คุณผู้ชายทั้งหลาย...ที่ไม่โสด...โปรดฟังทางนี้
เชื่อได้เลยว่า พวกคุณส่วนมากล้วนต้องเคยเจอ หรือกำลังเผชิญกับปัญหาความเอาแต่ใจของแฟนสาว
ขึ้นชื่อว่า ผู้หญิงแล้วล่ะก็ เรื่อง shopping ไม่ต้องพูดถึง ถึงไหนถึงกัน
(เค้าก็เป็นนะ :p)
ไอ้เรื่องที่พวกเธอจะชอบ shopping อะไรนั่น มันก็ไม่ใช่ปัญหาก่อกวนอะไรนักหรอก
แต่มันดันเกิดปัญหาก็ตรงความเอาแต่ใจของสาวเจ้าเหล่านั้น !
เคยมีกรณีตัวอย่างถามมาเหมือนกันว่า
"แฟนผมเค้าชอบ shopping มาก โดยเฉพาะเครื่องสำอางค์ โอย...เดินผ่าน counter ที เสียเวลาเป็นชั่วโมงๆ
ปล่อยให้ผมยืนรอ จะไม่ไปด้วยก็ไม่ได้ จะขอแยกเดินไปดูอย่งอื่นก็ไม่ได้ เดี๋ยวแฟนผมเค้าก็งอนอีก ผมจะทำไงดี "
เจอแบบนี้ก็แย่นิดนึงนะคะ
ก่อนอื่นต้องขอให้คุณผู้ชายทั้งหลายถามตัวเองก่อนว่า การที่แฟนคุณเค้าเริงร่าหายไปในดงเครื่องสำอางค์อยู่นานสองนานน่ะ
แล้วผลท้ายสุด เค้าออกมาสวยถูกใจคุณมั้ยล่ะคะ ?
ถ้าออกมาสวยสมใจ เลิกบ่นเถอะค่ะ ก็ไอ้การที่เค้าอยากสวยเนี่ย ก็เพื่อคุณๆ ไม่ใช่เรอะ !
แต่ผลที่ออกมาตามข้อเท็จจริงส่วนใหญ่ โดยเฉพาะจากกรณีตัวอย่างคงไม่สวยสมใจคนรอเท่าไหร่....
แบบนี้ลองมาวิเคราะห์แฟนสาวของหนุ่มในกรณีตัวอย่างกันดีกว่า
สาวนางนี้... เอาแต่ใจ ไม่เอาใจเขามาใส่ใจเรา มีอย่างที่ไหนคะให้แฟนมายืนรอเป็นชั่วโมงๆ
ที่สำคัญผู้ชายส่วนมากเค้าไม่ชอบ shopping กันหรอกค่ะ น่าจะเห็นใจกันบ้าง
ถามว่า แล้วจะแก้ยังไง
เราขอเสนอให้ใช้เหตุผลคุยกันก่อนในตอนแรก
บอกเธอไปก่อนเลย เธอ ผมว่า วันหยุดแบบนี้เราไปเที่ยวหากิจกรรมสนุกๆ อย่างอื่นทำกันมั้ย
นอกจาเดินห้างอ่ะ เพราะผมอยากใช้เวลากับคุณให้คุ้มค่าที่สุด
นี่...หยอดมุกนี้เข้าไปเลยจ้า...
นอกจากแฟนสาวจาไม่โกรธแล้ว อาจอมยิ้มเล็กๆๆ
อ๊ะ...อย่าคิดลึกนะ กิจกรรมอย่างอื่นที่ว่าเนี่ย อาจเป็นพวกไปเที่ยวสวนสนุก สวนสาธารณะ อะไรแบบนั้น...
แต่ถ้ายังไงก้อต้องไปซื้อของกับสาวเจ้าอยู่ดี ก้อลองขอแยกตัวไปเดินดูอะไรคนเดียวดูบ้าง
ลองใช้เหตุผลตะล่อมๆ พูดให้เธอเข้าใจ ว่าเราก้อต้องการดูของส่วนตัวอะไรบ้างนะ
แต่หากคุณเธอยังดื้อดึง ยื้อยุดคุณไปมุมเสื้อผ้า เครื่องสำอางค์ให้ได้
ขอเสนอมาตรการสุดท้าย....
ที่คุณต้องใช้ความกล้านิดนึง
คือ ช่วยเธอเลือกไปเลยค่ะ เอาแบบวิเคราะห์แจากแจงให้ละเอียดอย่างมืออาชีพ
ลองเอาเสื้อผ้า เครื่องสำอางค์มาทาบ มาลองแต่งกับตัวคุณเอง
แล้วถามแฟนคุณ กับพนักงานขายไปเลยว่า เปนไงแบบนี้ดูดีมั้ย
รับรองค่ะ...แฟนคุณต้องไม่กล้าพาคุณไปซื้อของอีกแน่ ถ้าเจอแบบนี้
5555555
ขึ้นอยู่กับความใจกล้าของคุณๆ แล้วล่ะค่ะ
ได้ผลยังไงบอกกันด้วยนะ ><
2553-05-22
2553-05-20
ความรัก กับ ความหลง
ความรัก กับความหลง ต่างกันเพียงเส้นขั้นบางๆ
วันนี้ เรามีข้อคิดในเรื่องนี้มาฝากกันจ้า
“เธอจะเลือกแฟนแบบไหนให้ตัวเองก็ตาม
รู้ไว้เถอะว่าเธอไม่ได้เลือกแค่คน แต่เธอกำลังเลือกใจตัวเองด้วย
เขาเป็นแบบไหน ใจเธอก็จะค่อย ๆ เป็นแบบนั้น
ถ้าเขาเอาแต่สนุก ใจเธอก็อยากเอาแต่สนุกด้วย ถ้าเขาฉาบฉวย ใจเธอก็ฉาบฉวยตาม
เลือกคบกับผู้ชายคนไหน ก็คือการยอมให้กรรมของผู้ชายคนนั้นเข้ามาเกื้อกูลหรือรบกวนวิถีชีวิตของเรา
เขาจะมีส่วนทำให้กรรมทางความคิด คำพูด และการกระทำต่าง ๆ ของเราเปลี่ยนแปลงไปไม่มากก็น้อย
เราไม่พูดเรื่องบาปเรื่องบุญ เรื่องผิดเรื่องถูก เรื่องเหมาะ เรื่องควร แต่อยากชี้ให้เห็นว่า
ถ้าเธอหน้ามืดกับเสน่ห์ของผู้ชายโดยไม่คำนึงถึงความรู้สึกภายในว่าใช่หรือไม่ใช่ ต่อไปเธอจะไม่เหลือเครื่องช่วยตัดสินใจไหน ๆ เลย ถ้าชอบคือใช่หมด เอาหมด!
คนเราเนี่ยนะ ที่จะใช่หรือไม่ใช่ เหมาะหรือไม่เหมาะ ใจตัวเองบอกอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากผิดฝาผิดตัวชัด ๆ อย่างนี้นะ เราจะตามใจฝ่ายผิดของตัวเองทำไม เดี๋ยวก็ต้องมีผลกระทบข้างเคียงเกิดขึ้น
ตกลงที่เราโหยหาความรักมาทั้งชีวิต แทบอยากตายเมื่อไม่เจอความรัก หรืออยากตายเมื่อผิดหวังในรัก แท้จริงแล้วเป็นแค่อารมณ์หลอกตัวเองเท่านั้นหรือ? เราไม่เคยพร้อมจะตายเพื่อบูชารักเลย เราจะเป็นจะตายเมื่อไม่ได้อย่างใจมากกว่า
นี่แหละ คนเรามีแต่รักตัวเอง เรียกร้องเอาอะไรเข้าตัวเองทั้งนั้น…
ความดื้อเพราะมีราคะกล้านั้นน่ากลัวยิ่งกว่าดื้อเพราะมีทิฐิแรง
มนต์สะกดจากสำนักไสยศาสตร์ใดก็ไม่ทรงอำนาจมืดยิ่งใหญ่เท่ามนต์สะกดจากราคะอันเป็นของภายใน
บางคนจริงจังรอรักแท้จนแก่ก็ไม่เจอสิ่งที่ราคะหลอกให้หลงรอ บางคนเจอใครที่นึกว่าใช่ก็ตาลีตาเหลือกจัดงานแต่งงานอย่างรีบด่วน
เมื่อพบในภายหลังว่าคู่แต่งกลายเป็นคู่เวร บาปกรรมที่เคยทำร่วมกันไว้แต่ปางก่อนเหนี่ยวนำให้มาร่วมชายคาเพื่อจองเวรกันต่อต่างหาก
เธอเดาใจตัวเองในอนาคตถูกแน่หรือ?
