Searh

2553-05-05

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอนุญาโตตุลาการ

เป็นที่ทราบกันดีว่า ปัจจุบันการอนุญาโตตุลาการมีบทบาทสำคัญในฐานะเป็นหนทางหนึ่งในกระบวนการยุติธรรมทางเลือก (Alternative Dispute Resolution : ADR) ซึ่งมีจุดมุ่งหมายสำคัญในการลดทอนจำนวนข้อพิพาทที่มีมากเกินขีดจำกัดของศาล เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ชัดแจ้ง ผู้เขียนใคร่กล่าวถึงข้อควรรู้พื้นฐานของการอนุญาโตตุลาการ ดังต่อไปนี้
ความหมายของอนุญาโตตุลาการ(Arbitration)

อนุญาโตตุลาการ คือ วิธีการระงับข้อพิพาท ข้อโต้แย้ง ข้อคัดค้าน หรือ ข้อโต้เถียงที่เกิดขึ้นแล้วหรือที่จะเกิดขึ้นในอนาคตซึ่งคู่กรณีตกลงกันเสนอให้บุคคลภายนอกผู้มีความเชี่ยวชาญ เป็นกลาง และ อิสระ ซึ่งเรียกว่า อนุญาโตตุลาการ (Arbitrator) ทำการพิจารณาชี้ขาด โดยคู่กรณียอมตนเข้าผูกพันในอันที่จะปฏิบัติตามคำชี้ขาดเช่นนั้น

รูปสวย น่ารัก glitter emoticon www.yenta4.com


ประเภทของอนุญาโตตุลาการสามารถแบ่งได้หลายประเภท ดังนี้

1) อนุญาโตตุลาการในศาลกับอนุญาโตตุลาการนอกศาล
1.1) อนุญาโตตุลาการในศาล คือ กรณีที่คู่กรณีซึ่งมีคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลตกลงกันให้มีอนุญาโตตุลาการชี้ขาดได้ โดยความเห็นชอบของศาล (มาตรา 210-220 และ 222 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง) แต่วิธีนี้ไม่เป็นที่นิยมเพราะเมื่อมีคดีขึ้นไปสู่ศาลแล้ว คู่ความมักไม่ต้องการให้บุคคลอื่นมาช่วยชี้ขาดให้ แต่ต้องการให้ศาลตัดสินคดีนั้นมากกว่า
1.2) อนุญาโตตุลาการนอกศาล คือ กรณีที่คู่กรณีตกลงกันเสนอข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการพิจารณาชี้ขาด โดยไม่ได้ฟ้องคดีต่อศาล ซึ่งอาจตกลงกันไว้ล่วงหน้าก่อนมีข้อพิพาทหรืออาจตกลงกันภายหลังจากที่มีข้อพิพาทแล้วก็ได้
การอนุญาโตตุลาการส่วนใหญ่ในนานาประเทศรวมทั้งประเทศไทยนั้นเป็นการอนุญาโตตุลาการ นอกศาล ซึ่งจะอยู่ภายใต้บังคับของ พระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545

รูปสวย น่ารัก glitter emoticon www.yenta4.com


2) อนุญาโตตุลาการเฉพาะกิจกับอนุญาโตตุลาการโดยสถาบัน
2.1) อนุญาโตตุลาการเฉพาะกิจ (Ad Hoc Arbitration) เป็นกรณีที่คู่พิพาทดำเนินการระงับข้อพิพาทตามวิธีอนุญาโตตุลาการด้วยตนเอง กล่าวคือ โดยตั้งอนุญาโตตุลาการและกำหนดวิธีพิจารณาต่างๆเอง และให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดข้อพิพาทของตน
2.2) อนุญาโตตุลาการโดยสถาบัน (Institutional Arbitration) เป็นกรณีที่คู่พิพาทตกลงระงับข้อพิพาทกันโดยใช้บริการของสถาบันอนุญาโตตุลาการ ซึ่งสถาบันดังกล่าวนี้อาจเป็นสถาบันที่ตั้งขึ้นมาเพื่อให้บริการด้านอนุญาโตตุลาการโดยเฉพาะ สำหรับประเทศไทย เช่น สถาบันอนุญาโตตุลาการของสำนักงานศาลยุติธรรม สภาอนุญาโตตุลาการของหอการค้าแห่งประเทศไทย ส่วนในต่างประเทศ เช่น สถาบันอนุญาโตตุลาการของสภาหอการค้าระหว่างประเทศ (International Chamber of Commerce - ICC) สมาคมอนุญาโตตุลาการของสหรัฐอเมริกา (American Arbitration Association - AAA) หรืออาจเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรเฉพาะด้านที่ให้บริการกับสมาชิกและ/หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง สำหรับประเทศไทย เช่น อนุญาโตตุลาการ ของสำนักงาน ก.ล.ต. อนุญาโตตุลาการของสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย ส่วนในต่างประเทศ เช่น อนุญาโตตุลาการของ NASD

