Searh

2553-01-30

ผลเพียรแห่งการเรียนเปรียบเทียบ

วิชากฎหมายเปรียบเทียบ...วิชานี้ผู้เขียนตั้งใจลงเรียนโดยเฉพาะเพราะชื่นชอบใตัวอาจารย์ผู้สอน

ด้วยความที่เป็นวิชาเลือก ก็ไม่ได้คาดหวังจะได้พบอะไรแปลกตาตื่นใจมากนัก

...แต่หลังจากที่เข้าเรียนแล้ว ไม่รู้จะบรรยายความรู้สึกยังไงดี

เอาเป็นว่า คุ้มยิ่งกว่าคุ้ม ที่ได้ลงเรียน รูปสวย น่ารัก glitter emoticon www.yenta4.com


ถ้าหากไม่ได้ลงแล้วล่ะก็ คงไม่มีทางได้เปิดโลกทรรศน์สุดๆแบบที่ไม่เคยมาก่อน 0,o!

เนื้อหาและวิธีการสอนเหมือนใบเบิกทางเปิดกะลาครอบกบตัวเขียวอย่างผู้เขียนให้ออกไปสู่โลกกว้าง

ที่ชอบสุดๆ คือ การได้รู้ว่า "ระบบ Civil Law ไม่ใช่ระบบกฎหมายนะนิสิต"

ทำเอางงไปพักหนึ่งเลยทีเดียว รูปสวย น่ารัก glitter emoticon www.yenta4.com


....ตายๆ นี่เราเข้าใจผิดกันมากี่ปีแล้วเนี่ย..ดีนะไม่ไปรู้ตอนแก่

เหตุผลที่ระบบ Civil law ไม่ใช่ระบบประมวลกฎหมายนั้น ต้องเริ่มทำความเข้าใจเสียก่อนว่า Civil law หมายความว่าอย่างไร?

ความหมายของ Civil Law สามารถแยกได้เป็น 2 นัย

นัยแรก คือ กฎหมายของพลเมืองโรมัน ที่แต่เดิมในสมัยโรมันเรียกว่า ius civile (ius แปลว่า กฎหมายที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ส่วน civile มาจากคำว่า cives แปลว่า พลเมืองค่ะ เมื่อรวมทั้ง 2 คำเข้าด้วยกันจึงได้ความว่า กฎหมายของพลเมืองนั่นเอง)

กฎหมายนี้โดยหลักแล้วมีเนื้อหาสาระเป็นกฎหมายแพ่ง เพราะในสังคมยุคสมัยโรมันยังไม่มีความสลับซับซ้อนอะไรมากนัก

การติดต่อซื้อขายในรูปแบบยุ่งยากอย่างปัจจุบันยังไม่มี จึงมักออกมาเป็นแต่ในเรื่องกฎหมายที่ใช้กับคนตั้งแต่เกิดจนตาย หรือ กฎหมายแพ่งนั่นเอง

แม้ว่าจะมีการพัฒนา หรือ ถูกจัดรวบรวมเป็นในหลายรูปแบบ เช่น ประมวลกฎหมาย 12 โต๊ะ ประมวลกฎหมายของจักรพรรดิจัสติเนียน แต่ความเป็นกฎหมายแพ่งก็ยังไม่แปรเปลี่ยนไป

นัยที่ 2 หมายถึง ระบบประมวลกฎหมายที่สืบสายมาจากกฎหมายโรมัน ซึ่งระบบนี้เป็นผลพวงจากการศึกษาพัฒนากฎหมายโรมันโดยเฉพาะในส่วน Digest ของประมวลกฎหมายจัสติเนียนโดยพวก Glossators และ Commentators เมื่อประมาณ C12


เมื่อเราได้ทราบความหมายแล้วจะพบว่า การจัดทำประมวลกฎหมายมิได้เป็นเงื่อนไขที่บอกว่าตกอยู่ภายใต้ระบบกฎหมายแบบ Civil Law แต่อย่างใด

เงื่อนไนของการเป็น Civil Law คือ กฎหมายนั้นเป็นกฎหมายที่สืบสายมาจากกฎหมายโรมันหรือไม่ต่างหาก !!!

