Searh

2553-03-05

การจัดการงานนอกสั่ง

วันนี้มามาทบทวนเรื่องการจัดการงานนอกสั่งกันหน่อยดีกว่า หุหุ


การจัดการงานนอกสั่งมีที่มาจากกฎหมายโรมัน เรียกว่า negotiorum gestio เป็นบ่อเกิดแห่งหนี้อย่าง 1 เป็นหนี้ที่เรียกว่า obligation ex negotiorum gestio

• การจัดการงานนอกสั่งตาม Roman Law แยกพิจารณาออกเป็น 3 ด้าน

1. บ่อเกิดแห่งหนี้
Gaius แบ่งบ่อเกิดแห่งหนี้เป็น 3 บ่อ คือ
- หนี้ที่เกิดจากสัญญา
- หนี้ที่เกิดจากการกระทำอันไม่ชอบด้วยกฎหมาย
- หนี้ที่เกิดจากเหตุอื่นๆ ( negotiorum gestio อยู่ในกลุ่มนี้ )

จักรพรรดิจัสติเนียน แบ่งบ่อเกิดแห่งหนี้เป็น 4 บ่อ คือ
- หนี้ที่เกิดจากสัญญา
- หนี้ที่เกิดจากการกระทำกึ่งสัญญา ( negotiorum gestio อยู่ในกลุ่มนี้เพราะไม่ได้เป็นหนี้ที่เกิดจากกการตกลงกัน แต่เกิดจากการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย อีกทั้งในสมัย Roman อาจเกิดขึ้นจากกรณีที่ไม่มีสัญญาหรือ กรณีที่มีสัญญาตั้งตัวแทนและตัวแทนทำเกินกรอบอำนาจ )
- หนี้ที่เกิดจากการกระทำที่มิชอบด้วยกฎหมาย
- หนี้ที่เกิดจากการกระทำกึ่งมิชอบด้วยกฎหมาย

2. ที่มา เกิดจาก praetor (ผู้พิพากษา)
3. ลักษณะทางกฏหมาย คือ

มีการจัดการงานของผู้อื่น โดยไม่มีการมอบหมาย
มีเจตนาเข้าไปดูแลกิจการของผู้อื่น
มีประโยชน์เกิดขึ้นจากการจัดการงานนั้น

ทั้งนี้โดยมีเงื่อนไข 3 ประการ

- เงื่อนไขภายนอก (การเข้าทำกิจการต้องสมประโยชน์ตามความประสงค์ของตัวการ , โดยตัวการต้องไม่อยู่หรือ อยู่แต่ไม่สามารถทำกิจการได้ด้วยตัวเอง , ถ้าจัดการสมประโยชน์ของตัวการในขณะที่ดำเนินการไปแล้ว ตัวการจะอ้างในภายหลังว่าตนมิได้รับประโยชน์มิได้) ผู้จัดการต้องจัดการโดยสมควรแก่เหตุ ใช้ค.ระมัดระวังลักษณะ exacta diligentia (ลักษณะหัวหน้าครอบครัวที่ดีพึงดูแลจัดกิจการของตนเอง)

- เงื่อนไขภายในทางเจตนาหรือ เงื่อนไขเชิงเจตนาก่อนจัดการ ( เข้าทำกิจการโดยเข้าใจว่าเป็นกิจการของผู้อื่นนและมีเจตนาจัดกิจการแทนผู้อื่น, คาดหวังว่าจะได้รับการชดใช้เงินอันตนได้ออกไป)

- เงื่อนไขสำคัญหลังจัดการ ( ถ้าตัวการยอมรับการจัดการของผู้จัดการ ถือเป็น การให้สัตยาบันและจะอ้างว่าการจัดการไม่สมประโยชน์ตนในภายหลังไม่ได้ )

