุด
ศตวรรตที่ 18 เกิดการบัญญัติประมวลกฎหมายขึ้น (ประมวลกฎหมายแพ่งของประเทศฝรั่งเศส) เนื่องจากอิทธิพลของลัทธิภูมิธรรมนิยม ความเชื่อในอำนาจอธิปไตย และความเชื่อที่ว่ากฎหมายคือเครื่องกำหนดวิถีชีวิตและสังคมใหม่ แต่เหตุผลในกฎหมายยุคนี้มีลักษณะที่เป็นเชิงวิทยาศาสตร์ ลัทธิกฎหมายบ้านเมืองจึงยิ่งทวีความสำคัญ มีการตีความกฎหมายเคร่งครัดตามตัวอักษร (ประเทศฝรั่งเศษต้องการล้มเลิกอำนาจแบบเก่าจึงมีการห้ามศาลตีความเกินเลยากตัวอักษร) จนศตวรรตที่ 20 เกิดการต่อต้านโดยสำนักกฎหมายอิสระทำให้มีการตีความตามสำนักประวัติศาสตร์ คือ ดูเจตนารมณ์ควบคู่ด้วย สำนักกฎหมายบ้านเมืองจึงค่อยๆเสื่อมความสำคัญไป เห็นได้จากประมวลกฎหมายประเทศเยอรมรี ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ที่ให้มีการคำนึงเจตนารมณ์ในการใช้กฎหมายด้วย
Common Law
ในยุคศตวรรตที่ 5-6 พวก Anglo-Saxon เข้าครอบครองเกาะอังกฤษ ทำให้เกิดมีกฎหมายจารีตปรเพณีมากมาย
ยุคกลางประมาณศตวรรตที่ 11 พวก Norman ได้เข้าครอบครองเกาะอังกฤษและได้จัดตั้งศาลหลวงขึ้นเพราะรังเกียจในกฎหมายจารีตประเพณีท้องถิ่นของบรรดาศาลท้องถิ่น ศาสนา และขยายอำนาจไปจนทั่วราชอาณาจักรโดยมีวิธีแก้ไขปัญหากฎหมายแบบใช้เหตุผลเข้าจับเอาข้อเท็จจริงเกิดเป็น ratio decidendi ขึ้น เมื่อเกิดมีข้อพิพาทที่มีข้อเท็จจริงลักษณะเดียวกันภายหลังก็จะเจริญรอยการตัดสินเหมือนที่ได้เคยวางหลักไว้แล้ว เกิดเป็น Doctrine of Precedent หรือ Stare decisis หรือ ลัทธิคดีบรรทัดฐานขึ้น มีบรรดาพวกขุนนางไม่พอใจในการจัดตั้งศาลนี้จึงมีการประนีประนอมกันจนได้โดยให้ต่างฝ่ายต่างกลับไปฐานะเดิม ศาลหลวงให้ตัดสินได้เฉพาะคดีที่เคยออกหมายเรียกและคดีที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันเท่านั้น ในยุคนี้กฎหมายบัญญัติมีไม่มาก การตีความเป็นไปแบบเคร่งครัด การตัดสินคดีของศาลหลวงจึงผูกพันกับวิธีพิจารณาและคดีบรรทัดฐาน
จนกระทั่งศตวรรตที่ 15 หลักกฎหมายของศาลหลวงเข้าสู่ความไม่สอดคล้องกัน ประจวบกับลัทธิเทวสิทธิ์และชัยชนะของกษัตริย์ที่มีอยู่เหนือขุนนาง จึงได้มีการตั้งศาล Equity หรือ Chancery ขึ้นซึ่งมีการนำเอาหลัก Equity, Canon Law, Roman Law มาปรับใช้โดยคำนึงถึงความยุติธรรมและประโยชน์สุขเป็นหลัก สมัยนี้มีการออกกฎหมายลายลักษณ์อักษรมากขึ้น เช่น พวกพระราชบัญญัติ มีการตีความโดยคำนึงเจตนารมณ์ เพื่อสอดคล้องกับหลักที่ว่า เจตน์จำนงของกษัติรย์ คือ กฎหมาย
ศตวรรตที่ 17 เพราะการที่ศาล Common Law ถูกรอนอำนาจจากศาล Chancery และลัทธเสรีนิยม ศาลจึงเข้าร่วมกับรัฐสภาคานอำนาจของกษัติรย์ โจมตีหลัก Equity ว่าอาจก่อให้เกิดการที่ศาลใช้ดุลพินิจตามอำเภอใจได้
จากผลของการคานอำนาจครั้งนี้ กอปรกฎบัตรแมกนาคาตาร์ และการสู้รบระหว่างศาลและฝ่ายบริหาร จึงทำให้ศาล Common Law มีอำนาจพิจารณาคดีเอกชน และคดีที่เกี่ยวกับการกระทำของฝ่ายบริหาร ตลอดจนทำให้หลัก Equity ของศาล Chancery มีความไม่ยืดหยุ่นมากขึ้นเรื่อยๆ การตีความกฎหมายกลับมาเป็นแบบเคร่งครัดเหมือนเดิม
ศตวรรตที่ 18 ชนชั้นพ่อค้าได้เข้ากุมรัฐสภาได้ มีการออกฎหมายเพื่อแก้ไขกฎหมาย Common Law แต่ศาล Common Law ยังคงอิดเอิ้อนการใช้ในกรณีขัดต่อเหตุผล หรือ ความรู้สึกของมหาชน จนกระทั่งถูกบีบบังคับจากรัฐสภาให้ทำการใช้ จึงมีการตีความแบบเคร่งครัดไม่สนใจเจตนารมณ์ เพื่อจักได้ใช้กฎหมาย Common Law ของตนต่อไป เพราะมีความเชื่อว่าหลักกฎหมายที่เกิดจาก ratio decidendi สูงส่งที่สุดแล้ว ศาลไม่ได้มีหน้าที่ทำให้กฎหมายบัญญัติสมเหตุสมผล ศาลเป็นแต่เพียงผู้แสดงความหมายตามธรรมดาอักษรของกฎหมายบัญญัติเท่านั้น อักษรย่อมแสดงความหมายชัดเจนในตัวเองอยู่แล้ว (เห็นได้จากตำราของ Maxwell)
เมื่อยุคสมัยผ่านไปเกิดการพัฒนาของฝ่ายนิติบัญญัติ การปฏิรูปกฎหมาย ลัทธิประชาธิปไตยแบบเสรีนิยม แนวคิดของ Jeremy Bentham กฎหมายบัญญัติจึงทวีความสำคัญและเป็นที่ยอมรับมากขึ้นโดยเฉพาะในโลกปัจจุบัน การตีความแบบเคร่งครัดจึงมีการผ่อนคลายลง และได้รับการวิจารณ์อย่างมาก เห็นได้จากคำกล่าวของ Lord Denning ปี 1949 ที่ว่า... มนุษย์ไม่อาจคาดหมายเหตุการณ์ทั้งปวงในอนาคตได้ หรือ ต่อให้คาดหมายได้ก็ไม่อาจออกกฎหมายให้มีความหมายที่ชัดเจนครอบคลุม ภาษาอังกฤษไม่ใช่สูตรคณิตศาสตร์ ดังนั้นเมื่อเกิดข้อพิพาทจึงไม่ควรโทษผู้บัญญัติแต่เพียงฝ่ายเดียว ต้องตีความโดยคำนึงเจตนารมณ์ด้วย... หรือ จากคำวิจารณ์ของ Roscoe Pound ที่ว่า... ศาลอังกฤษทำตัวแย่ที่สุดเมื่ออยู่ต่อหน้าบทบัญญัติของฝ่ายนิติบัญญัติ...