เห็นได้จากการที่ประเทศที่ตกอยู่ภายใต้ระบบกฎหมาย Civil Law ก็มีประเทศที่ไม่จัดทำประมวลกฎหมาย

แต่ความเข้าที่ผิดเพี้ยนของพวกเราส่วนมากเกิดมาจากการที่ประเทศที่ตกอยู่ภายใต้ระบบกฎหมาย Civil Law

มักมีประมวลกฎหมายนั่นเอง...

รูปสวย น่ารัก glitter emoticon www.yenta4.com


(>,< ดีนะที่ตั้งใจเข้าเรียนทุกครั้ง )

สรุปแล้ว บทความนี้สอนให้รู้ว่า อย่าดูถูกสิ่งที่ดูเหมือนไม่มีคุณค่า เพราะสิ่งที่เราเห็นอาจไม่ได้เป็นอย่างที่เราคิด จ้า----555

อ้างอิง : รศ.ดร. ศนันท์กรณ์ โสตถิพันธุ์, ตำราเรียนวิชากฎหมายเปรียบเทียบ และคำบรรยาย ปีการศึกษา 2552 , Chulalongkorn University

2553-01-29

กฎหมาย คือ อะไร ?

กฎหมาย คืออะไร

กฎหมาย กฎหมาย กฎหมาย คำๆนี้วนเวียนอยู่รอบตัวเราเสมอทุกวี่วัน จนกลายเป็นธรรมชาติแวดล้อมไปแล้วโดยที่พวกเราทุกคนไม่รู้ตัว
กฎหมาย เป็นคำที่ฟังแล้วสามารถเข้าใจกันได้ทันที แต่หากจะให้นิยามแล้วล่ะก็ คงต้องขอเวลาชั่วครู่...( o,O !)

... แม้แต่ผู้เขียนเองเมื่อประมาณกลางปีที่แล้วโดยไม่ทันตั้งตัวจริงๆ ในคาบเรียนสัมมนากฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ผู้เขียนก็ได้รับคำถาม กฎหมายคืออะไร ?? จากอาจารย์ผู้สอน ...อย่างจังงง รูปสวย น่ารัก glitter emoticon www.yenta4.com
!...เล่นเอาแทบตั้งตัวไม่ติด ท้ายที่สุดแล้วคำตอบก็เล็ดรอดออกมาจากสมองน้อยๆของตัวเอง คือ... คำสั่งคำบัญชาของรัฐาธิปัตย์ ว่าแล้วก็รู้สึกอับอายขายขี้หน้าเล็กน้อย เป็นความหมายที่ผิดงั้นหรือ ? ไม่ใช่...แต่เมื่อประเมินค่ากับฐานะนักเรียนกฎหมายแล้วเราควรสามารถให้คำนิยามได้ดีกว่านี้ T .T…งั้นก็ขอแก้ตัวกับท่านอาจารย์ในวันนี้เสียเลย

กฎหมาย คือ กฎ หรือ ระเบียบที่ควบคุมความประพฤติของมนุษย์ซึ่งผู้มีอำนาจสูงสุด หรือรัฏฐาธิปัตย์เป็นผู้บัญญัติขึ้นเพื่อสร้างความสงบสุขในสังคม หากผู้ใดฝ่าฝืนย่อมได้รับโทษ

นอกจากนี้กฎหมายต้องมีลักษณะ 6 ประการคือ

1.ต้องเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับเพื่อให้บุคคลอีกคนหนึ่งปฏิบัติหรืองดเว้นการปฏิบัติ มิใช่เป็นการประกาศชวนเชิญเฉย ๆ (แบบขอเชิญชวนพ่อแม่พี่น้องงดเหล้าเข้าพรรษาเพื่อเป็นบุญกุศลส่งเสริมตนในชาติหน้า อันนี้ไม่ใช่กฎหมายนะ)

ทั้งนี้โดยมิวัตถุประสงค์เพื่อประคับประคองสันติสุขแห่งสังคม

2. ต้องเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่มาจากรัฏฐาธิปัตย์ (ผู้มีอำนาจสูงสุดในแผ่นดิน อาจเป็นในรูปหมู่คณะก็ได้) ดังนี้ รัฎฐาธิปัตย์จึงไม่ต้องพิจารณาถึงที่มาหรือลักษณะการได้อำนาจว่าจะได้อย่างไร