รูปสวย น่ารัก glitter emoticon www.yenta4.com


3) อนุญาโตตุลาการในประเทศกับอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ
3.1) อนุญาโตตุลาการในประเทศ เป็นกระบวนการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการ ในประเทศใดประเทศหนึ่ง ไม่ว่าคู่กรณีจะมีสัญชาติใด
3.2) อนุญาโตตุลาการต่างประเทศ เป็นกระบวนการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการ ที่ดำเนินการภายนอกประเทศ ไม่ว่าคู่กรณีจะมีสัญชาติใด

ข้อดีของระบบอนุญาโตตุลาการ
สาเหตุที่ต้องมีหรือใช้กระบวนการอนุญาโตตุลาการก็เนื่องมาจากเหตุผล ดังต่อไปนี้
1) ความรวดเร็ว
เนื่องจากการฟ้องคดีต่อศาลนั้นมีขั้นตอนมากและเป็นระบบศาลสามชั้น ระบบศาลจึงไม่อาจตอบสนองต่อความต้องการระงับข้อพิพาทที่มีอย่างล้นหลามได้ภายในเวลาที่รวดเร็วอันเป็นจุดบอดของระบบศาลแทบทุกประเทศต่างจากกระบวนการอนุญาโตตุลาการจะสิ้นสุดรวดเร็วและไม่มีขั้นตอนยุ่งยาก
2) ความยุ่งยากและสลับซับซ้อนของคดี
เนื่องจากโดยปกติผู้ที่เป็นอนุญาโตตุลาการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอนุญาโตตุลาการที่คู่กรณีเลือกมักจะเป็นผู้ที่มีความรู้มีความเชี่ยวชาญในเรื่องที่พิพาทเป็นอย่างดี ทำให้เข้าใจเรื่องที่พิพาทและพยานหลักฐานต่างๆได้รวดเร็ว ซึ่งส่งผลให้การชี้ขาดข้อพิพาททำได้รวดเร็วและยุติธรรม ในขณะที่ถ้าเป็นการดำเนินคดีในศาลคู่ความไม่สามารถเลือกผู้พิพากษาที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องนั้นๆมาพิจารณาคดีให้ตนได้ ซึ่งก็ต้องมีการใช้พยานผู้เชี่ยวชาญมาเบิกความ ทำให้การพิจารณาคดีเป็นไปอย่างยากลำบากและล่าช้า และอาจมีปัญหาในการรับฟังพยานหลักฐาน เพราะต้องขึ้นอยู่กับว่าพยานผู้เชี่ยวชาญเบิกความอธิบายได้ชัดเจนถูกต้องมากน้อยเพียงใด
3) การรักษาชื่อเสียงและความลับ
เนื่องจากหลักการพิจารณาคดีของศาลต้องทำโดยเปิดเผย ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าฟังการพิจารณาของศาลได้ สื่อมวลชนก็อาจรับฟังและนำเสนอข่าวได้ง่าย ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อภาพพจน์ทางธุรกิจและการรักษาความลับของคู่กรณี เว้นแต่ว่าจะมีการพิจารณาคดีเป็นการลับ ซึ่งก็จะมีเป็นบางคดีเท่านั้น แต่หลักการดำเนินกระบวนพิจารณาของการอนุญาโตตุลาการนั้นกระทำเป็นความลับ เฉพาะคู่กรณีและผู้ที่เกี่ยวข้องเท่านั้นที่มีสิทธิเข้าร่วมการพิจารณา บุคคลภายนอกไม่มีโอกาสรู้ข้อเท็จจริงโดยตรง จึงไม่รู้ว่าคู่กรณีมีข้อพิพาทกันหรือไม่ หรือมีกันอย่างไร จึงเป็นการรักษาชื่อเสียงของคู่พิพาทและความลับทางธุรกิจของคู่กรณีได้เป็นอย่างดี
4) การรักษาความสัมพันธ์ระหว่างคู่พิพาท
เนื่องจากแนวทางการพิจารณาคดีของศาลนั้นเป็นการต่อสู้คดีกัน ทำให้คู่กรณีมีความรู้สึกเป็นศัตรูกัน อีกทั้งยังใช้เวลาต่อสู้กันยาวนาน เพราะคดีสามารถอุทธรณ์ ฎีกาต่อไปได้ ซึ่งส่งผลเสียต่อความสัมพันธ์ทางธุรกิจ แต่กระบวนการอนุญาโตตุลาการนั้นเป็นการระงับข้อพิพาทที่เปิดโอกาสให้คู่กรณีพบปะเจรจาปัญหาที่พิพาทกันโดยตรง บรรยากาศในการพิจารณามีลักษณะเป็นกันเอง ไม่เคร่งเครียด อีกทั้งไม่มีระบบที่ให้คู่กรณีโต้แย้งเอาแพ้ชนะกัน จึงสามารถรักษาความสัมพันธ์ระหว่างคู่พิพาทซึ่งอยู่ในวงการธุรกิจ ที่ส่วนใหญ่จะต้องคบค้าและประกอบธุรกิจกันต่อไปอีกในอนาคต

รูปสวย น่ารัก glitter emoticon www.yenta4.com


อ้างอิง เอกสารจาก TAI

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น