เชือกที่มัดเรารอบแรกหลวม ๆ ก็เหมือนดิ้นง่าย แต่ถ้าชะล่าใจยืนเฉย ปล่อยให้เขารัดวันละทบ
เดี๋ยวพอถึงรอบที่สิบมันจะต่างไปมาก
ที่โลกนี้เต็มไปด้วยการจับคู่ที่ไม่เหมาะสม ก็เพราะมีการยอมให้กับก้าวแรก พอรู้สึกอีกทีนะเ เธออาจพบตัวเองเดินมายืนอยู่ตรงจุดที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออกเสียแล้ว”
ดังนั้น การโหยหาความรัก หรือ คู่แท้ ไม่ใช่เรื่องที่ผิดนะคะ
แต่คุณ ก็ต้องเข้าใจและยอมรับด้วยว่า
คนๆนี้ ใช่คนที่คุณตามหาหรือเปล่า
คือ ความรักใช่มั้ย ? หรือ เป็นแค่ความหลง
ตัดสินใจผิด ...ชีวิตเปลี่ยนได้เสมอค่ะ
อ้างอิงจาก กรรมพยากรณ์
วันนี้ เรามีข้อคิดในเรื่องนี้มาฝากกันจ้า
“เธอจะเลือกแฟนแบบไหนให้ตัวเองก็ตาม
รู้ไว้เถอะว่าเธอไม่ได้เลือกแค่คน แต่เธอกำลังเลือกใจตัวเองด้วย
เขาเป็นแบบไหน ใจเธอก็จะค่อย ๆ เป็นแบบนั้น
ถ้าเขาเอาแต่สนุก ใจเธอก็อยากเอาแต่สนุกด้วย ถ้าเขาฉาบฉวย ใจเธอก็ฉาบฉวยตาม
เลือกคบกับผู้ชายคนไหน ก็คือการยอมให้กรรมของผู้ชายคนนั้นเข้ามาเกื้อกูลหรือรบกวนวิถีชีวิตของเรา
เขาจะมีส่วนทำให้กรรมทางความคิด คำพูด และการกระทำต่าง ๆ ของเราเปลี่ยนแปลงไปไม่มากก็น้อย
เราไม่พูดเรื่องบาปเรื่องบุญ เรื่องผิดเรื่องถูก เรื่องเหมาะ เรื่องควร แต่อยากชี้ให้เห็นว่า
ถ้าเธอหน้ามืดกับเสน่ห์ของผู้ชายโดยไม่คำนึงถึงความรู้สึกภายในว่าใช่หรือไม่ใช่ ต่อไปเธอจะไม่เหลือเครื่องช่วยตัดสินใจไหน ๆ เลย ถ้าชอบคือใช่หมด เอาหมด!
คนเราเนี่ยนะ ที่จะใช่หรือไม่ใช่ เหมาะหรือไม่เหมาะ ใจตัวเองบอกอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากผิดฝาผิดตัวชัด ๆ อย่างนี้นะ เราจะตามใจฝ่ายผิดของตัวเองทำไม เดี๋ยวก็ต้องมีผลกระทบข้างเคียงเกิดขึ้น
ตกลงที่เราโหยหาความรักมาทั้งชีวิต แทบอยากตายเมื่อไม่เจอความรัก หรืออยากตายเมื่อผิดหวังในรัก แท้จริงแล้วเป็นแค่อารมณ์หลอกตัวเองเท่านั้นหรือ? เราไม่เคยพร้อมจะตายเพื่อบูชารักเลย เราจะเป็นจะตายเมื่อไม่ได้อย่างใจมากกว่า
นี่แหละ คนเรามีแต่รักตัวเอง เรียกร้องเอาอะไรเข้าตัวเองทั้งนั้น…
ความดื้อเพราะมีราคะกล้านั้นน่ากลัวยิ่งกว่าดื้อเพราะมีทิฐิแรง
มนต์สะกดจากสำนักไสยศาสตร์ใดก็ไม่ทรงอำนาจมืดยิ่งใหญ่เท่ามนต์สะกดจากราคะอันเป็นของภายใน
บางคนจริงจังรอรักแท้จนแก่ก็ไม่เจอสิ่งที่ราคะหลอกให้หลงรอ บางคนเจอใครที่นึกว่าใช่ก็ตาลีตาเหลือกจัดงานแต่งงานอย่างรีบด่วน
เมื่อพบในภายหลังว่าคู่แต่งกลายเป็นคู่เวร บาปกรรมที่เคยทำร่วมกันไว้แต่ปางก่อนเหนี่ยวนำให้มาร่วมชายคาเพื่อจองเวรกันต่อต่างหาก
เธอเดาใจตัวเองในอนาคตถูกแน่หรือ?
เชือกที่มัดเรารอบแรกหลวม ๆ ก็เหมือนดิ้นง่าย แต่ถ้าชะล่าใจยืนเฉย ปล่อยให้เขารัดวันละทบ
เดี๋ยวพอถึงรอบที่สิบมันจะต่างไปมาก
ที่โลกนี้เต็มไปด้วยการจับคู่ที่ไม่เหมาะสม ก็เพราะมีการยอมให้กับก้าวแรก พอรู้สึกอีกทีนะเ เธออาจพบตัวเองเดินมายืนอยู่ตรงจุดที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออกเสียแล้ว”
ดังนั้น การโหยหาความรัก หรือ คู่แท้ ไม่ใช่เรื่องที่ผิดนะคะ
แต่คุณ ก็ต้องเข้าใจและยอมรับด้วยว่า
คนๆนี้ ใช่คนที่คุณตามหาหรือเปล่า
คือ ความรักใช่มั้ย ? หรือ เป็นแค่ความหลง
ตัดสินใจผิด ...ชีวิตเปลี่ยนได้เสมอค่ะ
อ้างอิงจาก กรรมพยากรณ์
หยุดทำร้ายประเทศไทยกันเสียที
หลังจากทนอัดอั้นมานาน ในที่สุดก็ตัดสินใจระบายความในใจออกมาเป็นบันทึก
เราก็รู้กันดีอยู่แล้ว วันนี้ ประเทศไทยของเรากำลังดำดิ่งลงสู่หุบเหวลึกที่หาทางออกไม่ได้
การจลาจลย่อยๆ แต่ยาวนาน ได้ทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ
จากภาพกรุงเทพมหานครซึ่งอบอวลไปด้วยกลิ่นอายธุรกิจและผู้คน กลับกลายเป็นกึ่งเมืองร้างในบางจุด
และสาดทับไปด้วยวความหวาดหวั่น
เราไม่รู้เลย ไม่รู้ว่า ในวันพรุ่งนี้ จะเกิดอะไรขึ้น...ที่บ้านของเรา...บ้านแห่งนี้ ที่ชื่อว่าประเทศไทย
กำลังแรงเล็กๆ กับอำนาจที่ว่างเปล่าในกำมือ ทำให้เราท้อ เราเหนื่อย
เราไม่รู้ว่าจะช่วยประเทศไทยของเรายังไงดี..
สายตาจับจ้องมองดู หูฟังข่าว ภาพเหตุการณ์สับสนอลหม่าน มีฉายออกมาเป็นระยะๆ
นี่มันอะไรกัน ? นี่กรุงเทพฯ จิงหรอ...