3. ต้องเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่ใช้ได้ทั่วไป คือ ใช้กับทุกผู้ทุกคนอย่างเสมอภาค ไม่เลือกปฏิบัติว่า กฎหมายนี้ใช้แต่กับผู้หญิง หรือ ผู้ชายเท่านั้น ทั้งนี้คำว่า เสมอภาค หมายรวมถึงกรณีที่บังคับใช้กับบุคคลที่อยู่ในฐานะ หรือ เงื่อนไขอย่างเดียวกัน โดยเท่าเทียมกันด้วย เพราะ บางกฎหมายก็ไม่ได้มีวัตถุประสงค์ออกมาเพื่อประโยชน์แก่ประชาชนทุกผู้นะคะ

4. บัญญัติขึ้นเพื่อให้บุคคลตามกฎหมายปฏิบัติตาม (เพราะบัญญัติขึ้นเพื่อควบคุมความประพฤติของมนุษย์ และที่สำคัญมีแต่มนุษย์ที่เข้าใจภาษามนุษย์ :P) อย่างไรก็ดีแม้จะไม่ใช้บังคับแก่สัตว์ แต่ก็มีความจำเป็นที่จะต้องควบคุมมิให้สัตว์ก่อความเสียหายหรือความเดือดร้อนรำคาญ ไม่เช่นนั้นแล้วอาจเป็นช่องโหว่ของกฎหมายที่มนุษย์จะอาศัยสัตว์ในการกระทำความผิด หรือ ปฎิเสธความรับผิดชอบของอันพึงมีตนในฐานะเจ้าของสัตว์ได้

ดังนี้จึงมีกฎหมายที่กำหนดความรับผิดไว้กับบุคคลผู้เป็นเจ้าของที่ปล่อยปละละเลยสัตว์ของตนด้วย เช่น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 433 บัญญัติว่า “ถ้าความเสียหายเกิดขึ้นเพราะสัตว์ ท่านว่าเจ้าของสัตว์หรือบุคคลผู้รับเลี้ยงรับรักษาไว้แทนเจ้าของ จำต้องใช้คำเสียหายทดแทนให้แก่ฝ่ายที่ต้องเสียหาย”

5. ต้องมีสภาพบังคับ (SANCTION) เพื่อให้เกิดความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมาย

6. เป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น คือ ต้องสอดคล้องกับขนบธรรมเนียม วัฒนธรรมประจำถิ่นนั้น

ยกตัวอย่างเช่น เทศบาลเมืองเชียงรายจะออกเทศบัญญัติให้ประชาชนในท้องถิ่นสร้างบ้านเรือนถอยร่นจากชายหาดไป 20 เมตร อันนี้ก็คงไม่ได้ เพราะ ที่เชียงรายไม่มีทะเล >,<


มีข้อควรสังเกตว่า เมื่อกฎหมายประกาศมีผลบังคับใช้แล้วก็ใช้ได้ตลอดไป จนกว่าจะถูกแก้ไขเพิ่มเติมหรือถูกยกเลิก หากไม่มีการยกเลิกก็มีผลบังคับใช้ได้เสมอ ดังสุภาษิตที่ว่า “นกฎหมายนอนหลับบางคราวแต่ไม่เคยตาย” (THELAW SOMETIMESSLEEP, NEVER DIE) นอกจากนี้กฎหมายที่ดีควรมีลักษณะยืดหยุ่นได้ คือ ปรับเปลี่ยนไปตามเวลาและสถานการณ์ได้ด้วย


เมื่อเปรียบเทียบกับกฎเกณฑ์แห่งศีลธรรมแล้ว จึงพบว่ามีลักษณะที่แตกต่างกันในเรื่อง

1. ผู้ออกกฎ กฎหมายมีรัฐาธิปัตย์เป็นผู้ออก ในขณะที่กฎเกณฑ์แห่งศีลธรรมมีศาสดาเป็นผู้ออก

2. ข้อบังคับและสภาพบังคับ กฎเกณฑ์แห่งศีลธรรมมีลักษณะเป็นแค่ข้อเสอะแนะ ไม่ใช่บังคับและไม่มีโทษหากฝ่าฝืน



ถึงแม้จะมีความผิดแผกระหว่างกฎเกณฑ์แห่งศีลธรรมและกฎหมาย แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าทั้งสองสิ่งจะมาบรรจบกันในรูปแบบของ "กฎหมาย"ไม่ได้...

