เนื่องจากศาลทหารมีอำนาจพิจารณาและพิพากษาลงโทษทางอาญาต่อบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหาร
ทำให้ดูเหมือนว่าเขตอำนาจของศาลทหารซ้ำซ้อนกับเขตอำนาจของศาลยุติธรรมในเรื่อง
ของการดำเนินคดีอาญา
จึงมักจะมีปัญหาถกเถียงกันในหมู่นักวิชาการทางกฎหมายและนักประชาธิปไตยว่า
ในปัจจุบันยังสมควรต้องมีศาลทหารต่อไปหรือไม่
โดยฝ่ายหนึ่งเห็นว่าไม่จำเป็นต้องมีศาลทหารเนื่องจากว่าเป็นการให้อภิสิทธิ์พิเศษแก่ทหาร ซึ่งทหารและ
ประชาชนสมควรจะต้องมีสิทธิและเสรีภาพเท่าเทียมกัน เมื่อทหารกระทำผิดก็สมควรให้ศาลยุติธรรมเป็น
ผู้พิจารณาลงโทษ การให้แยกไปขึ้นศาลทหาร ซึ่งมีทหารด้วยกันเป็นผู้พิจารณาตัดสินลงโทษอาจจะมีการ
ลำเอียงช่วยเหลือกันได้ และทำให้ประชาชนที่เป็นผู้เสียหายไม่ได้รับความเป็นธรรม ประกอบกับใน
ความคิดของนักประชาธิปไตยมองว่าศาลทหารเป็นภาพลักษณ์ของระบอบเผด็จการ เพราะในสมัยที่มีการ
ปฏิวัติรัฐประหารก็มักจะมีคำสั่งของคณะปฏิวัติให้คดีบางประเภทมาขึ้นศาลทหารพิจารณาเช่น คดีการ
กระทำอันเป็นคอมมูนิตส์ เป็นต้น นักวิชาการเหล่านั้นจึงเห็นว่าเมื่อประเทศไทยได้มีการปกครองเป็น
ประชาธิปไตยสมบูรณ์แบบแล้วก็ไม่สมควรที่ต้องมีศาลทหารอีกต่อไป
ส่วนฝ่ายที่เห็นว่ายังสมควรต้องมีศาลทหารให้เหตุผลว่าการมีศาลทหารนั้นถือเป็นหลักสากล
ซึ่งในนานาอารยะประเทศต่างก็มีศาลทหารแทบทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐ-
อเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส หรือจีน เว้นแตใ่ นประเทศที่พ่ายแพ้สงคราม (สงครามโลกครั้งที่ ๒) อย่างเช่น
เยอรมัน หรือญี่ปุ่น ที่ถูกจำกัดไม่ให้มีศาลทหาร นอกจากนี้ศาลทหารมีวิธีพิจารณาคดีที่สามารถ
ปรับเปลี่ยนไปตามสถานะการณ์ได้ ซึ่งต่างจากศาลพลเรือน(ศาลยุติธรรม) ที่ไม่สามารถปรับเปลี่ยนได้
ดังนั้นในเวลาไม่ปกติ เช่น เวลาสงคราม ก็จำเป็นที่ต้องใช้ระบบของศาลทหาร เพื่อแก้ไขสถานะการณ์ของ
ประเทศให้กระบวนการยุติธรรมของประเทศสามารถดำเนินต่อไปได้และเหมาะสมต่อสถานะการณ์ใน
ขณะนั้น ประกอบกับในเรื่องเขตอำนาจศาลพลเรือน(ศาลยุติธรรม)จะมีเขตอำนาจจำกัดอยู่แต่ในพื้นที่
ตามที่มีกฎหมายบัญญัติไว้ ดังนั้น ในกรณีที่กองทัพต้องไปปฏิบัติภาระกิจ หรือเข้ายึดดินแดนข้าศึกใน
ต่างประเทศ ศาลพลเรือน(ศาลยุติธรรม) ก็จะไม่สามารถติดตามกองกำลังของกองทัพไปทำหน้าที่ในการ
ให้ความยุติธรรมได้ นอกจากนี้ในสนธิสัญญาระหว่างประเทศบางเรื่องได้กำหนดห้ามไม่ให้ฟ้องคดี
บุคคลบางประเภทต่อศาลในระบบปกติ เช่น กรณีของเชลยศึก เป็นต้น
อย่างไรก็ดี เห็นว่าเหตุผลและความจำเป็นอย่างหนึ่งในการมีศาลทหาร เนื่องจาก การรักษา
ความมั่นคงของประเทศถือได้ว่าเป็นประโยชน์สูงสุด ซึ่งการรักษาความมั่นคงนั้นจำเป็นต้องพึงพา
กองกำลังทหารที่เข็มแข็ง มีหลักการที่ถือได้ว่าเป็นหลักการยุทธสากลได้อย่างหนึ่งคือ หลักเอกภาพ
ในการบังคับบัญชา หมายถึงการให้ผู้บังคับบัญชามีอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดในการบังคับบัญชาได้ ซึ่งถ้า
เทียบกับการบริหารประเทศในปัจจุบันก็เทียบได้กับการที่นายกรัฐมนตรีมีนโยบายให้มี ผู้ว่าซีอีโอ ที่มี
อำนาจเด็ดขาดในการสั่งการแก่ข้าราชการต่างๆในจังหวัดนั่นเอง