ผลของ Judicature Act 1873-1875 ทำให้ศาลใช้ Equity คู่กับ Common Law ได้
หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 เมื่อประเทศอังกฤษเข้าร่วมประชามคมยุโรปก็ได้รับอิทธิพลแบบกฎหมาย Civil Law มากขึ้น
นิติวิธี
จากความเป็นมาทำให้เกิดนิติวิธีแห่งระบบ Civil Law และ Common Law ที่เป็นแบบฉบับของตนคือ
1. CiviL Law มีที่มาจากความไม่รังเกียจจารีตประเพณี ต่างจาก Common Law
2. CiviL Law กฎหมายลายลักษณ์อักษรถือเป็นบ่อเกิดรากฐานแห่งกฎหมายลำดับแรก ตามติดมาด้วยจารีตประเพณี (ทว่าบางครั้งจารีตประเพณีก็กลายมาเป็นเกิดคู่
หลักกฎหมายทั่วไป คือ หลักกฎหมายที่สากลยอมรับ มีค่าเทียบเท่ารัฐธรรมนูญ เช่น หลักสุจริต
ในประเทศ Civil Law ที่มิได้มีบทมาตรากล่าวให้ใช้หลักกฎหมายทั่วไป จะมีทางออกโดยการอ้างหลักเหตุผลทั่วไปเบื้องหลังกฎหมาย
*น่าสังเกตว่า กฎหมายจึงมิใช่ตัวบทกฎหมาย เพราะตัวบทกฎหมายมิใช่กฎหมาย เป็นแค่หนึ่งในบรรดาบ่อเกิดของกฎหมาย กฎหมายที่แท้จริงคือ หลักเหตุผลที่อยู่เบื้องหลังต่างหาก
Common Law คำพิพาษาเป็นบ่อเกิดรากฐานของกฎหมาย หลักกฎหมายจะเกิดภายหลังข้อเท็จจริงเป็นรายเรื่องรายคดี ความเห็นของผู้พิพากษาชื่อดังมีอิทธิพลราวคัมภีร์กฎหมาย รองลงมาเป็นกฎหมายบัญญัติ จารีตประเพณี ความเห็นของนักนิติศาสตร์
3. ใน CiviL Law คำพิพากษาเป็นแค่ตัวอย่างของการปรับใช้การปรับใช้กฎหมาย เป็นเครื่องช่วยอธิบายตัวบทให้แจ่มกระจ่าง จึงไม่ใช่ที่มาของกฎหมาย อย่างไรเสีย ก็ใช่ไม่ว่าโดยสิ้นเชิง ในความเป็นจริงคำพิพากษาก็มีอิทธิพลและอาจเป็นแนวทางในการบัญญัติกฎหมายต่อไปได้ ดังความเห็นของ Zwegert ที่บอกว่า ยังไงเสีย Civil Law system ก็ไม่ได้ละทิ้งคำพิพากษาในฐานะบ่อเกิดเสียทีเดียว แตกต่างจาก Common Law
4. กฎหมายของระบบ Civil Law คือ บรรทัดฐานความประพฤติของสังคมที่มีลักษณะเป็นหลักเกณฑ์กว้างแบบทั่วไป ไม่ลงลายละเอียดปลีกย่อยเหมือนระบบ Common Law จึงไม่มีลักษณะของกฎหมายเฟ้อ (Inflation of law) ระบบ Civil Law เปิดโอกาสในศาลสามารถใช้ดุลพินิจได้เพื่อความยืดหยุ่น โดยมีกฎหมายบัญญัติและคำพิพากษาบรรทัดฐานเป็นกรอบในการใช้ดุลพินิจของศาล
มองในมุมนักกฎหมาย Civil law จะพบว่า กฎหมายของ Common Law เป็นรายละเอียดเชิงลึก ไม่ใช่กฎหมายอย่างแท้จริง แต่หากมองในมุมกลับจะพบว่า กฎหมายของ Civil Law เป็นแค่กฎเกณฑ์ทางศีลธรรมเท่านั้น หลักกฎหมายที่มีรายละเอียดถี่ถ้วนเหมาะสมที่สุดในการปิดกั้นความอยุติธรรมที่เกิดจากการใช้ดุลพินิจสุดโต่งของศาล
5. CiviL Law การใช้กฎหมาย เป็นการปรับข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นเข้ากับตัวบทกฎหมายที่มีอยู่ก่อนแล้ว แบบละเอียดรอบคอบ ในลักษณะไม่ทำลายความเป็นหลักเกณฑ์ทั่วไป
Common Law กฎหมายจะถูกสร้างภายหลังข้อเท็จจริงเป็นการเฉพาะรายไป มีหลัก Stare decisis แต่ก็มี Doctrine of Distinction เป็นข้อยกเว้น (ratio decidendi มีค่าบังคับให้เดินตาม แต่ obiter dictum ไม่)