ไม่เคยคิดเลยว่า สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นกับประเทศไทย ดินแดนสารขัณฑ์
แผ่นดินแห่งเมืองพุทธ...
เราไม่รู้ว่าใครผิด ใครถูก
เราไม่มีสี และไม่คิดจะมี
เราไม่เพ่งมองการกระทำของคนอื่นว่า คุณถูก หรือว่าคุณผิด
เพราะเราเปลี่ยนแปลงคนอื่นได้ยากกว่าเปลี่ยนแปลงตัวเอง
เมื่อความจริงเป็นสิ่งที่รู้ได้ยาก เราจึงเลิกที่จะเพ่งโทษคนอื่น...
สิทธิในการชุมนุม และแสดงความคิดเห็น เป็นเครื่องมือที่ฉายแววความแท้จริงส่วนหนึ่งของประชาธิปไตย
แต่คุณๆทุกท่าน จงอย่าลืมกรอบเกณฑ์ของมันที่เป็นความชอบด้วยกฎหมาย
คือ ไม่กระทบสิทธิคนอื่น ไม่ทำความเดือดร้อนเสียหายแก่ผู้อื่น
หรือ ถ้ามองในแง่ธรรมะ ก็คือ ศีลธรรมสำนึกขั้นพืนฐานด้วย...
เราไม่ได้กำลังประณามว่าร้ายเหล่า ผู้ชุมนุม
สิ่งที่เรากำลังทำ คือ เราอยากให้ทุกๆคน พิจารณาความควรไม่ควรแห่งการกระทำของตัวเอง
ไม่ว่าจะเป็นคนที่กำลังดูทีวี กำลังฟังเพลง กำลังเดินเล่น...หรืออะไรก็ตามแต่
เรารู้ และยังคงมองโลกในแง่ดีว่า ทุกๆคนบนผืนแผ่นดินนี้ยังคงรักประเทศไทย
เพราะเราทุกคนยังคงเป็นหนี้ดินแดนนี้มากมายเหลือเกิน...
สิ่งนี้เป็นข้อเท็จจริงที่คุณๆทุกคนปฏิเสธไม่ได้
อย่าลืมว่า แค่เพียงคุณลืมตาตื่นขึ้นมา คุณก็ได้สูดเอาอากาศจากผืนแผ่นดินนี้เข้าไปเสียแล้ว
ทุกวันนี้แม่ยังคงสอนให้เรา รู้จักความดี และการทำความดี
ยังจำได้มั้ยคะ ว่า ความกตัญญู คือ เรื่องหลักสำคัญๆของกาารทำดี ทำบุญ เช่นกัน
ใครให้อะไรเรา เราต้องขอบคุณ
ใครทำร้ายเรา อย่าไปอาฆาตเขา เพราะเรานั่นแหล่ะจะเป็นทุกข์
หว่านพืชเช่นไร ย่อมได้ผลเช่นนั้น...
ทั้ง พ่่อหลวง และประเทศไทย ก็เป็นบุพการีของเราเหมือนกัน
เราอาจจะมองข้ามไปด้วยความเคยชินทั้งๆที่ เรายังคงได้สัมผัสความรัก และการให้จากบุพการีทั้งสองนี้อยู่ทุกๆวินาที
เราเป็นแค่ประชาชนคนหนึ่ง...
เป็นแค่ผู้หญิงคนหนึ่ง
ที่เสียงไม่ดัง เท่าผู้มีอำนาจ
ที่ไร้กำลัง พอที่จะยืนหยัดและช่วยปกป้องประเทศไทยได้ด้วยแค่สองมือ
เราไม่รู้จะทำยังไงแล้วในวันนี้ แต่เราก็ไม่อยากที่จะนั่งอยู่เฉยๆ
หวังว่าเสียงเล็กๆของเราจะดังไปถึงหัวใจของคนไทยทุกคนที่ได้อ่าน
ขอร้อง
...
ขอร้องเถอะค่ะ
หยุดทำร้ายประเทศไทยกันเสียที..
เราก็รู้กันดีอยู่แล้ว วันนี้ ประเทศไทยของเรากำลังดำดิ่งลงสู่หุบเหวลึกที่หาทางออกไม่ได้
การจลาจลย่อยๆ แต่ยาวนาน ได้ทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ
จากภาพกรุงเทพมหานครซึ่งอบอวลไปด้วยกลิ่นอายธุรกิจและผู้คน กลับกลายเป็นกึ่งเมืองร้างในบางจุด
และสาดทับไปด้วยวความหวาดหวั่น
เราไม่รู้เลย ไม่รู้ว่า ในวันพรุ่งนี้ จะเกิดอะไรขึ้น...ที่บ้านของเรา...บ้านแห่งนี้ ที่ชื่อว่าประเทศไทย
กำลังแรงเล็กๆ กับอำนาจที่ว่างเปล่าในกำมือ ทำให้เราท้อ เราเหนื่อย
เราไม่รู้ว่าจะช่วยประเทศไทยของเรายังไงดี..
สายตาจับจ้องมองดู หูฟังข่าว ภาพเหตุการณ์สับสนอลหม่าน มีฉายออกมาเป็นระยะๆ
นี่มันอะไรกัน ? นี่กรุงเทพฯ จิงหรอ...
ไม่เคยคิดเลยว่า สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นกับประเทศไทย ดินแดนสารขัณฑ์
แผ่นดินแห่งเมืองพุทธ...
เราไม่รู้ว่าใครผิด ใครถูก
เราไม่มีสี และไม่คิดจะมี
เราไม่เพ่งมองการกระทำของคนอื่นว่า คุณถูก หรือว่าคุณผิด
เพราะเราเปลี่ยนแปลงคนอื่นได้ยากกว่าเปลี่ยนแปลงตัวเอง
เมื่อความจริงเป็นสิ่งที่รู้ได้ยาก เราจึงเลิกที่จะเพ่งโทษคนอื่น...
สิทธิในการชุมนุม และแสดงความคิดเห็น เป็นเครื่องมือที่ฉายแววความแท้จริงส่วนหนึ่งของประชาธิปไตย
แต่คุณๆทุกท่าน จงอย่าลืมกรอบเกณฑ์ของมันที่เป็นความชอบด้วยกฎหมาย
คือ ไม่กระทบสิทธิคนอื่น ไม่ทำความเดือดร้อนเสียหายแก่ผู้อื่น
หรือ ถ้ามองในแง่ธรรมะ ก็คือ ศีลธรรมสำนึกขั้นพืนฐานด้วย...
เราไม่ได้กำลังประณามว่าร้ายเหล่า ผู้ชุมนุม
สิ่งที่เรากำลังทำ คือ เราอยากให้ทุกๆคน พิจารณาความควรไม่ควรแห่งการกระทำของตัวเอง
ไม่ว่าจะเป็นคนที่กำลังดูทีวี กำลังฟังเพลง กำลังเดินเล่น...หรืออะไรก็ตามแต่
เรารู้ และยังคงมองโลกในแง่ดีว่า ทุกๆคนบนผืนแผ่นดินนี้ยังคงรักประเทศไทย
เพราะเราทุกคนยังคงเป็นหนี้ดินแดนนี้มากมายเหลือเกิน...
สิ่งนี้เป็นข้อเท็จจริงที่คุณๆทุกคนปฏิเสธไม่ได้
อย่าลืมว่า แค่เพียงคุณลืมตาตื่นขึ้นมา คุณก็ได้สูดเอาอากาศจากผืนแผ่นดินนี้เข้าไปเสียแล้ว
ทุกวันนี้แม่ยังคงสอนให้เรา รู้จักความดี และการทำความดี
ยังจำได้มั้ยคะ ว่า ความกตัญญู คือ เรื่องหลักสำคัญๆของกาารทำดี ทำบุญ เช่นกัน
ใครให้อะไรเรา เราต้องขอบคุณ
ใครทำร้ายเรา อย่าไปอาฆาตเขา เพราะเรานั่นแหล่ะจะเป็นทุกข์
หว่านพืชเช่นไร ย่อมได้ผลเช่นนั้น...
