Searh

2553-01-30

ผลเพียรแห่งการเรียนเปรียบเทียบ

วิชากฎหมายเปรียบเทียบ...วิชานี้ผู้เขียนตั้งใจลงเรียนโดยเฉพาะเพราะชื่นชอบใตัวอาจารย์ผู้สอน

ด้วยความที่เป็นวิชาเลือก ก็ไม่ได้คาดหวังจะได้พบอะไรแปลกตาตื่นใจมากนัก

...แต่หลังจากที่เข้าเรียนแล้ว ไม่รู้จะบรรยายความรู้สึกยังไงดี

เอาเป็นว่า คุ้มยิ่งกว่าคุ้ม ที่ได้ลงเรียน รูปสวย น่ารัก glitter emoticon www.yenta4.com


ถ้าหากไม่ได้ลงแล้วล่ะก็ คงไม่มีทางได้เปิดโลกทรรศน์สุดๆแบบที่ไม่เคยมาก่อน 0,o!

เนื้อหาและวิธีการสอนเหมือนใบเบิกทางเปิดกะลาครอบกบตัวเขียวอย่างผู้เขียนให้ออกไปสู่โลกกว้าง

ที่ชอบสุดๆ คือ การได้รู้ว่า "ระบบ Civil Law ไม่ใช่ระบบกฎหมายนะนิสิต"

ทำเอางงไปพักหนึ่งเลยทีเดียว รูปสวย น่ารัก glitter emoticon www.yenta4.com


....ตายๆ นี่เราเข้าใจผิดกันมากี่ปีแล้วเนี่ย..ดีนะไม่ไปรู้ตอนแก่

เหตุผลที่ระบบ Civil law ไม่ใช่ระบบประมวลกฎหมายนั้น ต้องเริ่มทำความเข้าใจเสียก่อนว่า Civil law หมายความว่าอย่างไร?

ความหมายของ Civil Law สามารถแยกได้เป็น 2 นัย

นัยแรก คือ กฎหมายของพลเมืองโรมัน ที่แต่เดิมในสมัยโรมันเรียกว่า ius civile (ius แปลว่า กฎหมายที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ส่วน civile มาจากคำว่า cives แปลว่า พลเมืองค่ะ เมื่อรวมทั้ง 2 คำเข้าด้วยกันจึงได้ความว่า กฎหมายของพลเมืองนั่นเอง)

กฎหมายนี้โดยหลักแล้วมีเนื้อหาสาระเป็นกฎหมายแพ่ง เพราะในสังคมยุคสมัยโรมันยังไม่มีความสลับซับซ้อนอะไรมากนัก

การติดต่อซื้อขายในรูปแบบยุ่งยากอย่างปัจจุบันยังไม่มี จึงมักออกมาเป็นแต่ในเรื่องกฎหมายที่ใช้กับคนตั้งแต่เกิดจนตาย หรือ กฎหมายแพ่งนั่นเอง

แม้ว่าจะมีการพัฒนา หรือ ถูกจัดรวบรวมเป็นในหลายรูปแบบ เช่น ประมวลกฎหมาย 12 โต๊ะ ประมวลกฎหมายของจักรพรรดิจัสติเนียน แต่ความเป็นกฎหมายแพ่งก็ยังไม่แปรเปลี่ยนไป

นัยที่ 2 หมายถึง ระบบประมวลกฎหมายที่สืบสายมาจากกฎหมายโรมัน ซึ่งระบบนี้เป็นผลพวงจากการศึกษาพัฒนากฎหมายโรมันโดยเฉพาะในส่วน Digest ของประมวลกฎหมายจัสติเนียนโดยพวก Glossators และ Commentators เมื่อประมาณ C12


เมื่อเราได้ทราบความหมายแล้วจะพบว่า การจัดทำประมวลกฎหมายมิได้เป็นเงื่อนไขที่บอกว่าตกอยู่ภายใต้ระบบกฎหมายแบบ Civil Law แต่อย่างใด

เงื่อนไนของการเป็น Civil Law คือ กฎหมายนั้นเป็นกฎหมายที่สืบสายมาจากกฎหมายโรมันหรือไม่ต่างหาก !!!

เห็นได้จากการที่ประเทศที่ตกอยู่ภายใต้ระบบกฎหมาย Civil Law ก็มีประเทศที่ไม่จัดทำประมวลกฎหมาย

แต่ความเข้าที่ผิดเพี้ยนของพวกเราส่วนมากเกิดมาจากการที่ประเทศที่ตกอยู่ภายใต้ระบบกฎหมาย Civil Law

มักมีประมวลกฎหมายนั่นเอง...

รูปสวย น่ารัก glitter emoticon www.yenta4.com


(>,< ดีนะที่ตั้งใจเข้าเรียนทุกครั้ง )

สรุปแล้ว บทความนี้สอนให้รู้ว่า อย่าดูถูกสิ่งที่ดูเหมือนไม่มีคุณค่า เพราะสิ่งที่เราเห็นอาจไม่ได้เป็นอย่างที่เราคิด จ้า----555

อ้างอิง : รศ.ดร. ศนันท์กรณ์ โสตถิพันธุ์, ตำราเรียนวิชากฎหมายเปรียบเทียบ และคำบรรยาย ปีการศึกษา 2552 , Chulalongkorn University

3 ความคิดเห็น:

  1. ประเทศเรามัน semi-common law system น่ะ ๕๕๕๕๕๕๕
    stare decisis~

    ตอบลบ
  2. ไม่ระบุชื่อ1/31/2553

    โอ๊! ความรู้ใหม่จิงด้วย

    ตอบลบ
  3. ไม่ระบุชื่อ2/02/2553

    โอ้ว!! ทำให้เข้าใจว่าจริงๆแล้วที่เราเรียกกันทุกวันนี้ว่า
    ระบบ Civil law จริงๆแล้วมันไม่ได้ขึ้นอยู่กับการมีประมวล
    การมีประมวลเป็นเพียงสิ่งที่แสดงออกให้เห็น
    ถึงนิติวิธีที่ให้ความสำคัญกับกฎหมายลายลักษณ์อักษรรึป่าวฮะ

    ตอบลบ