การจัดการงานนอกสั่งตามระบบ Roman Law ตกทอดไปสู่ระบบ Civil Law ในปัจจุบัน ส่วน Common Law โดยทั่วไปถือว่า ผู้อื่นไม่อาจเรียกร้องให้บุคคลชดใช้ค่ากิจการอันตนมิได้ว่าขานวานใช้ให้ทำ ไม่อาจก่อให้เกิดสิทธิยึดหน่วง หรือการฟ้องคดีเรียกค่าชดเชยได้ แต่ก็ได้อาศัยเรื่องตัวแทนจำเป็น (agency of necessity )

รูปสวย น่ารัก glitter emoticon www.yenta4.com


• การจัดการงานนอกสั่งตามกฎหมายไทย มีรากฐานจาก Roman Law โดยรับผ่านต้นร่าง คือ ประมวลแพ่ง Germany และ Japan มูลหนี้เกิดจากกฎหมายข้อตกลง 2 ฝ่าย มีหลักเกณฑ์ 3 อย่าง คือ

มีบุคคลเข้าทำกิจการแทนผู้อื่น
โดยผู้อื่นนั้นมิได้ว่าขานวานใช้ หรือ ทำไปโดยไม่มีสิทธิ
การจัดการนั้นสมประโยชน์ของผู้อื่น

ทั้งนี้ปรากฏอยู่ในมาตรา 395 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ คือ บุคคลใดเข้าทำกิจการแทนผู้อื่นโดยเขามิได้ว่าขานวานใช้ให้ทำก็ดี หรือโดยมิได้มีสิทธิที่จะทำการงานนั้นแทนผู้อื่นด้วยประการใดก็ดี ท่านว่าบุคคลนั้นจะต้องจัดการงานไปในทางที่จะให้สมประโยชน์ของตัวการ ตามความประสงค์อันแท้จริงของตัวการ หรือตามที่จะพึงสันนิษฐานได้ว่าเป็น ความประสงค์ของตัวการ

การจัดกิจการ ทำได้ไม่จำกัดกิจการ เว้นเรื่องเฉพาะตัวที่ทำไม่ได้ เช่น หมั้น สมรส รับรองเด็กเป็นบุตร

กิจการที่เข้าทำต้องเป็นการทำแทนผู้อื่น/ เพื่อประโยชน์ผู้อื่น โดยผู้จัดการต้องทำเองด้วยมีเจตนาทำแทนผู้อื่น หากมีการมอบหมายให้ทำ อาจเป็นกรณีการตั้งตัวแทน หรือ สัญญาจ้างแรงงาน หรือ สัญญาจ้างทำของ

รูปสวย น่ารัก glitter emoticon www.yenta4.com


• มูลหนี้ที่เกิดเป็นมูลหนี้ระหว่างผู้จัดการ กับตัวการ
หากผู็จัดการเป็นผู้มีความสามารถย่อมมีผลตามกฎหมาย แต่หากเป็นผู้ไร้ความสามารถ กฎหมายกำหนดความรับผิดชอบแค่ตามบทบัญญัติว่าด้วยค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิดและว่าด้วยการคืนลาภมิควรได้เท่านั้น

• ผู้จัดการ = บุคคลที่จัดการงานนอกสั่ง เป็นผู้ไร้ความสามารถ ก็ได้

• หนี้ของผู้จัดการ เกิดตั้งแต่สอดเข้าไปจัดกิจการแทนผู้อื่น คือ
1. จะต้องจัดการงานไปในทางที่จะให้สมประโยชน์ของตัวการ ( Reasonable man principle )
2. ตามความประสงค์อันแท้จริงของตัวการ หรือตามที่จะพึงสันนิษฐานได้ว่าเป็น ความประสงค์ของตัวการ ( ทีละ step แต่คำพิพากษามักใช้ทั้งสองคำประกอบกัน)
หากทำครบ 2 ข้อ จะส่งผลให้หนี้ผูกพันตัวการให้ต้องใช้เงินทดรองที่จ่ายไป