ทั้ง พ่่อหลวง และประเทศไทย ก็เป็นบุพการีของเราเหมือนกัน
เราอาจจะมองข้ามไปด้วยความเคยชินทั้งๆที่ เรายังคงได้สัมผัสความรัก และการให้จากบุพการีทั้งสองนี้อยู่ทุกๆวินาที
เราเป็นแค่ประชาชนคนหนึ่ง...
เป็นแค่ผู้หญิงคนหนึ่ง
ที่เสียงไม่ดัง เท่าผู้มีอำนาจ
ที่ไร้กำลัง พอที่จะยืนหยัดและช่วยปกป้องประเทศไทยได้ด้วยแค่สองมือ
เราไม่รู้จะทำยังไงแล้วในวันนี้ แต่เราก็ไม่อยากที่จะนั่งอยู่เฉยๆ
หวังว่าเสียงเล็กๆของเราจะดังไปถึงหัวใจของคนไทยทุกคนที่ได้อ่าน
ขอร้อง
...
ขอร้องเถอะค่ะ
หยุดทำร้ายประเทศไทยกันเสียที..
2553-05-05
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอนุญาโตตุลาการ
เป็นที่ทราบกันดีว่า ปัจจุบันการอนุญาโตตุลาการมีบทบาทสำคัญในฐานะเป็นหนทางหนึ่งในกระบวนการยุติธรรมทางเลือก (Alternative Dispute Resolution : ADR) ซึ่งมีจุดมุ่งหมายสำคัญในการลดทอนจำนวนข้อพิพาทที่มีมากเกินขีดจำกัดของศาล เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ชัดแจ้ง ผู้เขียนใคร่กล่าวถึงข้อควรรู้พื้นฐานของการอนุญาโตตุลาการ ดังต่อไปนี้
ความหมายของอนุญาโตตุลาการ(Arbitration)
อนุญาโตตุลาการ คือ วิธีการระงับข้อพิพาท ข้อโต้แย้ง ข้อคัดค้าน หรือ ข้อโต้เถียงที่เกิดขึ้นแล้วหรือที่จะเกิดขึ้นในอนาคตซึ่งคู่กรณีตกลงกันเสนอให้บุคคลภายนอกผู้มีความเชี่ยวชาญ เป็นกลาง และ อิสระ ซึ่งเรียกว่า อนุญาโตตุลาการ (Arbitrator) ทำการพิจารณาชี้ขาด โดยคู่กรณียอมตนเข้าผูกพันในอันที่จะปฏิบัติตามคำชี้ขาดเช่นนั้น
ประเภทของอนุญาโตตุลาการสามารถแบ่งได้หลายประเภท ดังนี้
1) อนุญาโตตุลาการในศาลกับอนุญาโตตุลาการนอกศาล
1.1) อนุญาโตตุลาการในศาล คือ กรณีที่คู่กรณีซึ่งมีคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลตกลงกันให้มีอนุญาโตตุลาการชี้ขาดได้ โดยความเห็นชอบของศาล (มาตรา 210-220 และ 222 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง) แต่วิธีนี้ไม่เป็นที่นิยมเพราะเมื่อมีคดีขึ้นไปสู่ศาลแล้ว คู่ความมักไม่ต้องการให้บุคคลอื่นมาช่วยชี้ขาดให้ แต่ต้องการให้ศาลตัดสินคดีนั้นมากกว่า
1.2) อนุญาโตตุลาการนอกศาล คือ กรณีที่คู่กรณีตกลงกันเสนอข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการพิจารณาชี้ขาด โดยไม่ได้ฟ้องคดีต่อศาล ซึ่งอาจตกลงกันไว้ล่วงหน้าก่อนมีข้อพิพาทหรืออาจตกลงกันภายหลังจากที่มีข้อพิพาทแล้วก็ได้
การอนุญาโตตุลาการส่วนใหญ่ในนานาประเทศรวมทั้งประเทศไทยนั้นเป็นการอนุญาโตตุลาการ นอกศาล ซึ่งจะอยู่ภายใต้บังคับของ พระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545
2) อนุญาโตตุลาการเฉพาะกิจกับอนุญาโตตุลาการโดยสถาบัน
2.1) อนุญาโตตุลาการเฉพาะกิจ (Ad Hoc Arbitration) เป็นกรณีที่คู่พิพาทดำเนินการระงับข้อพิพาทตามวิธีอนุญาโตตุลาการด้วยตนเอง กล่าวคือ โดยตั้งอนุญาโตตุลาการและกำหนดวิธีพิจารณาต่างๆเอง และให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดข้อพิพาทของตน
2.2) อนุญาโตตุลาการโดยสถาบัน (Institutional Arbitration) เป็นกรณีที่คู่พิพาทตกลงระงับข้อพิพาทกันโดยใช้บริการของสถาบันอนุญาโตตุลาการ ซึ่งสถาบันดังกล่าวนี้อาจเป็นสถาบันที่ตั้งขึ้นมาเพื่อให้บริการด้านอนุญาโตตุลาการโดยเฉพาะ สำหรับประเทศไทย เช่น สถาบันอนุญาโตตุลาการของสำนักงานศาลยุติธรรม สภาอนุญาโตตุลาการของหอการค้าแห่งประเทศไทย ส่วนในต่างประเทศ เช่น สถาบันอนุญาโตตุลาการของสภาหอการค้าระหว่างประเทศ (International Chamber of Commerce - ICC) สมาคมอนุญาโตตุลาการของสหรัฐอเมริกา (American Arbitration Association - AAA) หรืออาจเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรเฉพาะด้านที่ให้บริการกับสมาชิกและ/หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง สำหรับประเทศไทย เช่น อนุญาโตตุลาการ ของสำนักงาน ก.ล.ต. อนุญาโตตุลาการของสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย ส่วนในต่างประเทศ เช่น อนุญาโตตุลาการของ NASD
3) อนุญาโตตุลาการในประเทศกับอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ
3.1) อนุญาโตตุลาการในประเทศ เป็นกระบวนการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการ ในประเทศใดประเทศหนึ่ง ไม่ว่าคู่กรณีจะมีสัญชาติใด
3.2) อนุญาโตตุลาการต่างประเทศ เป็นกระบวนการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการ ที่ดำเนินการภายนอกประเทศ ไม่ว่าคู่กรณีจะมีสัญชาติใด
ข้อดีของระบบอนุญาโตตุลาการ
สาเหตุที่ต้องมีหรือใช้กระบวนการอนุญาโตตุลาการก็เนื่องมาจากเหตุผล ดังต่อไปนี้
1) ความรวดเร็ว
เนื่องจากการฟ้องคดีต่อศาลนั้นมีขั้นตอนมากและเป็นระบบศาลสามชั้น ระบบศาลจึงไม่อาจตอบสนองต่อความต้องการระงับข้อพิพาทที่มีอย่างล้นหลามได้ภายในเวลาที่รวดเร็วอันเป็นจุดบอดของระบบศาลแทบทุกประเทศต่างจากกระบวนการอนุญาโตตุลาการจะสิ้นสุดรวดเร็วและไม่มีขั้นตอนยุ่งยาก
2) ความยุ่งยากและสลับซับซ้อนของคดี