6. ทฤษฎีการตีความของ Civil Law System ในปัจจุบัน มี การตีความตามหลักภาษา และการตีความตามหลักเหตุผลตามตรรก ซึ่งไม่อาจแยกจากกันได้ต้องตีความตัวอักษรควบคู่เจตนารมณ์ เพราะกฎหมายคือระบบของเหตุผลนั่นเอง เพื่อให้เห็นภาพขอยกตัวอย่างประมวลกฎหมายแพ่งของเยอรมนี (BGB) ที่วางหลักในการตีความว่า ธรรมดาต้องตีความตามตัวอักษรในความหมายธรรมดาคู่ไปกับเหตุผลตามธรรมดา แต่เมื่อกรณีเป็นที่สงสัยก็จะมีการตีความโดยพึ่งพิงประวัติศาสตร์ หาเจตนารมณ์จากตัวบทที่เชื่อมโยงด้วย มีหลักกฎหมายทั่วไปช่วยเกื้อหนุนทำให้กฎหมายไม่ค่อยล้าสมัย ไม่ต้องมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขบ่อยๆ ทั้งสามารถตีความหลักกฎหมายทั่วไปเป็นหลักกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งได้ หากไม่มีเหตุผลพิเศษห้ามเอาไว้
Eugen Huber ก็เคยได้กล่าวไว้ว่า เดิมมีการตีความตามตัวอักษรธรรมดา พอสังคมเปลี่ยนกฎหมายเริ่มมีความซับซ้อนมากขึ้นก็มีการตีความแบบวากยสัมพันธ์ บริบทเข้ามา จนกระทั่งนำเอาเจตนารมณ์มาตีความพร้อมไปด้วยในตอนสุดท้าย
Common Law มีการตีความ 3 รูปแบบหลัก
- ตีความตามตัวอักษร ใช้กับกรณีกฎหมายบัญญัติของรัฐสภา
- ตีความเล็งผลเลิศ กรณีตีความตามตัวอักษรแล้วมันขัดแย้งกับเจตนารมณ์ของกฎหมายเสียจนเกินไป
- ตีความแก้ไขข้อเสีย ใช้กับกรณีกฎหมายบัญญัติของรัฐสภาที่ออกมาแก้ไขข้อบกพร่องของ Common Law คือ ตีความดูเจตนารมณ์ด้วย
7. Civil Law มีรูปแบบการเรียนการสอนแบบทฤษฎี ปูทางด้วยตำรับตำรา จากนักวิชาการในมหาวิทยาลัย คือ มีลักษณะเป็นแบบเหตุผลนิยม ระบบกฎหมายนี้ได้รับการพัฒนาจากนักนิติศาตร์จึงมีโครงสร้างเป็นระเบียบสอดคล้องกัน
อาจกล่าวได้ว่าระบบ Civil Law เป็นระบบแบบแผนแห่งรูปแบบกฎหมายบัญญัติเชิงสารบัญญัติและเป็นระบบกฎหมายของนักนิติศาสตร์
Common Law มีรูปแบบการสอนด้วยคำพิพากษา เป็นโรงเรียนสอนกฎหมาย เน้นการสั่งสมประสบการณ์ในการแยกแยะข้อเท็จจริง เรื่องใดไม่มีค่อยหันกลับไปหากฎหมายบัญญัติ คือ มีลักษณะเชิงประสบการณ์นิยม ระบบกฎหมายนี้ได้มีการพัฒนาโดยนักปฏิบัติอย่างศาล และ เนติบัณฑิตยสภา จึงเป็นการพัฒนาแบบเป็นไปเอง มี Inflation of Law และโครงสร้างไม่ค่อยเป็นระบบระเบียบ จนเคยมีคำกล่าวว่าเป็นระบบแบบ Judge Made Law แต่ช่วงศตวรรตที่ 18 ได้มีการออกมาไขโดย John Holt ว่าอันที่จริงแล้วเป็นแบบ Judge Declared Law ต่างหาก
ไม่ว่าระบบนิติวิธีจะต่างกันแค่ไหน หากสอดคล้องกับปัญหากฎหมายและอำนวยความยุติธรรมได้ แค่นี้ก็เพียงพอแล้ว เรียกว่า แตกต่างได้แต่ไม่แตกแยก
อ้างอิง : นิติวิธีในระบบซิวิลลอร์และคอมมอนลอว์ , กิตติศักดิ์ ปรกติ
2553-01-30
ผลเพียรแห่งการเรียนเปรียบเทียบ
วิชากฎหมายเปรียบเทียบ...วิชานี้ผู้เขียนตั้งใจลงเรียนโดยเฉพาะเพราะชื่นชอบใตัวอาจารย์ผู้สอน
ด้วยความที่เป็นวิชาเลือก ก็ไม่ได้คาดหวังจะได้พบอะไรแปลกตาตื่นใจมากนัก
...แต่หลังจากที่เข้าเรียนแล้ว ไม่รู้จะบรรยายความรู้สึกยังไงดี
เอาเป็นว่า คุ้มยิ่งกว่าคุ้ม ที่ได้ลงเรียน
ถ้าหากไม่ได้ลงแล้วล่ะก็ คงไม่มีทางได้เปิดโลกทรรศน์สุดๆแบบที่ไม่เคยมาก่อน 0,o!
