อาชญากรรมเป็นปรากฏการณ์ธรรมดาของทุกสังคม แต่อาจมีรูปแบบที่เปลี่ยนแปลงไปตามพัฒนาการของสังคมนั้นๆ
เนื่องจากสังคมได้พัฒนาตนเองไปไม่หยุดยั้ง รูปแบบอาชญากรรมพัฒนามากขึ้นหลากหลาย ซับซ้อนมากขึ้น
มีการเอาลักษณะของก.ประกอบธุรกิจ/ เทคโนโลยีรูปแบบต่างๆมาผสมผสานกับการกระทำผิดจนยากในการบังคับใช้กฎหมาย
บางครั้งมีการดำเนินงานเป็นเครือข่าย
การจำแนกประเภทอาชญากรรมในสังคมโดยจำแนกตามลักษณะพฤติกรรมของอาชญากรรม มีดังนี้
1. Occasional crime เกิดโดยไม่เจตนาที่จะฝ่าฝืนกฎเกณฑ์ บางครั้งไม่รู้สึกว่าตนได้ก่ออาชญากรรม เช่น ป้องกันตัวเกินสมควรแก่เหตุ ถ้าวิเคราะห์เชิงกฎหมายอาญาคนประเภทนี้ยังไม่ควรเรียกอาชญากรเนื่องจากขาดเจตนาร้าย
2. Habitual crime มักเกิดจากบุคคลที่ ไม้สามารถปรับตัวให้เข้ากับมาตรฐานสังคมได้ แม้ถูกลงโทษก็จะกลับมาทำผิดซ้ำอีก
3. Street crime อาชญากรรมธรรมดา หรือ อาชญากรรมพื้นฐาน มีในทุกสังคมตั้งแต่โบราณเกิดขึ้นเพื่อสนองความต้องการของตน เช่น ลักทรัพย์
4. Violent crime อาชญากรรมที่ใช้ความรุนแรง
5. Professional crime มักแฝงตนอยู่ในสังคมเมืองที่มีชีวิตความเป็นอยู่สะดวกสบาย มีการใช้เทคนิค ความชำนาญ ไม่นิยมปฏิบัติด้วยความรุนแรง
6. Political crime มีการบริหารงานของกลุ่มอาชญากรรม ได้รับอิทธิพลทางการเงิน อภิสิทธิ์บางอย่าง ได้แก่ การกบฏ การกระทำที่เป็นความผิดต่อความมั่นคง วงการเมืองเองก็มีการกระทำผิดทางเศรษฐกิจปนอยู่มาก มักดำรง 2 ฐานะ คือ ฐานะที่ได้รับเลือกมาจากความไว้วางใจของประชาชน และฐานะของโจรใส่สูท
7. White collar crime มักเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียง มีหน้าตา ฐานะในสังคม เรียกอีกชื่อว่า occupational crime ถือเป็นการทำผิดต่อความไว้วางใจ
8. Organized crime คณะบุคคลรวมตัวเข้าเป็งองค์การ มีการดำเนินงานอย่างเป็นแบบแผน แบ่งหน้าที่ประกอบกิจการที่ผิดกฎหมายเพื่อให้ได้เงินมาจากการทุจริต เป็นอาชญากรรมประเภทร้ายแรง สังคมมีปฏิกิริยาต่อต้านพฤติกรรมดังกล่าว แต่กมฎหมายเอื้อมไม่ถึง เนื่องจากมีอิทธิพลทางการเงิน การเมือง มักพัฒนาเป็นอาชญากรรมข้ามชาติ
^^ โฮ่ๆ ยังพอจำได้ หวังว่าอาจารย์คงจะให้เกรด A อีกครั้งนะคะ
อ้างอิง : อาชญากรรมทางเศรษฐกิจ , วีระพงษ์ บุญโญภาส
2553-02-27
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
งั้นเหตุกาณ์วันที่๒๖ที่ผ่านมาเนี่ย ก็เป็น Organized crime ชิมิเคอะ อุอุอุ
ตอบลบ