เนื่องจากโดยปกติผู้ที่เป็นอนุญาโตตุลาการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอนุญาโตตุลาการที่คู่กรณีเลือกมักจะเป็นผู้ที่มีความรู้มีความเชี่ยวชาญในเรื่องที่พิพาทเป็นอย่างดี ทำให้เข้าใจเรื่องที่พิพาทและพยานหลักฐานต่างๆได้รวดเร็ว ซึ่งส่งผลให้การชี้ขาดข้อพิพาททำได้รวดเร็วและยุติธรรม ในขณะที่ถ้าเป็นการดำเนินคดีในศาลคู่ความไม่สามารถเลือกผู้พิพากษาที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องนั้นๆมาพิจารณาคดีให้ตนได้ ซึ่งก็ต้องมีการใช้พยานผู้เชี่ยวชาญมาเบิกความ ทำให้การพิจารณาคดีเป็นไปอย่างยากลำบากและล่าช้า และอาจมีปัญหาในการรับฟังพยานหลักฐาน เพราะต้องขึ้นอยู่กับว่าพยานผู้เชี่ยวชาญเบิกความอธิบายได้ชัดเจนถูกต้องมากน้อยเพียงใด
3) การรักษาชื่อเสียงและความลับ
เนื่องจากหลักการพิจารณาคดีของศาลต้องทำโดยเปิดเผย ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าฟังการพิจารณาของศาลได้ สื่อมวลชนก็อาจรับฟังและนำเสนอข่าวได้ง่าย ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อภาพพจน์ทางธุรกิจและการรักษาความลับของคู่กรณี เว้นแต่ว่าจะมีการพิจารณาคดีเป็นการลับ ซึ่งก็จะมีเป็นบางคดีเท่านั้น แต่หลักการดำเนินกระบวนพิจารณาของการอนุญาโตตุลาการนั้นกระทำเป็นความลับ เฉพาะคู่กรณีและผู้ที่เกี่ยวข้องเท่านั้นที่มีสิทธิเข้าร่วมการพิจารณา บุคคลภายนอกไม่มีโอกาสรู้ข้อเท็จจริงโดยตรง จึงไม่รู้ว่าคู่กรณีมีข้อพิพาทกันหรือไม่ หรือมีกันอย่างไร จึงเป็นการรักษาชื่อเสียงของคู่พิพาทและความลับทางธุรกิจของคู่กรณีได้เป็นอย่างดี
4) การรักษาความสัมพันธ์ระหว่างคู่พิพาท
เนื่องจากแนวทางการพิจารณาคดีของศาลนั้นเป็นการต่อสู้คดีกัน ทำให้คู่กรณีมีความรู้สึกเป็นศัตรูกัน อีกทั้งยังใช้เวลาต่อสู้กันยาวนาน เพราะคดีสามารถอุทธรณ์ ฎีกาต่อไปได้ ซึ่งส่งผลเสียต่อความสัมพันธ์ทางธุรกิจ แต่กระบวนการอนุญาโตตุลาการนั้นเป็นการระงับข้อพิพาทที่เปิดโอกาสให้คู่กรณีพบปะเจรจาปัญหาที่พิพาทกันโดยตรง บรรยากาศในการพิจารณามีลักษณะเป็นกันเอง ไม่เคร่งเครียด อีกทั้งไม่มีระบบที่ให้คู่กรณีโต้แย้งเอาแพ้ชนะกัน จึงสามารถรักษาความสัมพันธ์ระหว่างคู่พิพาทซึ่งอยู่ในวงการธุรกิจ ที่ส่วนใหญ่จะต้องคบค้าและประกอบธุรกิจกันต่อไปอีกในอนาคต
อ้างอิง เอกสารจาก TAI
ความหมายของอนุญาโตตุลาการ(Arbitration)
อนุญาโตตุลาการ คือ วิธีการระงับข้อพิพาท ข้อโต้แย้ง ข้อคัดค้าน หรือ ข้อโต้เถียงที่เกิดขึ้นแล้วหรือที่จะเกิดขึ้นในอนาคตซึ่งคู่กรณีตกลงกันเสนอให้บุคคลภายนอกผู้มีความเชี่ยวชาญ เป็นกลาง และ อิสระ ซึ่งเรียกว่า อนุญาโตตุลาการ (Arbitrator) ทำการพิจารณาชี้ขาด โดยคู่กรณียอมตนเข้าผูกพันในอันที่จะปฏิบัติตามคำชี้ขาดเช่นนั้น
ประเภทของอนุญาโตตุลาการสามารถแบ่งได้หลายประเภท ดังนี้
1) อนุญาโตตุลาการในศาลกับอนุญาโตตุลาการนอกศาล
1.1) อนุญาโตตุลาการในศาล คือ กรณีที่คู่กรณีซึ่งมีคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลตกลงกันให้มีอนุญาโตตุลาการชี้ขาดได้ โดยความเห็นชอบของศาล (มาตรา 210-220 และ 222 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง) แต่วิธีนี้ไม่เป็นที่นิยมเพราะเมื่อมีคดีขึ้นไปสู่ศาลแล้ว คู่ความมักไม่ต้องการให้บุคคลอื่นมาช่วยชี้ขาดให้ แต่ต้องการให้ศาลตัดสินคดีนั้นมากกว่า
1.2) อนุญาโตตุลาการนอกศาล คือ กรณีที่คู่กรณีตกลงกันเสนอข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการพิจารณาชี้ขาด โดยไม่ได้ฟ้องคดีต่อศาล ซึ่งอาจตกลงกันไว้ล่วงหน้าก่อนมีข้อพิพาทหรืออาจตกลงกันภายหลังจากที่มีข้อพิพาทแล้วก็ได้
การอนุญาโตตุลาการส่วนใหญ่ในนานาประเทศรวมทั้งประเทศไทยนั้นเป็นการอนุญาโตตุลาการ นอกศาล ซึ่งจะอยู่ภายใต้บังคับของ พระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545
2) อนุญาโตตุลาการเฉพาะกิจกับอนุญาโตตุลาการโดยสถาบัน
2.1) อนุญาโตตุลาการเฉพาะกิจ (Ad Hoc Arbitration) เป็นกรณีที่คู่พิพาทดำเนินการระงับข้อพิพาทตามวิธีอนุญาโตตุลาการด้วยตนเอง กล่าวคือ โดยตั้งอนุญาโตตุลาการและกำหนดวิธีพิจารณาต่างๆเอง และให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดข้อพิพาทของตน
2.2) อนุญาโตตุลาการโดยสถาบัน (Institutional Arbitration) เป็นกรณีที่คู่พิพาทตกลงระงับข้อพิพาทกันโดยใช้บริการของสถาบันอนุญาโตตุลาการ ซึ่งสถาบันดังกล่าวนี้อาจเป็นสถาบันที่ตั้งขึ้นมาเพื่อให้บริการด้านอนุญาโตตุลาการโดยเฉพาะ สำหรับประเทศไทย เช่น สถาบันอนุญาโตตุลาการของสำนักงานศาลยุติธรรม สภาอนุญาโตตุลาการของหอการค้าแห่งประเทศไทย ส่วนในต่างประเทศ เช่น สถาบันอนุญาโตตุลาการของสภาหอการค้าระหว่างประเทศ (International Chamber of Commerce - ICC) สมาคมอนุญาโตตุลาการของสหรัฐอเมริกา (American Arbitration Association - AAA) หรืออาจเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรเฉพาะด้านที่ให้บริการกับสมาชิกและ/หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง สำหรับประเทศไทย เช่น อนุญาโตตุลาการ ของสำนักงาน ก.ล.ต. อนุญาโตตุลาการของสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย ส่วนในต่างประเทศ เช่น อนุญาโตตุลาการของ NASD
3) อนุญาโตตุลาการในประเทศกับอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ
3.1) อนุญาโตตุลาการในประเทศ เป็นกระบวนการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการ ในประเทศใดประเทศหนึ่ง ไม่ว่าคู่กรณีจะมีสัญชาติใด