เนื้อหาและวิธีการสอนเหมือนใบเบิกทางเปิดกะลาครอบกบตัวเขียวอย่างผู้เขียนให้ออกไปสู่โลกกว้าง
ที่ชอบสุดๆ คือ การได้รู้ว่า "ระบบ Civil Law ไม่ใช่ระบบกฎหมายนะนิสิต"
ทำเอางงไปพักหนึ่งเลยทีเดียว
....ตายๆ นี่เราเข้าใจผิดกันมากี่ปีแล้วเนี่ย..ดีนะไม่ไปรู้ตอนแก่
เหตุผลที่ระบบ Civil law ไม่ใช่ระบบประมวลกฎหมายนั้น ต้องเริ่มทำความเข้าใจเสียก่อนว่า Civil law หมายความว่าอย่างไร?
ความหมายของ Civil Law สามารถแยกได้เป็น 2 นัย
นัยแรก คือ กฎหมายของพลเมืองโรมัน ที่แต่เดิมในสมัยโรมันเรียกว่า ius civile (ius แปลว่า กฎหมายที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ส่วน civile มาจากคำว่า cives แปลว่า พลเมืองค่ะ เมื่อรวมทั้ง 2 คำเข้าด้วยกันจึงได้ความว่า กฎหมายของพลเมืองนั่นเอง)
กฎหมายนี้โดยหลักแล้วมีเนื้อหาสาระเป็นกฎหมายแพ่ง เพราะในสังคมยุคสมัยโรมันยังไม่มีความสลับซับซ้อนอะไรมากนัก
การติดต่อซื้อขายในรูปแบบยุ่งยากอย่างปัจจุบันยังไม่มี จึงมักออกมาเป็นแต่ในเรื่องกฎหมายที่ใช้กับคนตั้งแต่เกิดจนตาย หรือ กฎหมายแพ่งนั่นเอง
แม้ว่าจะมีการพัฒนา หรือ ถูกจัดรวบรวมเป็นในหลายรูปแบบ เช่น ประมวลกฎหมาย 12 โต๊ะ ประมวลกฎหมายของจักรพรรดิจัสติเนียน แต่ความเป็นกฎหมายแพ่งก็ยังไม่แปรเปลี่ยนไป
นัยที่ 2 หมายถึง ระบบประมวลกฎหมายที่สืบสายมาจากกฎหมายโรมัน ซึ่งระบบนี้เป็นผลพวงจากการศึกษาพัฒนากฎหมายโรมันโดยเฉพาะในส่วน Digest ของประมวลกฎหมายจัสติเนียนโดยพวก Glossators และ Commentators เมื่อประมาณ C12
เมื่อเราได้ทราบความหมายแล้วจะพบว่า การจัดทำประมวลกฎหมายมิได้เป็นเงื่อนไขที่บอกว่าตกอยู่ภายใต้ระบบกฎหมายแบบ Civil Law แต่อย่างใด
เงื่อนไนของการเป็น Civil Law คือ กฎหมายนั้นเป็นกฎหมายที่สืบสายมาจากกฎหมายโรมันหรือไม่ต่างหาก !!!
เห็นได้จากการที่ประเทศที่ตกอยู่ภายใต้ระบบกฎหมาย Civil Law ก็มีประเทศที่ไม่จัดทำประมวลกฎหมาย
แต่ความเข้าที่ผิดเพี้ยนของพวกเราส่วนมากเกิดมาจากการที่ประเทศที่ตกอยู่ภายใต้ระบบกฎหมาย Civil Law
มักมีประมวลกฎหมายนั่นเอง...
(>,< ดีนะที่ตั้งใจเข้าเรียนทุกครั้ง )
สรุปแล้ว บทความนี้สอนให้รู้ว่า อย่าดูถูกสิ่งที่ดูเหมือนไม่มีคุณค่า เพราะสิ่งที่เราเห็นอาจไม่ได้เป็นอย่างที่เราคิด จ้า----555
อ้างอิง : รศ.ดร. ศนันท์กรณ์ โสตถิพันธุ์, ตำราเรียนวิชากฎหมายเปรียบเทียบ และคำบรรยาย ปีการศึกษา 2552 , Chulalongkorn University
ด้วยความที่เป็นวิชาเลือก ก็ไม่ได้คาดหวังจะได้พบอะไรแปลกตาตื่นใจมากนัก
...แต่หลังจากที่เข้าเรียนแล้ว ไม่รู้จะบรรยายความรู้สึกยังไงดี
เอาเป็นว่า คุ้มยิ่งกว่าคุ้ม ที่ได้ลงเรียน
ถ้าหากไม่ได้ลงแล้วล่ะก็ คงไม่มีทางได้เปิดโลกทรรศน์สุดๆแบบที่ไม่เคยมาก่อน 0,o!
เนื้อหาและวิธีการสอนเหมือนใบเบิกทางเปิดกะลาครอบกบตัวเขียวอย่างผู้เขียนให้ออกไปสู่โลกกว้าง
ที่ชอบสุดๆ คือ การได้รู้ว่า "ระบบ Civil Law ไม่ใช่ระบบกฎหมายนะนิสิต"
ทำเอางงไปพักหนึ่งเลยทีเดียว
....ตายๆ นี่เราเข้าใจผิดกันมากี่ปีแล้วเนี่ย..ดีนะไม่ไปรู้ตอนแก่
เหตุผลที่ระบบ Civil law ไม่ใช่ระบบประมวลกฎหมายนั้น ต้องเริ่มทำความเข้าใจเสียก่อนว่า Civil law หมายความว่าอย่างไร?