การมีศาลทหารเป็นการแสดงถึงอำนาจของผู้บังคับบัญชาทหารในการปกครองแบบรวมอำนาจและเป็นเอกภาพ เพราะผู้บังคับบัญชาทหารจะมีส่วนร่วมในกระบวนการยุติธรรมทหาร เช่น การเป็นตุลาการร่วมในการตัดสินคดี และมีอำนาจอุทธรณ์
ฎีกา อำนาจสั่งลงโทษต่อทหารที่ศาลได้พิพากษาให้ลงโทษแล้ว เป็นต้น ซึ่งอำนาจต่างๆ ดังกล่าวนี้ไม่มี
ในกระบวนพิจารณาของศาลพลเรือน นอกจากนี้การที่ผู้บังคับบัญชาทหารได้เข้ามาร่วมเป็นตุลาการ
ก็จะได้ทราบถึงสาเหตุที่ทำให้กำลังพลดังกล่าวไปกระทำความผิดอาญาของบ้านเมืองและจะได้หา
แนวทางในการป้องกันและแก้ไขไม่ให้มีกำลังพลไประทำผิดเช่นนั้นอีก
ด้วยเหตุนี้การศาลทหารจึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับอำนาจการปกครองบังคับบัญชาทหารโดยตรง นอกจากนี้ยังมีแนวคิดที่เป็นหลักสากลอยู่ว่าการปกครองทหารจะใช้วิธีการเช่นเดียวกับการปกครองพลเรือนไม่ได้ เนื่องจากทหารเป็นผู้ถืออาวุธ
ร้ายแรงอยู่ในมือ จึงจำเป็นต้องอยู่ในระเบียบวินัยที่เข็มงวดยิ่งกว่าพลเรือน หากทหารไร้ซึ่งระเบียบวินัย
ก็อาจนำอาวุธร้ายแรงดังกล่าวมาสร้างความวุ่นวายในสังคมให้เป็นที่เดือนร้อนแก่ ประชาชน ได้
ดังนั้นวินัยของทหารจึงเข็มงวด ความผิดวินัยบางอย่างของพลเรือนอาจเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่ทางทหารถือเป็น
เรื่องร้ายแรงต้องถูกลงโทษเช่นเดียวกับความผิดทางอาญาของบ้านเมืองทั่วไปเพื่อมิให้เป็นเยี่ยงอย่าง เช่น
การขัดคำสั่งของผู้บังคับบัญชา หรือการหนีราชการ เป็นต้น
และเหตุผลอีกประการหนึ่งคือแม้จะมีกฎหมายว่าด้วยวินัยทหารให้อำนาจผู้บังคับบัญชา
ลงโทษทหารที่กระทำผิดวินัยได้ แต่เนื่องจากกองทัพประกอบด้วยกำลังพลจำนวนมาก และบางครั้งการ
กระทำผิดวินัยของกำลังพลดังกล่าวเป็นการผิดต่อกฎหมายของบ้านเมืองด้วยบางเรื่องมีผลกระทบต่อ
ประชาชนการจะให้ผู้บังคับบัญชาลงโทษลงทัณฑ์ตามวินัยทหารย่อมเป็นการไม่ถูกต้องต่อหลักกฎหมาย
บ้านเมืองและอาจก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมทั้งต่อประชาชนผู้เสียหายและตัวทหารที่กระทำผิดเอง แต่
การจะให้ทหารที่กระทำผิดไปขึ้นศาลและใช้วิธีการเช่นเดียวกับพลเรือน โดยผู้บังคับบัญชาทหารไม่มี
ส่วนเข้าไปเกี่ยวข้องด้วย ได้ก็จะเป็นการบั่นทอนอำนาจผู้บังคับบัญชาทหารว่าไม่สามารถให้คุณให้โทษ
ต่อทหารได้ย่อมส่งผลกระทบต่อการสั่งการในอำนาจของผู้บังคับบัญชาทหารทั้งในยามปกติและยาม
สงคราม ดังนั้นจึงจำเป็นต้องให้มีศาลทหารเพื่อใช้จัดการกับทหารที่กระทำผิดดังกล่าวให้เป็นไปตาม
ครรลองของบ้านเมือง จึงถือได้ว่าศาลทหารเป็นการรองรับอำนาจของผู้บังคับบัญชาเพื่อให้เกิดดุลยภาพ
ในทางปกครองและการบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมายบ้านเมือง
และด้วยเหตุผลและความจำเป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปัจจุบันจึงได้
บัญญัติให้มีศาลทหารเป็นองค์กรหนึ่งตามรัฐธรรมนูญเช่น เดียวกับ ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลยุติธรรม
และศาลปกครอง
อ้างอิง เอกสารวิชาการ กองพระธรรมนูญ กรมสารบรรณทหาร
2553-05-05
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น