3.2) อนุญาโตตุลาการต่างประเทศ เป็นกระบวนการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการ ที่ดำเนินการภายนอกประเทศ ไม่ว่าคู่กรณีจะมีสัญชาติใด
ข้อดีของระบบอนุญาโตตุลาการ
สาเหตุที่ต้องมีหรือใช้กระบวนการอนุญาโตตุลาการก็เนื่องมาจากเหตุผล ดังต่อไปนี้
1) ความรวดเร็ว
เนื่องจากการฟ้องคดีต่อศาลนั้นมีขั้นตอนมากและเป็นระบบศาลสามชั้น ระบบศาลจึงไม่อาจตอบสนองต่อความต้องการระงับข้อพิพาทที่มีอย่างล้นหลามได้ภายในเวลาที่รวดเร็วอันเป็นจุดบอดของระบบศาลแทบทุกประเทศต่างจากกระบวนการอนุญาโตตุลาการจะสิ้นสุดรวดเร็วและไม่มีขั้นตอนยุ่งยาก
2) ความยุ่งยากและสลับซับซ้อนของคดี
เนื่องจากโดยปกติผู้ที่เป็นอนุญาโตตุลาการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอนุญาโตตุลาการที่คู่กรณีเลือกมักจะเป็นผู้ที่มีความรู้มีความเชี่ยวชาญในเรื่องที่พิพาทเป็นอย่างดี ทำให้เข้าใจเรื่องที่พิพาทและพยานหลักฐานต่างๆได้รวดเร็ว ซึ่งส่งผลให้การชี้ขาดข้อพิพาททำได้รวดเร็วและยุติธรรม ในขณะที่ถ้าเป็นการดำเนินคดีในศาลคู่ความไม่สามารถเลือกผู้พิพากษาที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องนั้นๆมาพิจารณาคดีให้ตนได้ ซึ่งก็ต้องมีการใช้พยานผู้เชี่ยวชาญมาเบิกความ ทำให้การพิจารณาคดีเป็นไปอย่างยากลำบากและล่าช้า และอาจมีปัญหาในการรับฟังพยานหลักฐาน เพราะต้องขึ้นอยู่กับว่าพยานผู้เชี่ยวชาญเบิกความอธิบายได้ชัดเจนถูกต้องมากน้อยเพียงใด
3) การรักษาชื่อเสียงและความลับ
เนื่องจากหลักการพิจารณาคดีของศาลต้องทำโดยเปิดเผย ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าฟังการพิจารณาของศาลได้ สื่อมวลชนก็อาจรับฟังและนำเสนอข่าวได้ง่าย ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อภาพพจน์ทางธุรกิจและการรักษาความลับของคู่กรณี เว้นแต่ว่าจะมีการพิจารณาคดีเป็นการลับ ซึ่งก็จะมีเป็นบางคดีเท่านั้น แต่หลักการดำเนินกระบวนพิจารณาของการอนุญาโตตุลาการนั้นกระทำเป็นความลับ เฉพาะคู่กรณีและผู้ที่เกี่ยวข้องเท่านั้นที่มีสิทธิเข้าร่วมการพิจารณา บุคคลภายนอกไม่มีโอกาสรู้ข้อเท็จจริงโดยตรง จึงไม่รู้ว่าคู่กรณีมีข้อพิพาทกันหรือไม่ หรือมีกันอย่างไร จึงเป็นการรักษาชื่อเสียงของคู่พิพาทและความลับทางธุรกิจของคู่กรณีได้เป็นอย่างดี
4) การรักษาความสัมพันธ์ระหว่างคู่พิพาท
เนื่องจากแนวทางการพิจารณาคดีของศาลนั้นเป็นการต่อสู้คดีกัน ทำให้คู่กรณีมีความรู้สึกเป็นศัตรูกัน อีกทั้งยังใช้เวลาต่อสู้กันยาวนาน เพราะคดีสามารถอุทธรณ์ ฎีกาต่อไปได้ ซึ่งส่งผลเสียต่อความสัมพันธ์ทางธุรกิจ แต่กระบวนการอนุญาโตตุลาการนั้นเป็นการระงับข้อพิพาทที่เปิดโอกาสให้คู่กรณีพบปะเจรจาปัญหาที่พิพาทกันโดยตรง บรรยากาศในการพิจารณามีลักษณะเป็นกันเอง ไม่เคร่งเครียด อีกทั้งไม่มีระบบที่ให้คู่กรณีโต้แย้งเอาแพ้ชนะกัน จึงสามารถรักษาความสัมพันธ์ระหว่างคู่พิพาทซึ่งอยู่ในวงการธุรกิจ ที่ส่วนใหญ่จะต้องคบค้าและประกอบธุรกิจกันต่อไปอีกในอนาคต
อ้างอิง เอกสารจาก TAI
เหตุผลและความจำเป็นที่ต้องมีศาลทหาร
เนื่องจากศาลทหารมีอำนาจพิจารณาและพิพากษาลงโทษทางอาญาต่อบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหาร
ทำให้ดูเหมือนว่าเขตอำนาจของศาลทหารซ้ำซ้อนกับเขตอำนาจของศาลยุติธรรมในเรื่อง
ของการดำเนินคดีอาญา
จึงมักจะมีปัญหาถกเถียงกันในหมู่นักวิชาการทางกฎหมายและนักประชาธิปไตยว่า
ในปัจจุบันยังสมควรต้องมีศาลทหารต่อไปหรือไม่
โดยฝ่ายหนึ่งเห็นว่าไม่จำเป็นต้องมีศาลทหารเนื่องจากว่าเป็นการให้อภิสิทธิ์พิเศษแก่ทหาร ซึ่งทหารและ
ประชาชนสมควรจะต้องมีสิทธิและเสรีภาพเท่าเทียมกัน เมื่อทหารกระทำผิดก็สมควรให้ศาลยุติธรรมเป็น
ผู้พิจารณาลงโทษ การให้แยกไปขึ้นศาลทหาร ซึ่งมีทหารด้วยกันเป็นผู้พิจารณาตัดสินลงโทษอาจจะมีการ
ลำเอียงช่วยเหลือกันได้ และทำให้ประชาชนที่เป็นผู้เสียหายไม่ได้รับความเป็นธรรม ประกอบกับใน
ความคิดของนักประชาธิปไตยมองว่าศาลทหารเป็นภาพลักษณ์ของระบอบเผด็จการ เพราะในสมัยที่มีการ
ปฏิวัติรัฐประหารก็มักจะมีคำสั่งของคณะปฏิวัติให้คดีบางประเภทมาขึ้นศาลทหารพิจารณาเช่น คดีการ
กระทำอันเป็นคอมมูนิตส์ เป็นต้น นักวิชาการเหล่านั้นจึงเห็นว่าเมื่อประเทศไทยได้มีการปกครองเป็น
ประชาธิปไตยสมบูรณ์แบบแล้วก็ไม่สมควรที่ต้องมีศาลทหารอีกต่อไป
ส่วนฝ่ายที่เห็นว่ายังสมควรต้องมีศาลทหารให้เหตุผลว่าการมีศาลทหารนั้นถือเป็นหลักสากล
ซึ่งในนานาอารยะประเทศต่างก็มีศาลทหารแทบทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐ-
อเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส หรือจีน เว้นแตใ่ นประเทศที่พ่ายแพ้สงคราม (สงครามโลกครั้งที่ ๒) อย่างเช่น
เยอรมัน หรือญี่ปุ่น ที่ถูกจำกัดไม่ให้มีศาลทหาร นอกจากนี้ศาลทหารมีวิธีพิจารณาคดีที่สามารถ
ปรับเปลี่ยนไปตามสถานะการณ์ได้ ซึ่งต่างจากศาลพลเรือน(ศาลยุติธรรม) ที่ไม่สามารถปรับเปลี่ยนได้
ดังนั้นในเวลาไม่ปกติ เช่น เวลาสงคราม ก็จำเป็นที่ต้องใช้ระบบของศาลทหาร เพื่อแก้ไขสถานะการณ์ของ
ประเทศให้กระบวนการยุติธรรมของประเทศสามารถดำเนินต่อไปได้และเหมาะสมต่อสถานะการณ์ใน
ขณะนั้น ประกอบกับในเรื่องเขตอำนาจศาลพลเรือน(ศาลยุติธรรม)จะมีเขตอำนาจจำกัดอยู่แต่ในพื้นที่