ความหมายของ Civil Law สามารถแยกได้เป็น 2 นัย
นัยแรก คือ กฎหมายของพลเมืองโรมัน ที่แต่เดิมในสมัยโรมันเรียกว่า ius civile (ius แปลว่า กฎหมายที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ส่วน civile มาจากคำว่า cives แปลว่า พลเมืองค่ะ เมื่อรวมทั้ง 2 คำเข้าด้วยกันจึงได้ความว่า กฎหมายของพลเมืองนั่นเอง)
กฎหมายนี้โดยหลักแล้วมีเนื้อหาสาระเป็นกฎหมายแพ่ง เพราะในสังคมยุคสมัยโรมันยังไม่มีความสลับซับซ้อนอะไรมากนัก
การติดต่อซื้อขายในรูปแบบยุ่งยากอย่างปัจจุบันยังไม่มี จึงมักออกมาเป็นแต่ในเรื่องกฎหมายที่ใช้กับคนตั้งแต่เกิดจนตาย หรือ กฎหมายแพ่งนั่นเอง
แม้ว่าจะมีการพัฒนา หรือ ถูกจัดรวบรวมเป็นในหลายรูปแบบ เช่น ประมวลกฎหมาย 12 โต๊ะ ประมวลกฎหมายของจักรพรรดิจัสติเนียน แต่ความเป็นกฎหมายแพ่งก็ยังไม่แปรเปลี่ยนไป
นัยที่ 2 หมายถึง ระบบประมวลกฎหมายที่สืบสายมาจากกฎหมายโรมัน ซึ่งระบบนี้เป็นผลพวงจากการศึกษาพัฒนากฎหมายโรมันโดยเฉพาะในส่วน Digest ของประมวลกฎหมายจัสติเนียนโดยพวก Glossators และ Commentators เมื่อประมาณ C12
เมื่อเราได้ทราบความหมายแล้วจะพบว่า การจัดทำประมวลกฎหมายมิได้เป็นเงื่อนไขที่บอกว่าตกอยู่ภายใต้ระบบกฎหมายแบบ Civil Law แต่อย่างใด
เงื่อนไนของการเป็น Civil Law คือ กฎหมายนั้นเป็นกฎหมายที่สืบสายมาจากกฎหมายโรมันหรือไม่ต่างหาก !!!
เห็นได้จากการที่ประเทศที่ตกอยู่ภายใต้ระบบกฎหมาย Civil Law ก็มีประเทศที่ไม่จัดทำประมวลกฎหมาย
แต่ความเข้าที่ผิดเพี้ยนของพวกเราส่วนมากเกิดมาจากการที่ประเทศที่ตกอยู่ภายใต้ระบบกฎหมาย Civil Law
มักมีประมวลกฎหมายนั่นเอง...
(>,< ดีนะที่ตั้งใจเข้าเรียนทุกครั้ง )
สรุปแล้ว บทความนี้สอนให้รู้ว่า อย่าดูถูกสิ่งที่ดูเหมือนไม่มีคุณค่า เพราะสิ่งที่เราเห็นอาจไม่ได้เป็นอย่างที่เราคิด จ้า----555
อ้างอิง : รศ.ดร. ศนันท์กรณ์ โสตถิพันธุ์, ตำราเรียนวิชากฎหมายเปรียบเทียบ และคำบรรยาย ปีการศึกษา 2552 , Chulalongkorn University
2553-01-29
กฎหมาย คือ อะไร ?
กฎหมาย คืออะไร
กฎหมาย กฎหมาย กฎหมาย คำๆนี้วนเวียนอยู่รอบตัวเราเสมอทุกวี่วัน จนกลายเป็นธรรมชาติแวดล้อมไปแล้วโดยที่พวกเราทุกคนไม่รู้ตัว
กฎหมาย เป็นคำที่ฟังแล้วสามารถเข้าใจกันได้ทันที แต่หากจะให้นิยามแล้วล่ะก็ คงต้องขอเวลาชั่วครู่...( o,O !)
... แม้แต่ผู้เขียนเองเมื่อประมาณกลางปีที่แล้วโดยไม่ทันตั้งตัวจริงๆ ในคาบเรียนสัมมนากฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ผู้เขียนก็ได้รับคำถาม กฎหมายคืออะไร ?? จากอาจารย์ผู้สอน ...อย่างจังงง
!...เล่นเอาแทบตั้งตัวไม่ติด ท้ายที่สุดแล้วคำตอบก็เล็ดรอดออกมาจากสมองน้อยๆของตัวเอง คือ... คำสั่งคำบัญชาของรัฐาธิปัตย์ ว่าแล้วก็รู้สึกอับอายขายขี้หน้าเล็กน้อย เป็นความหมายที่ผิดงั้นหรือ ? ไม่ใช่...แต่เมื่อประเมินค่ากับฐานะนักเรียนกฎหมายแล้วเราควรสามารถให้คำนิยามได้ดีกว่านี้ T .T…งั้นก็ขอแก้ตัวกับท่านอาจารย์ในวันนี้เสียเลย
กฎหมาย คือ กฎ หรือ ระเบียบที่ควบคุมความประพฤติของมนุษย์ซึ่งผู้มีอำนาจสูงสุด หรือรัฏฐาธิปัตย์เป็นผู้บัญญัติขึ้นเพื่อสร้างความสงบสุขในสังคม หากผู้ใดฝ่าฝืนย่อมได้รับโทษ
นอกจากนี้กฎหมายต้องมีลักษณะ 6 ประการคือ
1.ต้องเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับเพื่อให้บุคคลอีกคนหนึ่งปฏิบัติหรืองดเว้นการปฏิบัติ มิใช่เป็นการประกาศชวนเชิญเฉย ๆ (แบบขอเชิญชวนพ่อแม่พี่น้องงดเหล้าเข้าพรรษาเพื่อเป็นบุญกุศลส่งเสริมตนในชาติหน้า อันนี้ไม่ใช่กฎหมายนะ)
ทั้งนี้โดยมิวัตถุประสงค์เพื่อประคับประคองสันติสุขแห่งสังคม