นอกจากนี้ยังมีหนี้อื่นอีก ดังนี้
- มาตรา 399 ผู้จัดการต้องบอกกล่าวแก่ตัวการโดยเร็วที่สุดที่จะทำได้ว่าตนได้เข้าจัดการงานแทน และต้องรอฟังคำวินิจฉัยของตัวการ เว้นแต่ภัยจะมีขึ้นเพราะการที่หน่วงเนิ่นไว้ นอกจากนี้ท่านให้นำบท บัญญัติแห่ง มาตรา 809 ถึง มาตรา 811 อันบังคับแก่ตัวแทนนั้นมาใช้บังคับแก่หน้าที่ของผู้จัดการด้วยโดยอนุโลม

รูปสวย น่ารัก glitter emoticon www.yenta4.com


• กรณีจัดการงานขัดความประสงค์ตัวการ

มาตรา 396 ถ้าการที่เข้าจัดการงานนั้น เป็นการขัดกับความ ประสงค์อันแท้จริงของตัวการก็ดี หรือขัดกับความประสงค์ตามที่ จะพึงสันนิษฐานได้ก็ดีและผู้จัดการก็ควรจะได้รู้สึกเช่นนั้นแล้วด้วย ไซร้ ท่านว่าผู้จัดการจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ตัวการเพื่อ ความเสียหายอย่างใด ๆ อันเกิดแต่ที่ได้เข้าจัดการนั้น แม้ทั้งผู้ จัดการจะมิได้มีความผิดประการอื่น

มาตรา 398 ถ้าผู้จัดการทำกิจอันใดเพื่อประสงค์จะปัดป้องอันตรายอันมีมาใกล้ตัวการ จะเป็นภัยแก่ตัวก็ดี แก่ชื่อเสียงก็ดี หรือแก่ทรัพย์สินก็ดี ท่านว่าผู้จัดการต้องรับผิดชอบแต่เพียงที่ จงใจทำผิด หรือที่เป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงเท่านั้น ( กรณีความรับผิดเด็ดขาด เมื่อเกิดคสห.เพราะจงใจหรือประมาทแม้จัดการสมประโยชน์แล้ว)

ข้อยกเว้นของผู้จัดการที่ไม่ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน

- มาตรา 397 ถ้าผู้จัดการทำกิจอันใดซึ่งเป็นหน้าที่บังคับให้ตัวการ ทำเพื่อสาธารณประโยชน์ก็ดี หรือเป็นหน้าที่ตามกฎหมายที่จะ บำรุงรักษาผู้อื่นก็ดี และหากผู้จัดการมิได้เข้าทำแล้ว กิจอันนั้นจะ ไม่สำเร็จภายในเวลาอันควรไซร้ การที่ได้ทำขัดกับความประสงค์ ของตัวการเช่นนั้นท่านมิให้ยกขึ้นเป็นข้อวินิจฉัย

- มาตรา 400 ถ้าผู้จัดการเป็นผู้ไร้ความสามารถ ท่านว่าจะต้องรับผิดชอบแต่เพียงตามบทบัญญัติว่าด้วยค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิด และว่าด้วยการคืนลาภมิควรได้เท่านั้น (จะรับผิดเมื่อการจัดการงานถึงขั้นเป็นละเมิดเท่านั้น)

หากผู้จัดการมีความสามารถก็เอาบทบัญญัติจัดก.งานนอกสั่งมาใช้ได้หมด เว้นมาตรา 400

รูปสวย น่ารัก glitter emoticon www.yenta4.com


• หนี้ของตัวการ
(มาตรา 401) ถ้าการที่เข้าจัดการงานนั้นเป็นการสมประโยชน์ ของตัวการและต้องตามความประสงค์อันแท้จริงของตัวการ หรือ ความประสงค์ตามที่จะพึงสันนิษฐานได้นั้นไซร้ ท่านว่าผู้จัดการจะ เรียกให้ชดใช้เงินอันตนได้ออกไปคืนแก่ตนเช่นอย่างตัวแทนก็ได้ และ บทบัญญัติ มาตรา 816 วรรค 2 นั้น ท่านก็ให้นำมาใช้บังคับด้วยโดย อนุโลม (Perform หนี้ที่ผู้จัดการก่อขึ้นเนื่องจากการที่เขาได้ทำแทน หากหนี้ยังไม่ถึงกำหนดชำระ ก็ให้หลักประกันตามสมควร)