ตามที่มีกฎหมายบัญญัติไว้ ดังนั้น ในกรณีที่กองทัพต้องไปปฏิบัติภาระกิจ หรือเข้ายึดดินแดนข้าศึกใน
ต่างประเทศ ศาลพลเรือน(ศาลยุติธรรม) ก็จะไม่สามารถติดตามกองกำลังของกองทัพไปทำหน้าที่ในการ
ให้ความยุติธรรมได้ นอกจากนี้ในสนธิสัญญาระหว่างประเทศบางเรื่องได้กำหนดห้ามไม่ให้ฟ้องคดี
บุคคลบางประเภทต่อศาลในระบบปกติ เช่น กรณีของเชลยศึก เป็นต้น
อย่างไรก็ดี เห็นว่าเหตุผลและความจำเป็นอย่างหนึ่งในการมีศาลทหาร เนื่องจาก การรักษา
ความมั่นคงของประเทศถือได้ว่าเป็นประโยชน์สูงสุด ซึ่งการรักษาความมั่นคงนั้นจำเป็นต้องพึงพา
กองกำลังทหารที่เข็มแข็ง มีหลักการที่ถือได้ว่าเป็นหลักการยุทธสากลได้อย่างหนึ่งคือ หลักเอกภาพ
ในการบังคับบัญชา หมายถึงการให้ผู้บังคับบัญชามีอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดในการบังคับบัญชาได้ ซึ่งถ้า
เทียบกับการบริหารประเทศในปัจจุบันก็เทียบได้กับการที่นายกรัฐมนตรีมีนโยบายให้มี ผู้ว่าซีอีโอ ที่มี
อำนาจเด็ดขาดในการสั่งการแก่ข้าราชการต่างๆในจังหวัดนั่นเอง
การมีศาลทหารเป็นการแสดงถึงอำนาจของผู้บังคับบัญชาทหารในการปกครองแบบรวมอำนาจและเป็นเอกภาพ เพราะผู้บังคับบัญชาทหารจะมีส่วนร่วมในกระบวนการยุติธรรมทหาร เช่น การเป็นตุลาการร่วมในการตัดสินคดี และมีอำนาจอุทธรณ์
ฎีกา อำนาจสั่งลงโทษต่อทหารที่ศาลได้พิพากษาให้ลงโทษแล้ว เป็นต้น ซึ่งอำนาจต่างๆ ดังกล่าวนี้ไม่มี
ในกระบวนพิจารณาของศาลพลเรือน นอกจากนี้การที่ผู้บังคับบัญชาทหารได้เข้ามาร่วมเป็นตุลาการ
ก็จะได้ทราบถึงสาเหตุที่ทำให้กำลังพลดังกล่าวไปกระทำความผิดอาญาของบ้านเมืองและจะได้หา
แนวทางในการป้องกันและแก้ไขไม่ให้มีกำลังพลไประทำผิดเช่นนั้นอีก
ด้วยเหตุนี้การศาลทหารจึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับอำนาจการปกครองบังคับบัญชาทหารโดยตรง นอกจากนี้ยังมีแนวคิดที่เป็นหลักสากลอยู่ว่าการปกครองทหารจะใช้วิธีการเช่นเดียวกับการปกครองพลเรือนไม่ได้ เนื่องจากทหารเป็นผู้ถืออาวุธ
ร้ายแรงอยู่ในมือ จึงจำเป็นต้องอยู่ในระเบียบวินัยที่เข็มงวดยิ่งกว่าพลเรือน หากทหารไร้ซึ่งระเบียบวินัย
ก็อาจนำอาวุธร้ายแรงดังกล่าวมาสร้างความวุ่นวายในสังคมให้เป็นที่เดือนร้อนแก่ ประชาชน ได้
ดังนั้นวินัยของทหารจึงเข็มงวด ความผิดวินัยบางอย่างของพลเรือนอาจเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่ทางทหารถือเป็น
เรื่องร้ายแรงต้องถูกลงโทษเช่นเดียวกับความผิดทางอาญาของบ้านเมืองทั่วไปเพื่อมิให้เป็นเยี่ยงอย่าง เช่น
การขัดคำสั่งของผู้บังคับบัญชา หรือการหนีราชการ เป็นต้น
และเหตุผลอีกประการหนึ่งคือแม้จะมีกฎหมายว่าด้วยวินัยทหารให้อำนาจผู้บังคับบัญชา
ลงโทษทหารที่กระทำผิดวินัยได้ แต่เนื่องจากกองทัพประกอบด้วยกำลังพลจำนวนมาก และบางครั้งการ
กระทำผิดวินัยของกำลังพลดังกล่าวเป็นการผิดต่อกฎหมายของบ้านเมืองด้วยบางเรื่องมีผลกระทบต่อ
ประชาชนการจะให้ผู้บังคับบัญชาลงโทษลงทัณฑ์ตามวินัยทหารย่อมเป็นการไม่ถูกต้องต่อหลักกฎหมาย
บ้านเมืองและอาจก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมทั้งต่อประชาชนผู้เสียหายและตัวทหารที่กระทำผิดเอง แต่
การจะให้ทหารที่กระทำผิดไปขึ้นศาลและใช้วิธีการเช่นเดียวกับพลเรือน โดยผู้บังคับบัญชาทหารไม่มี
ส่วนเข้าไปเกี่ยวข้องด้วย ได้ก็จะเป็นการบั่นทอนอำนาจผู้บังคับบัญชาทหารว่าไม่สามารถให้คุณให้โทษ
ต่อทหารได้ย่อมส่งผลกระทบต่อการสั่งการในอำนาจของผู้บังคับบัญชาทหารทั้งในยามปกติและยาม
สงคราม ดังนั้นจึงจำเป็นต้องให้มีศาลทหารเพื่อใช้จัดการกับทหารที่กระทำผิดดังกล่าวให้เป็นไปตาม
ครรลองของบ้านเมือง จึงถือได้ว่าศาลทหารเป็นการรองรับอำนาจของผู้บังคับบัญชาเพื่อให้เกิดดุลยภาพ
ในทางปกครองและการบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมายบ้านเมือง
และด้วยเหตุผลและความจำเป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปัจจุบันจึงได้
บัญญัติให้มีศาลทหารเป็นองค์กรหนึ่งตามรัฐธรรมนูญเช่น เดียวกับ ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลยุติธรรม
และศาลปกครอง
อ้างอิง เอกสารวิชาการ กองพระธรรมนูญ กรมสารบรรณทหาร
ทำให้ดูเหมือนว่าเขตอำนาจของศาลทหารซ้ำซ้อนกับเขตอำนาจของศาลยุติธรรมในเรื่อง
ของการดำเนินคดีอาญา
จึงมักจะมีปัญหาถกเถียงกันในหมู่นักวิชาการทางกฎหมายและนักประชาธิปไตยว่า
ในปัจจุบันยังสมควรต้องมีศาลทหารต่อไปหรือไม่
โดยฝ่ายหนึ่งเห็นว่าไม่จำเป็นต้องมีศาลทหารเนื่องจากว่าเป็นการให้อภิสิทธิ์พิเศษแก่ทหาร ซึ่งทหารและ
ประชาชนสมควรจะต้องมีสิทธิและเสรีภาพเท่าเทียมกัน เมื่อทหารกระทำผิดก็สมควรให้ศาลยุติธรรมเป็น
ผู้พิจารณาลงโทษ การให้แยกไปขึ้นศาลทหาร ซึ่งมีทหารด้วยกันเป็นผู้พิจารณาตัดสินลงโทษอาจจะมีการ
ลำเอียงช่วยเหลือกันได้ และทำให้ประชาชนที่เป็นผู้เสียหายไม่ได้รับความเป็นธรรม ประกอบกับใน
ความคิดของนักประชาธิปไตยมองว่าศาลทหารเป็นภาพลักษณ์ของระบอบเผด็จการ เพราะในสมัยที่มีการ
ปฏิวัติรัฐประหารก็มักจะมีคำสั่งของคณะปฏิวัติให้คดีบางประเภทมาขึ้นศาลทหารพิจารณาเช่น คดีการ
กระทำอันเป็นคอมมูนิตส์ เป็นต้น นักวิชาการเหล่านั้นจึงเห็นว่าเมื่อประเทศไทยได้มีการปกครองเป็น