2. ต้องเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่มาจากรัฏฐาธิปัตย์ (ผู้มีอำนาจสูงสุดในแผ่นดิน อาจเป็นในรูปหมู่คณะก็ได้) ดังนี้ รัฎฐาธิปัตย์จึงไม่ต้องพิจารณาถึงที่มาหรือลักษณะการได้อำนาจว่าจะได้อย่างไร
3. ต้องเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่ใช้ได้ทั่วไป คือ ใช้กับทุกผู้ทุกคนอย่างเสมอภาค ไม่เลือกปฏิบัติว่า กฎหมายนี้ใช้แต่กับผู้หญิง หรือ ผู้ชายเท่านั้น ทั้งนี้คำว่า เสมอภาค หมายรวมถึงกรณีที่บังคับใช้กับบุคคลที่อยู่ในฐานะ หรือ เงื่อนไขอย่างเดียวกัน โดยเท่าเทียมกันด้วย เพราะ บางกฎหมายก็ไม่ได้มีวัตถุประสงค์ออกมาเพื่อประโยชน์แก่ประชาชนทุกผู้นะคะ
4. บัญญัติขึ้นเพื่อให้บุคคลตามกฎหมายปฏิบัติตาม (เพราะบัญญัติขึ้นเพื่อควบคุมความประพฤติของมนุษย์ และที่สำคัญมีแต่มนุษย์ที่เข้าใจภาษามนุษย์ :P) อย่างไรก็ดีแม้จะไม่ใช้บังคับแก่สัตว์ แต่ก็มีความจำเป็นที่จะต้องควบคุมมิให้สัตว์ก่อความเสียหายหรือความเดือดร้อนรำคาญ ไม่เช่นนั้นแล้วอาจเป็นช่องโหว่ของกฎหมายที่มนุษย์จะอาศัยสัตว์ในการกระทำความผิด หรือ ปฎิเสธความรับผิดชอบของอันพึงมีตนในฐานะเจ้าของสัตว์ได้
ดังนี้จึงมีกฎหมายที่กำหนดความรับผิดไว้กับบุคคลผู้เป็นเจ้าของที่ปล่อยปละละเลยสัตว์ของตนด้วย เช่น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 433 บัญญัติว่า “ถ้าความเสียหายเกิดขึ้นเพราะสัตว์ ท่านว่าเจ้าของสัตว์หรือบุคคลผู้รับเลี้ยงรับรักษาไว้แทนเจ้าของ จำต้องใช้คำเสียหายทดแทนให้แก่ฝ่ายที่ต้องเสียหาย”
5. ต้องมีสภาพบังคับ (SANCTION) เพื่อให้เกิดความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมาย
6. เป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น คือ ต้องสอดคล้องกับขนบธรรมเนียม วัฒนธรรมประจำถิ่นนั้น
ยกตัวอย่างเช่น เทศบาลเมืองเชียงรายจะออกเทศบัญญัติให้ประชาชนในท้องถิ่นสร้างบ้านเรือนถอยร่นจากชายหาดไป 20 เมตร อันนี้ก็คงไม่ได้ เพราะ ที่เชียงรายไม่มีทะเล >,<
มีข้อควรสังเกตว่า เมื่อกฎหมายประกาศมีผลบังคับใช้แล้วก็ใช้ได้ตลอดไป จนกว่าจะถูกแก้ไขเพิ่มเติมหรือถูกยกเลิก หากไม่มีการยกเลิกก็มีผลบังคับใช้ได้เสมอ ดังสุภาษิตที่ว่า “นกฎหมายนอนหลับบางคราวแต่ไม่เคยตาย” (THELAW SOMETIMESSLEEP, NEVER DIE) นอกจากนี้กฎหมายที่ดีควรมีลักษณะยืดหยุ่นได้ คือ ปรับเปลี่ยนไปตามเวลาและสถานการณ์ได้ด้วย
เมื่อเปรียบเทียบกับกฎเกณฑ์แห่งศีลธรรมแล้ว จึงพบว่ามีลักษณะที่แตกต่างกันในเรื่อง
1. ผู้ออกกฎ กฎหมายมีรัฐาธิปัตย์เป็นผู้ออก ในขณะที่กฎเกณฑ์แห่งศีลธรรมมีศาสดาเป็นผู้ออก
2. ข้อบังคับและสภาพบังคับ กฎเกณฑ์แห่งศีลธรรมมีลักษณะเป็นแค่ข้อเสอะแนะ ไม่ใช่บังคับและไม่มีโทษหากฝ่าฝืน
ถึงแม้จะมีความผิดแผกระหว่างกฎเกณฑ์แห่งศีลธรรมและกฎหมาย แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าทั้งสองสิ่งจะมาบรรจบกันในรูปแบบของ "กฎหมาย"ไม่ได้...
กฎเกณฑ์แห่งศีลธรรมบางอย่างก็ถูกหยิบยืมมาใช้เป็นกฎหมายเหมือนกัน (Mala in se) เช่น ห้ามผู้ใดฆ่าผู้อื่น ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288
(ข้อห้ามทางกฎหมายที่มิอาจบรรจบกับกฎเกณฑ์แห่งศีลธรรมได้ เราเรียกว่า Mala prohibita คือ ผิด เพราะ กฎหมายห้ามเท่านั้น มิใช่เพราะ กฎเกณฑ์แห่งศีลธรรม)
อ้างอิง :คำบรรยายเนติบัณฑิตยสภา (ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เรวัต ฉ่ำเฉลิม )
http://eportfolio.hu.ac.th/
กฎหมาย กฎหมาย กฎหมาย คำๆนี้วนเวียนอยู่รอบตัวเราเสมอทุกวี่วัน จนกลายเป็นธรรมชาติแวดล้อมไปแล้วโดยที่พวกเราทุกคนไม่รู้ตัว
กฎหมาย เป็นคำที่ฟังแล้วสามารถเข้าใจกันได้ทันที แต่หากจะให้นิยามแล้วล่ะก็ คงต้องขอเวลาชั่วครู่...( o,O !)