อนึ่ง ในกรณีที่กล่าวมาใน มาตรา 397 นั้น แม้ถึงว่าที่เข้าจัดการงาน นั้นจะเป็นการขัดกับความประสงค์ของตัวการก็ดี ผู้จัดการก็ยังคงมี สิทธิเรียกร้องเช่นนั้นอยู่

(มาตรา 402) ถ้าเงื่อนไขดั่งว่ามาใน มาตราก่อนนั้นมิได้มี ท่านว่าตัวการจำต้องคืนสิ่งทั้งหลายบรรดาที่ได้มาเพราะเขาเข้าจัดการงาน นั้นให้แก่ผู้จัดการตามบทบัญญัติว่าด้วยการคืนลาภมิควรได้
ถ้าตัวการให้สัตยาบันแก่การที่จัดทำนั้น ท่านให้นำบทบัญญัติทั้งหลายแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยตัวแทนมาใช้บังคับ แล้วแต่กรณี


รูปสวย น่ารัก glitter emoticon www.yenta4.com


• กรณีมิใช่จัดกkiงานนอกสั่ง
1. มาตรา 403 ถ้าผู้จัดการมิได้มีบุรพเจตนา (=เจตนาเริ่มต้นเข้าทำการ พิจารณาข้อเท็จจริงเป็นรายๆไป) จะเรียกให้ตัวการชด ช้คืน ผู้จัดการก็ย่อมไม่มีสิทธิเรียกร้องเช่นนั้น ( แม้กลับใจ )
การที่บิดามารดา ปู่ย่า ตายาย บำรุงรักษาผู้สืบสันดานเป็นทาง อุปการะก็ดี หรือกลับกันเป็นทางปฏิการะก็ดี เมื่อกรณีเป็นที่สงสัย ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าไม่มีเจตนาจะเรียกให้ผู้รับประโยชน์ ชดใช้คืน

2. มาตรา 405 วรรค 1 บทบัญญัติทั้งหลายที่กล่าวมาในสิบ มาตรา ก่อนนั้นท่าน มิให้ใช้บังคับแก่กรณีที่บุคคลหนึ่งเข้าทำการงานของผู้อื่นโดยสำคัญว่า เป็นการงานของตนเอง ( ขาดเจตนาทำเพื่อตัวการ )

3. มาตรา 405 วรรค 2 ถ้าบุคคลใดถือเอากิจการของผู้อื่นว่าเป็นของตนเอง ทั้งที่รู้แล้วว่าตนไม่มีสิทธิจะทำเช่นนั้นไซร้ ( Impure gestor) ท่านว่าตัวการจะใช้สิทธิเรียกร้องบังคับ โดยมูลดั่งบัญญัติไว้ใน มาตรา 395 มาตรา 396 มาตรา 399 และ มาตรา 400 นั้นก็ได้ (เพราะเป็นการละเมิดสิทธิ) แต่เมื่อได้ใช้สิทธิดั่งว่ามานี้แล้ว ตัวการจะต้องรับผิดต่อผู้จัดการดั่ง บัญญัติไว้ใน มาตรา 402 วรรค 1

4. มาตรา 404 ถ้าผู้จัดการทำแทนผู้หนึ่งโดยสำคัญว่าทำแทนผู้อื่น อีกคนหนึ่งไซร้ ท่านว่าผู้เป็นตัวการคนก่อนผู้เดียวมีสิทธิและหน้าที่ อันเกิดแต่การที่ได้จัดทำไปนั้น (ไม่ส่งผลให้หนี้จัดการงานนอกสั่งเสียไป เพราะหนี้นี้ไม่คำนึงคุณสมบัติและความสามารถของตัวการ)