ประชาธิปไตยสมบูรณ์แบบแล้วก็ไม่สมควรที่ต้องมีศาลทหารอีกต่อไป
ส่วนฝ่ายที่เห็นว่ายังสมควรต้องมีศาลทหารให้เหตุผลว่าการมีศาลทหารนั้นถือเป็นหลักสากล
ซึ่งในนานาอารยะประเทศต่างก็มีศาลทหารแทบทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐ-
อเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส หรือจีน เว้นแตใ่ นประเทศที่พ่ายแพ้สงคราม (สงครามโลกครั้งที่ ๒) อย่างเช่น
เยอรมัน หรือญี่ปุ่น ที่ถูกจำกัดไม่ให้มีศาลทหาร นอกจากนี้ศาลทหารมีวิธีพิจารณาคดีที่สามารถ
ปรับเปลี่ยนไปตามสถานะการณ์ได้ ซึ่งต่างจากศาลพลเรือน(ศาลยุติธรรม) ที่ไม่สามารถปรับเปลี่ยนได้
ดังนั้นในเวลาไม่ปกติ เช่น เวลาสงคราม ก็จำเป็นที่ต้องใช้ระบบของศาลทหาร เพื่อแก้ไขสถานะการณ์ของ
ประเทศให้กระบวนการยุติธรรมของประเทศสามารถดำเนินต่อไปได้และเหมาะสมต่อสถานะการณ์ใน
ขณะนั้น ประกอบกับในเรื่องเขตอำนาจศาลพลเรือน(ศาลยุติธรรม)จะมีเขตอำนาจจำกัดอยู่แต่ในพื้นที่
ตามที่มีกฎหมายบัญญัติไว้ ดังนั้น ในกรณีที่กองทัพต้องไปปฏิบัติภาระกิจ หรือเข้ายึดดินแดนข้าศึกใน
ต่างประเทศ ศาลพลเรือน(ศาลยุติธรรม) ก็จะไม่สามารถติดตามกองกำลังของกองทัพไปทำหน้าที่ในการ
ให้ความยุติธรรมได้ นอกจากนี้ในสนธิสัญญาระหว่างประเทศบางเรื่องได้กำหนดห้ามไม่ให้ฟ้องคดี
บุคคลบางประเภทต่อศาลในระบบปกติ เช่น กรณีของเชลยศึก เป็นต้น
อย่างไรก็ดี เห็นว่าเหตุผลและความจำเป็นอย่างหนึ่งในการมีศาลทหาร เนื่องจาก การรักษา
ความมั่นคงของประเทศถือได้ว่าเป็นประโยชน์สูงสุด ซึ่งการรักษาความมั่นคงนั้นจำเป็นต้องพึงพา
กองกำลังทหารที่เข็มแข็ง มีหลักการที่ถือได้ว่าเป็นหลักการยุทธสากลได้อย่างหนึ่งคือ หลักเอกภาพ
ในการบังคับบัญชา หมายถึงการให้ผู้บังคับบัญชามีอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดในการบังคับบัญชาได้ ซึ่งถ้า
เทียบกับการบริหารประเทศในปัจจุบันก็เทียบได้กับการที่นายกรัฐมนตรีมีนโยบายให้มี ผู้ว่าซีอีโอ ที่มี
อำนาจเด็ดขาดในการสั่งการแก่ข้าราชการต่างๆในจังหวัดนั่นเอง
การมีศาลทหารเป็นการแสดงถึงอำนาจของผู้บังคับบัญชาทหารในการปกครองแบบรวมอำนาจและเป็นเอกภาพ เพราะผู้บังคับบัญชาทหารจะมีส่วนร่วมในกระบวนการยุติธรรมทหาร เช่น การเป็นตุลาการร่วมในการตัดสินคดี และมีอำนาจอุทธรณ์
ฎีกา อำนาจสั่งลงโทษต่อทหารที่ศาลได้พิพากษาให้ลงโทษแล้ว เป็นต้น ซึ่งอำนาจต่างๆ ดังกล่าวนี้ไม่มี
ในกระบวนพิจารณาของศาลพลเรือน นอกจากนี้การที่ผู้บังคับบัญชาทหารได้เข้ามาร่วมเป็นตุลาการ
ก็จะได้ทราบถึงสาเหตุที่ทำให้กำลังพลดังกล่าวไปกระทำความผิดอาญาของบ้านเมืองและจะได้หา
แนวทางในการป้องกันและแก้ไขไม่ให้มีกำลังพลไประทำผิดเช่นนั้นอีก
ด้วยเหตุนี้การศาลทหารจึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับอำนาจการปกครองบังคับบัญชาทหารโดยตรง นอกจากนี้ยังมีแนวคิดที่เป็นหลักสากลอยู่ว่าการปกครองทหารจะใช้วิธีการเช่นเดียวกับการปกครองพลเรือนไม่ได้ เนื่องจากทหารเป็นผู้ถืออาวุธ
ร้ายแรงอยู่ในมือ จึงจำเป็นต้องอยู่ในระเบียบวินัยที่เข็มงวดยิ่งกว่าพลเรือน หากทหารไร้ซึ่งระเบียบวินัย
ก็อาจนำอาวุธร้ายแรงดังกล่าวมาสร้างความวุ่นวายในสังคมให้เป็นที่เดือนร้อนแก่ ประชาชน ได้
ดังนั้นวินัยของทหารจึงเข็มงวด ความผิดวินัยบางอย่างของพลเรือนอาจเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่ทางทหารถือเป็น
เรื่องร้ายแรงต้องถูกลงโทษเช่นเดียวกับความผิดทางอาญาของบ้านเมืองทั่วไปเพื่อมิให้เป็นเยี่ยงอย่าง เช่น
การขัดคำสั่งของผู้บังคับบัญชา หรือการหนีราชการ เป็นต้น
และเหตุผลอีกประการหนึ่งคือแม้จะมีกฎหมายว่าด้วยวินัยทหารให้อำนาจผู้บังคับบัญชา
ลงโทษทหารที่กระทำผิดวินัยได้ แต่เนื่องจากกองทัพประกอบด้วยกำลังพลจำนวนมาก และบางครั้งการ
กระทำผิดวินัยของกำลังพลดังกล่าวเป็นการผิดต่อกฎหมายของบ้านเมืองด้วยบางเรื่องมีผลกระทบต่อ
ประชาชนการจะให้ผู้บังคับบัญชาลงโทษลงทัณฑ์ตามวินัยทหารย่อมเป็นการไม่ถูกต้องต่อหลักกฎหมาย
บ้านเมืองและอาจก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมทั้งต่อประชาชนผู้เสียหายและตัวทหารที่กระทำผิดเอง แต่
การจะให้ทหารที่กระทำผิดไปขึ้นศาลและใช้วิธีการเช่นเดียวกับพลเรือน โดยผู้บังคับบัญชาทหารไม่มี
ส่วนเข้าไปเกี่ยวข้องด้วย ได้ก็จะเป็นการบั่นทอนอำนาจผู้บังคับบัญชาทหารว่าไม่สามารถให้คุณให้โทษ
ต่อทหารได้ย่อมส่งผลกระทบต่อการสั่งการในอำนาจของผู้บังคับบัญชาทหารทั้งในยามปกติและยาม
สงคราม ดังนั้นจึงจำเป็นต้องให้มีศาลทหารเพื่อใช้จัดการกับทหารที่กระทำผิดดังกล่าวให้เป็นไปตาม
ครรลองของบ้านเมือง จึงถือได้ว่าศาลทหารเป็นการรองรับอำนาจของผู้บังคับบัญชาเพื่อให้เกิดดุลยภาพ
ในทางปกครองและการบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมายบ้านเมือง
และด้วยเหตุผลและความจำเป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปัจจุบันจึงได้
บัญญัติให้มีศาลทหารเป็นองค์กรหนึ่งตามรัฐธรรมนูญเช่น เดียวกับ ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลยุติธรรม
และศาลปกครอง
อ้างอิง เอกสารวิชาการ กองพระธรรมนูญ กรมสารบรรณทหาร
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)