... แม้แต่ผู้เขียนเองเมื่อประมาณกลางปีที่แล้วโดยไม่ทันตั้งตัวจริงๆ ในคาบเรียนสัมมนากฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ผู้เขียนก็ได้รับคำถาม กฎหมายคืออะไร ?? จากอาจารย์ผู้สอน ...อย่างจังงง
!...เล่นเอาแทบตั้งตัวไม่ติด ท้ายที่สุดแล้วคำตอบก็เล็ดรอดออกมาจากสมองน้อยๆของตัวเอง คือ... คำสั่งคำบัญชาของรัฐาธิปัตย์ ว่าแล้วก็รู้สึกอับอายขายขี้หน้าเล็กน้อย เป็นความหมายที่ผิดงั้นหรือ ? ไม่ใช่...แต่เมื่อประเมินค่ากับฐานะนักเรียนกฎหมายแล้วเราควรสามารถให้คำนิยามได้ดีกว่านี้ T .T…งั้นก็ขอแก้ตัวกับท่านอาจารย์ในวันนี้เสียเลย
กฎหมาย คือ กฎ หรือ ระเบียบที่ควบคุมความประพฤติของมนุษย์ซึ่งผู้มีอำนาจสูงสุด หรือรัฏฐาธิปัตย์เป็นผู้บัญญัติขึ้นเพื่อสร้างความสงบสุขในสังคม หากผู้ใดฝ่าฝืนย่อมได้รับโทษ
นอกจากนี้กฎหมายต้องมีลักษณะ 6 ประการคือ
1.ต้องเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับเพื่อให้บุคคลอีกคนหนึ่งปฏิบัติหรืองดเว้นการปฏิบัติ มิใช่เป็นการประกาศชวนเชิญเฉย ๆ (แบบขอเชิญชวนพ่อแม่พี่น้องงดเหล้าเข้าพรรษาเพื่อเป็นบุญกุศลส่งเสริมตนในชาติหน้า อันนี้ไม่ใช่กฎหมายนะ)
ทั้งนี้โดยมิวัตถุประสงค์เพื่อประคับประคองสันติสุขแห่งสังคม
2. ต้องเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่มาจากรัฏฐาธิปัตย์ (ผู้มีอำนาจสูงสุดในแผ่นดิน อาจเป็นในรูปหมู่คณะก็ได้) ดังนี้ รัฎฐาธิปัตย์จึงไม่ต้องพิจารณาถึงที่มาหรือลักษณะการได้อำนาจว่าจะได้อย่างไร
3. ต้องเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่ใช้ได้ทั่วไป คือ ใช้กับทุกผู้ทุกคนอย่างเสมอภาค ไม่เลือกปฏิบัติว่า กฎหมายนี้ใช้แต่กับผู้หญิง หรือ ผู้ชายเท่านั้น ทั้งนี้คำว่า เสมอภาค หมายรวมถึงกรณีที่บังคับใช้กับบุคคลที่อยู่ในฐานะ หรือ เงื่อนไขอย่างเดียวกัน โดยเท่าเทียมกันด้วย เพราะ บางกฎหมายก็ไม่ได้มีวัตถุประสงค์ออกมาเพื่อประโยชน์แก่ประชาชนทุกผู้นะคะ
4. บัญญัติขึ้นเพื่อให้บุคคลตามกฎหมายปฏิบัติตาม (เพราะบัญญัติขึ้นเพื่อควบคุมความประพฤติของมนุษย์ และที่สำคัญมีแต่มนุษย์ที่เข้าใจภาษามนุษย์ :P) อย่างไรก็ดีแม้จะไม่ใช้บังคับแก่สัตว์ แต่ก็มีความจำเป็นที่จะต้องควบคุมมิให้สัตว์ก่อความเสียหายหรือความเดือดร้อนรำคาญ ไม่เช่นนั้นแล้วอาจเป็นช่องโหว่ของกฎหมายที่มนุษย์จะอาศัยสัตว์ในการกระทำความผิด หรือ ปฎิเสธความรับผิดชอบของอันพึงมีตนในฐานะเจ้าของสัตว์ได้
ดังนี้จึงมีกฎหมายที่กำหนดความรับผิดไว้กับบุคคลผู้เป็นเจ้าของที่ปล่อยปละละเลยสัตว์ของตนด้วย เช่น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 433 บัญญัติว่า “ถ้าความเสียหายเกิดขึ้นเพราะสัตว์ ท่านว่าเจ้าของสัตว์หรือบุคคลผู้รับเลี้ยงรับรักษาไว้แทนเจ้าของ จำต้องใช้คำเสียหายทดแทนให้แก่ฝ่ายที่ต้องเสียหาย”
5. ต้องมีสภาพบังคับ (SANCTION) เพื่อให้เกิดความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมาย
6. เป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น คือ ต้องสอดคล้องกับขนบธรรมเนียม วัฒนธรรมประจำถิ่นนั้น
ยกตัวอย่างเช่น เทศบาลเมืองเชียงรายจะออกเทศบัญญัติให้ประชาชนในท้องถิ่นสร้างบ้านเรือนถอยร่นจากชายหาดไป 20 เมตร อันนี้ก็คงไม่ได้ เพราะ ที่เชียงรายไม่มีทะเล >,<
มีข้อควรสังเกตว่า เมื่อกฎหมายประกาศมีผลบังคับใช้แล้วก็ใช้ได้ตลอดไป จนกว่าจะถูกแก้ไขเพิ่มเติมหรือถูกยกเลิก หากไม่มีการยกเลิกก็มีผลบังคับใช้ได้เสมอ ดังสุภาษิตที่ว่า “นกฎหมายนอนหลับบางคราวแต่ไม่เคยตาย” (THELAW SOMETIMESSLEEP, NEVER DIE) นอกจากนี้กฎหมายที่ดีควรมีลักษณะยืดหยุ่นได้ คือ ปรับเปลี่ยนไปตามเวลาและสถานการณ์ได้ด้วย
เมื่อเปรียบเทียบกับกฎเกณฑ์แห่งศีลธรรมแล้ว จึงพบว่ามีลักษณะที่แตกต่างกันในเรื่อง
1. ผู้ออกกฎ กฎหมายมีรัฐาธิปัตย์เป็นผู้ออก ในขณะที่กฎเกณฑ์แห่งศีลธรรมมีศาสดาเป็นผู้ออก
2. ข้อบังคับและสภาพบังคับ กฎเกณฑ์แห่งศีลธรรมมีลักษณะเป็นแค่ข้อเสอะแนะ ไม่ใช่บังคับและไม่มีโทษหากฝ่าฝืน
ถึงแม้จะมีความผิดแผกระหว่างกฎเกณฑ์แห่งศีลธรรมและกฎหมาย แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าทั้งสองสิ่งจะมาบรรจบกันในรูปแบบของ "กฎหมาย"ไม่ได้...