กฎเกณฑ์แห่งศีลธรรมบางอย่างก็ถูกหยิบยืมมาใช้เป็นกฎหมายเหมือนกัน (Mala in se) เช่น ห้ามผู้ใดฆ่าผู้อื่น ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288

(ข้อห้ามทางกฎหมายที่มิอาจบรรจบกับกฎเกณฑ์แห่งศีลธรรมได้ เราเรียกว่า Mala prohibita คือ ผิด เพราะ กฎหมายห้ามเท่านั้น มิใช่เพราะ กฎเกณฑ์แห่งศีลธรรม)




อ้างอิง :คำบรรยายเนติบัณฑิตยสภา (ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เรวัต ฉ่ำเฉลิม )
http://eportfolio.hu.ac.th/

2553-01-28

บทนำ : เปิดตัว

จำได้ว่าเมื่อไม่นานนี้ผู้เขียนเพิ่งจะทำการสอบ admission จนเข้าสู่มหาลัยที่ใฝ่ฝันได้

แต่พอลองมาคำนวณดูอีกที อืม...ก็ผ่านมาเกือบ 4 แล้วนะเนี่ย

รูปสวย น่ารัก glitter emoticon www.yenta4.com



ความรู้สึกแรกที่ก้าวเข้ามาเรียนในฐานะนักเรียนกฎหมายยังจำได้ไม่ลืม

...เริ่มจากตื่นเต้นเมื่อรู้ผลประกาศสอบจนนอนไม่หลับ

เห่อกับเสื้อผ้านิสิตที่ไม่เคยใส่มาก่อน

กับตำราเล่มใหม่ๆที่ไม่คุ้นเคย "เหย...เยอะขนาดนี้เชียว"

...เรียนๆ เล่นๆ มาชั่วอึดใจ อ้าว...นี่เราจะจบปริญญาตรีแล้ว...!

จะครบ 4 ปีแล้ววววว....

...

ตอนแรกๆ ผู้เขียนก็อดน้อยใจไม่ได้ว่าทำไมสถาบันที่เราศึกษาจึงไม่ยอมให้เราเรียนจบได้ใน 3 ปี หรือ 3 ปีครึ่งอย่างมหาลัยอื่นเสียบ้าง

จะได้ใช้เวลาที่เพิ่มเพื่อทดเวลาในการเรียนในระดับต่อยอดขึ้นไป

มาวันนี้ผู้เขียนกลับไม่ได้รู้สึกแบบเคย กลับรู้สึกภาคภูมิเสียมากกว่า

เพราะมันคุ้มค่าเหลือเกินกับเวลาที่เราใช้ลงทุนเรียนที่นี่...


ได้พบครูบาที่ทรงคุณวุฒิ เปี่ยมด้วยประสิทธิภาพ

ได้เปิดโลกทรรศ์ใหม่ๆ

ตลอดจนได้พบมิตรภาพที่หาที่ไหนไม่ได้อีกแล้ว...รูปสวย น่ารัก glitter emoticon www.yenta4.com



สำหรับการจัดทำ blog นี้ ผู้เขียนมีวัตถุประสงค์ในการรวบรวมทบทวนความรู้ที่ได้ร่ำเรียนมา

และเผยแพร่แก่ผู้อ่านอื่นทั้งหลายเพื่อสานต่อบทเรียนกันเรื่อยไป

หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะมีประโยชน์แก่ผู้อ่านไม่บ้างก็น้อย (เหมือนกำลังเขียนคำนำในรายงานเลยแฮะ)




ท้ายที่สุด ขอขอบพระคุณบุพการีทุกท่านที่ได้ก่อร่างสร้างผู้เขียนให้มาเป็นผู้เขียนได้อย่างทุกวันนี้ ^ ^