กฎเกณฑ์แห่งศีลธรรมบางอย่างก็ถูกหยิบยืมมาใช้เป็นกฎหมายเหมือนกัน (Mala in se) เช่น ห้ามผู้ใดฆ่าผู้อื่น ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288
(ข้อห้ามทางกฎหมายที่มิอาจบรรจบกับกฎเกณฑ์แห่งศีลธรรมได้ เราเรียกว่า Mala prohibita คือ ผิด เพราะ กฎหมายห้ามเท่านั้น มิใช่เพราะ กฎเกณฑ์แห่งศีลธรรม)
อ้างอิง :คำบรรยายเนติบัณฑิตยสภา (ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เรวัต ฉ่ำเฉลิม )
http://eportfolio.hu.ac.th/
2553-01-28
บทนำ : เปิดตัว
จำได้ว่าเมื่อไม่นานนี้ผู้เขียนเพิ่งจะทำการสอบ admission จนเข้าสู่มหาลัยที่ใฝ่ฝันได้
แต่พอลองมาคำนวณดูอีกที อืม...ก็ผ่านมาเกือบ 4 แล้วนะเนี่ย
ความรู้สึกแรกที่ก้าวเข้ามาเรียนในฐานะนักเรียนกฎหมายยังจำได้ไม่ลืม
...เริ่มจากตื่นเต้นเมื่อรู้ผลประกาศสอบจนนอนไม่หลับ
เห่อกับเสื้อผ้านิสิตที่ไม่เคยใส่มาก่อน
กับตำราเล่มใหม่ๆที่ไม่คุ้นเคย "เหย...เยอะขนาดนี้เชียว"
...เรียนๆ เล่นๆ มาชั่วอึดใจ อ้าว...นี่เราจะจบปริญญาตรีแล้ว...!
จะครบ 4 ปีแล้ววววว....
...
ตอนแรกๆ ผู้เขียนก็อดน้อยใจไม่ได้ว่าทำไมสถาบันที่เราศึกษาจึงไม่ยอมให้เราเรียนจบได้ใน 3 ปี หรือ 3 ปีครึ่งอย่างมหาลัยอื่นเสียบ้าง
จะได้ใช้เวลาที่เพิ่มเพื่อทดเวลาในการเรียนในระดับต่อยอดขึ้นไป
มาวันนี้ผู้เขียนกลับไม่ได้รู้สึกแบบเคย กลับรู้สึกภาคภูมิเสียมากกว่า
เพราะมันคุ้มค่าเหลือเกินกับเวลาที่เราใช้ลงทุนเรียนที่นี่...
ได้พบครูบาที่ทรงคุณวุฒิ เปี่ยมด้วยประสิทธิภาพ
ได้เปิดโลกทรรศ์ใหม่ๆ
ตลอดจนได้พบมิตรภาพที่หาที่ไหนไม่ได้อีกแล้ว...
สำหรับการจัดทำ blog นี้ ผู้เขียนมีวัตถุประสงค์ในการรวบรวมทบทวนความรู้ที่ได้ร่ำเรียนมา
และเผยแพร่แก่ผู้อ่านอื่นทั้งหลายเพื่อสานต่อบทเรียนกันเรื่อยไป
หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะมีประโยชน์แก่ผู้อ่านไม่บ้างก็น้อย (เหมือนกำลังเขียนคำนำในรายงานเลยแฮะ)
ท้ายที่สุด ขอขอบพระคุณบุพการีทุกท่านที่ได้ก่อร่างสร้างผู้เขียนให้มาเป็นผู้เขียนได้อย่างทุกวันนี้ ^ ^
แต่พอลองมาคำนวณดูอีกที อืม...ก็ผ่านมาเกือบ 4 แล้วนะเนี่ย
ความรู้สึกแรกที่ก้าวเข้ามาเรียนในฐานะนักเรียนกฎหมายยังจำได้ไม่ลืม
...เริ่มจากตื่นเต้นเมื่อรู้ผลประกาศสอบจนนอนไม่หลับ
เห่อกับเสื้อผ้านิสิตที่ไม่เคยใส่มาก่อน
กับตำราเล่มใหม่ๆที่ไม่คุ้นเคย "เหย...เยอะขนาดนี้เชียว"
...เรียนๆ เล่นๆ มาชั่วอึดใจ อ้าว...นี่เราจะจบปริญญาตรีแล้ว...!
จะครบ 4 ปีแล้ววววว....
...
ตอนแรกๆ ผู้เขียนก็อดน้อยใจไม่ได้ว่าทำไมสถาบันที่เราศึกษาจึงไม่ยอมให้เราเรียนจบได้ใน 3 ปี หรือ 3 ปีครึ่งอย่างมหาลัยอื่นเสียบ้าง
จะได้ใช้เวลาที่เพิ่มเพื่อทดเวลาในการเรียนในระดับต่อยอดขึ้นไป
มาวันนี้ผู้เขียนกลับไม่ได้รู้สึกแบบเคย กลับรู้สึกภาคภูมิเสียมากกว่า
เพราะมันคุ้มค่าเหลือเกินกับเวลาที่เราใช้ลงทุนเรียนที่นี่...
ได้พบครูบาที่ทรงคุณวุฒิ เปี่ยมด้วยประสิทธิภาพ
ได้เปิดโลกทรรศ์ใหม่ๆ
ตลอดจนได้พบมิตรภาพที่หาที่ไหนไม่ได้อีกแล้ว...
สำหรับการจัดทำ blog นี้ ผู้เขียนมีวัตถุประสงค์ในการรวบรวมทบทวนความรู้ที่ได้ร่ำเรียนมา
และเผยแพร่แก่ผู้อ่านอื่นทั้งหลายเพื่อสานต่อบทเรียนกันเรื่อยไป
หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะมีประโยชน์แก่ผู้อ่านไม่บ้างก็น้อย (เหมือนกำลังเขียนคำนำในรายงานเลยแฮะ)
ท้ายที่สุด ขอขอบพระคุณบุพการีทุกท่านที่ได้ก่อร่างสร้างผู้เขียนให้มาเป็นผู้เขียนได้อย่างทุกวันนี้ ^ ^
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)